1.0K
14 กรกฎาคม 2564

สมาพันธ์ SME ชง 9 มาตรการอุ้มธุรกิจเข้าถึงแหล่งทุน-หนุนจ้างงาน

ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย แสงชัย ธีรกุลวาณิช ระบุ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ได้ทำการสำรวจผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ทั่วประเทศ เพื่อสรุปเป็นมาตรการเสนอต่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหา อุปสรรคจากการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง และก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจฐานรากโดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจรายย่อย รายย่อม และรายกลาง จำนวนหลายล้านรายให้มีทิศทางการแก้ไขตรงกับความต้องการ และสภาพปัญหาที่แท้จริงทางเศรษฐกิจ

แม้ภาครัฐจะมีมาตรการออกมาเพื่อช่วยเหลือ SME แต่การเข้าถึงความช่วยเหลือยังไม่สามารถทำให้ SME เข้าถึงได้ง่าย SME จำนวนมากยังไม่ได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการภาครัฐ เช่น มาตรการ Soft loan 1 มี SME เข้าถึงเพียง 77,787 ราย วงเงิน 138,200 ล้านบาท จึงอยากให้ธนาคารผ่อนปรนเกณฑ์การพิจารณา เพื่อให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น

สำหรับมาตรการเร่งด่วนที่สมาพันธ์ฯเสนอเพื่อให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุนและลดการว่างงาน ประกอบด้วย การพักต้น-พักดอก-เติมทุน โดยไม่คิดดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาการพักต้น และยืดระยะเวลาการชำระออกไป รวมทั้งไม่ติดเครดิตบูโร เพื่อลดผลกระทบในระยะยาว NPLs บรรเทาภาระหนี้ และสร้างสภาพคล่องชั่วคราวให้กับเอสเอ็มอีที่ไม่ได้รับ Soft loan / สินเชื่อ Factoring ใบสั่งซื้อ-ใบกำกับภาษี mSMEs โดยใช้ใบสั่งซื้อมาขอสินเชื่อ 30-50% ของวงเงินใบสั่งซื้อที่มีจากลูกค้าเพื่อนำเงินไปใช้ซื้อวัตถุดิบ และจ้างงานช่วยเพิ่มสภาพคล่อง /กองทุนประกันสังคม 30,000 ล้านบาท ที่ผู้ประกอบการเข้าถึงยาก หากปรับเปลี่ยนเป็นให้วงเงินผู้ประกอบการที่มีประวัติการส่งเงินสมทบตรง มีการจ้างงานจำนวนหนึ่งจะช่วยรักษาการจ้างงาน และผยุงกิจการให้สามารถมีสภาพคล่องต่อไปได้

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการสำหรับการฟื้นฟูกิจการได้แก่ ร่าง พรบ.กองทุนพัฒนาวิสาหกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม เนื่องจากที่ผ่านมาเอสเอ็มอีจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนในระบบได้ ทำให้เกิดหนี้นอกระบบเติบโตขึ้น การที่มีกองทุนฯนี้เป็นการเปิดโอกาสให้สามารถสร้างแต้มต่อ มีต้นทุนการเงินที่ต่ำ แข่งขันได้มากขึ้น /กองทุนฟื้นฟู NPLs เพื่อการพัฒนา mSMEs ที่จะช่วยให้เอสเอ็มอีที่เป็น NPLs จากผลกระทบ COVID-19 และได้รับการดูแล แก้ไข ปรับปรุงหนี้อย่างเป็นระบบ ให้สามารถกลับสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพ และอยู่ในระบบฐานภาษีของรัฐ/และกองทุนนวัตกรรมเพื่อ mSMEs เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ยกระดับคุณภาพ มาตรฐาน และนวัตกรรม เทคโนโลยี การตลาดอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้ประกอบการ และแรงงานที่มีทักษะขั้นสูงสามารถพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

ส่วนมาตรการเพื่อความเข้มแข็งและยั่งยืนได้แก่มาตรการสร้างงาน สร้างเศรษฐกิจชาติ พัฒนาฝีมือแรงงาน ทักษะ และเพิ่มขีดความสามารถให้กับเอสเอ็มอี /จ้างงงานผู้ว่างงานพัฒนา mSMEs ท้องถิ่น และเฟรนไชส์ไทย สร้างอาชีพ สร้างเศรษฐกิจไทย ให้โอกาสผู้ว่างงาน บัณฑิตตกงาน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องการปรับเปลี่ยนธุรกิจ มาเชื่อมโยงกับเฟรนไชส์ไทย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างธุรกิจใหม่ในกลุ่มเฟรนไชส์

ที่มา : bangkokbiznews.com

ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
1,176
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
793
“เติมพลังความรู้” กับ ..
628
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
604
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
602
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
542
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด