670
7 มีนาคม 2565
กรมพัฒน์ฯ เดินหน้าปั้นแฟรนไชส์มาตรฐาน สร้างรายได้ ขยายโอกาสธุรกิจ
 

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เดินหน้าเสริมสร้างศักยภาพ สร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์ไทย พร้อมผลักดันให้เกิดการขยายโอกาส และสร้างเครือข่ายธุรกิจแฟรนไชส์ พร้อมสร้างรายได้ หวังเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศมากขึ้น โดยเปิดรับสมัครผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ไทย เข้าร่วมโครงการยกระดับมาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ ประจำปี 2565 ตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึง 14 มีนาคม 2565
 
นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดธุรกิจแฟรนไซส์ในประเทศไทยมีการขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะแฟรนไชส์เป็นระบบธุรกิจที่มีการบริหารจัดการที่เป็นมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับ ในระดับสากล ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้ที่กำลังมองหาและอยากเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่สนใจเลือกแฟรนไชส์เป็นธุรกิจเริ่มต้น

โดยระบบแฟรนไชส์เป็นเครื่องมือที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าสามารถทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น แม้ว่าผู้ลงทุนจะไม่มีความรู้ด้านการทำธุรกิจมาก่อน แต่ผู้ขายแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) จะเป็นพี่เลี้ยงและถ่ายทอด  องค์ความรู้ต่างๆ ในการทำธุรกิจให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) และเป็นที่ปรึกษาให้ตลอดการทำธุรกิจ ดังนั้นจึงทำให้แนวโน้มของตลาดแฟรนไชส์ไทยยังคงมีอัตราการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง 
 
"ทั้งนี้ ธุรกิจแฟรนไชส์จะมีความน่าเชื่อถือหรือไม่นั้นต้องดูว่าธุรกิจนั้นๆ มีมาตรฐานมามากน้อยเพียงใด เพราะธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีมาตรฐานจะเป็นรากฐานเสริมสร้างความเข้มแข็งและความเจริญเติบโตให้กับธุรกิจต่อไป ดังนั้น มาตรฐานแฟรนไชส์ที่ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ต้องให้ความสำคัญ คือ ระบบการปฏิบัติงาน คุณภาพของสินค้าและมาตรฐานการให้บริการ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ และ แฟรนไชส์ซี องค์ประกอบเหล่านี้คือ เกณฑ์มาตรฐาน แฟรนไชส์ ที่เป็นตัวชี้วัดว่าธุรกิจจะมีโอกาสเติบโตได้หรือไม่

ด้วยเหตุผลตามที่กล่าวมาข้างต้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรม "ปั้นแฟรนไชส์มาตรฐาน สร้างรายได้ ขยายโอกาสธุรกิจปี 2565" ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ที่เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานแฟรนไชส์ การให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกโดยผู้เชี่ยวชาญ ณ สถานประกอบการเป็นรายธุรกิจ การเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ การตรวจประเมินมาตรฐาน

พร้อมทั้งเสริมในเรื่องของการศึกษาดูงานธุรกิจแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จและเป็นต้นแบบที่ดี สำหรับคุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ที่จะสมัครเข้าร่วมโครงการได้ ต้องจดทะเบียนจัดตั้งในรูปแบบนิติบุคคล และประกอบธุรกิจแฟรนไชส์มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี มีแฟรนไชส์ซีไม่น้อยกว่า 3 สาขา และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดทั้งโครงการ โดยเปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2565 "

อธิบดี กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมากรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ดำเนินการผลักดันธุรกิจแฟรนไชส์เข้าสู่มาตรฐานสากลมาอย่างต่อเนื่อง (ข้อมูล ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565) มีธุรกิจแฟรนไชส์เข้ารับการประเมินและผ่านเกณฑ์การตรวจประเมินจากกรมฯ แล้วทั้งสิ้น 477 ราย แบ่งตามประเภทธุรกิจได้

ดังนี้ 1) ธุรกิจอาหาร จำนวน 205 ราย 2) ธุรกิจเครื่องดื่ม จำนวน 93 ราย 3) ธุรกิจการศึกษา จำนวน 65 ราย 4) ธุรกิจบริการ จำนวน 58 ราย 5) ธุรกิจความงามและสปา จำนวน 24 ราย และ 6) ธุรกิจค้าปลีก จำนวน 32 ราย ผู้สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ กองส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทรศัพท์หมายเลข 0 2547 5953 ,e-Mail : franchisedbd@gmail.com หรือดูรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์ www.dbd.go.th
 
 
ที่มา : กองส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,279
PLAY Q by CST bright u..
1,334
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
951
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
950
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
798
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
770
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด