13K
21 กรกฎาคม 2554
ทรู มันนี่ ลุยธุรกิจแฟรนไชส์ตู้คีออสบริการอเนกประสงค์

 
   
 
เป็นที่ทราบกันดีว่ากลุ่ม ทรู คอร์ปอเรชั่นฯ นั้นเป็น กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีสินค้าและบริการหลากหลายครอบคลุม ทั้งผลิตภัณฑ์ทางการเงิน โทรศัพท์พื้นฐาน/เคลื่อนที่ เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม จนถึงอินเตอร์เน็ตและดิจิตอลคอนเทนท์

โดยเฉพาะบริการด้านการเงินในชื่อว่า True Money ซึ่งเป็นบริการบัตรเติมเงินอิเล็คทรอนิกส์และตัวแทนรับชำระค่าสินค้าและ บริการ ทั้งสินค้าและบริการของกลุ่มทรูเอง และบริการพื้นฐานอื่นๆ อาทิ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา รวมทั้งการชำระค่าบริการให้กับร้านค้าที่ทำธุรกรรมผ่านระบบอีคอมเมิร์ซ

แต่เดิมบริการของทรูมันนี่จะอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าของกลุ่มทรูฯรวมถึง คนทั่วไป ให้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการของทรูฯได้ในคราวเดียว รวมถึงยังสามารถชำระค่าสาธารณูปโภคพื้นฐานอื่นๆได้อีกด้วย ซึ่งแม้ดูเหมือนจะสะดวกมากแล้วแต่ลูกค้าก็ยังต้องเดินทางไปยังสาขาของทรู ช้อปเพื่อทำธุรกรรมอยู่ดี และสาขาเหล่านี้มักจะอยู่ในห้างสรรพสินค้าที่มีเวลาเปิดทำการตายตัวคือ ประมาณ 10 โมงเช้า ถึง 4 ทุ่ม ซึ่งอาจสนองตอบต่อไลฟ์สไตล์ของกลุ่มคนรุ่นใหม่และคนเมือง


ด้วยเหตุนี้ ทรูมันนี่ฯ จึงได้คิดรูปแบบบริการที่จะอำนวยความสะดวกแก่คนกลุ่มนี้ให้สามารถเข้าถึง บริการของทรูมันนี่ได้คล่องตัวยิ่งขึ้น ด้วยรูปแบบของ kiosk หรือตู้บริการอัตโนมัติ ซึ่งให้บริการได้ตลอดเวลาแบบ 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ ทั้งยังเป็นช่องทางขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ในเวลาเดียวกัน


แหล่งข่าว ทรู มันนี่ฯ เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างพัฒนาและปรับปรุงโมเดลธุรกิจ เพื่อให้สอดรับกับกลุ่มผู้ใช้บริการและแฟรนไชส์ซี่ให้ได้มากสุด โดยจะใช้ชื่อว่า True kiosk หรือตู้บริการเอนกประสงค์ ครอบคลุมบริการของกลุ่มทรู ไม่ว่าจะเป็น True Money, True Move, True Vision, True Life และ True online เป็นต้น ซึ่งจะมีรูปแบบการทำธุรกิจภายใต้รหัส 3 P ประกอบด้วย 1. Prepare 2. Process 3. Profit ดังนี้
  1. Prepare จะเป็นส่วนของการเตรียมพร้อมทั้งสถานที่ ระบบไฟฟ้า รวมถึงอินเตอร์เน็ต และจะมีการแบ่งความรับผิดชอบกันระหว่างลูกค้าแฟรนไชส์ซี่และทรูมันนี่ โดยแฟรนไชส์ซี่จะต้องรับผิดชอบในส่วนของการวางเงินค้ำประกัน 30,000 บาทต่อตู้ และเติมเงินเข้าบัญชีตู้ละ 30,000 บาท รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าอินเตอร์เน็ต และการดูแลรักษาต่างๆ เช่น เก็บเงินสดจากตู้ ใส่กระดาษความร้อน และสภาพตู้และอุปกรณ์ ส่วนบริษัททรูฯ จะรับผิดชอบในด้านขนส่ง ติดตั้ง ซ่อมบำรุงและศูนย์บริการลูกค้า รวมถึงการตลาดและประชาสัมพันธ์
     
  2. Process เป็นขั้นตอนที่แฟรนไชส์ซี่ต้องปฏิบัติในระหว่างการดำเนินธุรกิจ เช่น ตรวจสอบตู้ให้พร้อมใช้งาน นำเงินสดเข้าบัญชีของตู้เพื่อใช้หมุนเวียน และแจ้งศูนย์บริการเมื่อตู้มีปัญหา เป็นต้น
     
  3. Profit เป็นเรื่องผลตอบแทนที่แฟรนไชส์ซี่จะได้รับเมื่อมีผู้ใช้บริการตู้ ซึ่งสัดส่วนจะมากน้อยแตกต่างกันไป ประมาณ 3-8% อาทิ บริการเติมเงินบัญชีทรูมันนี่ ส่วนแบ่งจะอยู่ที่ 1%, เติมเงินทรูมูฟ ส่วนแบ่ง 3% หรือ ขายชั่วโมง wifi ส่วนแบ่งที่ 3% เป็นต้น
โดยผลตอบแทนที่จะได้รับในแต่ละวัน จะขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและบริการที่ลูกค้าเข้ามาใช้บริการที่ตู้ เบื้องต้นทรูมันนี่ ประเมินว่า เฉลี่ยในแต่ละวันจะมีบริการรวมที่ 56 ครั้ง คิดเป็นเงินประมาณ 1 หมื่นบาท ซึ่งแฟรนไชส์ซี่จะได้รับส่วนแบ่งราว 359 บาท/วัน หรือประมาณ 10,770 บาท/เดือน


ปัจจุบันอยู่ระหว่างผลิตตู้ True kiosk ในสเต็ปแรกจะผลิตประมาณ 1.5 หมื่นตู้ ซึ่งได้นำตู้ไปให้บริการที่สำนักงานใหญ่ ถนนรัชดาภิเษก มาระยะหนึ่งแล้ว จากนี้ก็จะทยอยติดตั้งยังเครือข่ายธุรกิจในกลุ่มทรู ก่อนจะขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ในลำดับต่อไป แหล่งข่าว ระบุ


อ้างอิงจาก สยามธุรกิจ
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
1,104
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
777
“เติมพลังความรู้” กับ ..
617
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
589
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
579
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
532
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด