4.5K
11 พฤศจิกายน 2553
ยุบรวม 3 สมาคมแฟรนไชส์ เป็นหนึ่ง รับมือเปิดเสรีอาเซียน   

 
 
 
  
  
       3 สมาคมธุรกิจแฟรนไชส์ไทย เดินแผนปรองดอง เซ็น MOU ยุบสมาคมเพื่อตั้งสมาคมใหม่เป็นสมาคมเดียว หวังผนึกกำลังรับมือการค้าเสรีอาเซียน 2015 และรับการสนับสนุนจากภาครัฐหนุนเอสเอ็มอี-แฟรนไชส์ไทย รวมถึงแผนหนุนจากแบงก์ปล่อยกู้เพื่อการเติบโตธุรกิจก้าวไปอย่างรวดเร็ว
       
       นับเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานร่วมกันในอนาคตในฐานะตัวแทนธุรกิจแฟรนไชส์ไทยกว่า 500 รายมากกว่า 20,000 สาขาทั่วประเทศ ของคณะกรรมการสมาคม ในการผลักดันพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ไทยที่กระจายเป็นสมาชิกอยู่ใน 3 สมาคม ได้แก่ 1.สมาคมแฟรนไชส์ไทย 2.สมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มไทยและ3.สมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์
      
       ที่ผ่านมาภาพของการทำงานของทั้ง 3 สมาคมต่างคนต่างทำ และรัฐบาลหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างก็ส่งเสริมแต่ละสมาคม ผลที่ตามมาหลายฝ่ายมองกันมาเมื่อมีวัตถุประสงค์เดียวกันเพื่อพัฒนาความสามารถและผลักดันธุรกิจแฟรนไชส์ไทยเหมือนกันจึงควรที่จะหันหน้าจับมือและรวมพลังเพื่อก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว
      
       แนวคิดดังกล่าวนี้มีการพูดถึงมานานทุกยุคทุกสมัย ในบางสมาคมเมื่อเปลี่ยนตัวนายกสมาคมก็จะมีการพูดถึงประเด็นการปรองดองรวมตัวกัน จากเดิม 2 สมาคมและในระยะ 9 เดือนมานี้มีเพิ่มมาอีกหนึ่งสมาคมเท่ากับสมาคมเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมีทั้งสิ้น 3 สมาคม
      
       ยิ่งทำให้แนวโน้มอนาคตการที่จะเกิดการรรวมตัวยิ่งเป็นไปได้ยากลำบาก ขณะที่การเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ จำนวนผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้น การที่จะมีการก่อตั้งสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์ขึ้นมาใหม่ยอมเป็นไปได้ไม่ยากนัก
      
       ดังนั้นแนวทางการรวมตัวกันนี้จึงกระชับพื้นที่ ล้อมวงประชุมกัน โดยมีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยง 3 สมาคธุรกิจแฟรนไชส์หันหน้าคุยกันโดยมีรองอธิบดีหมาดๆ “พิกุล ทักษิณวราจาร” นั่งเป็นประธานที่ประชุม พร้อมออกตัวว่างานนี้ไม่รู้จักว่าใครเป็นใครมาก่อน นอกจากเนื้องานที่รับผิดชอบเท่านั้น
      
       บ่ายวันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมา จึงเป็นการประชุมนัดแรกของ 3 สมาคมแฟรนไชส์ โดยมีตัวแทนจาก 3 สมาคมและสมาชิกบางส่วนเข้าร่วม โดยตัวแทนสมาคมละ 3 คนมีสิทธิ์ในการการพิจารณา ตัดสินใจ ลงมติในการประชุม (อากาศ วสิกชาติ, สุวิทย์ งอกศรี, นิศากร รัตนชีวกร : ตัวแทนสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีไทย สมจิตร ลิขิตสถาพร, ชญานิธิ แบร์ดี้, เมทธิว แบร์ดี้ : ตัวแทนสมาคมแฟรนไชส์ กฤษฎ์ กาญจนบัตร , จิรภัทร สำเภาจันทร์ , อรินทร์ ตรีช่อวิทยา : (ตัวแทนสมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์ )
      
       โดยหัวข้อการรวมสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์ สรุปในประเด็นที่สำคัญๆ ได้ดังนี้ 1.ความเห็นด้านการรวมสมาคมแฟรนไชส์ มี 2 แนวทาง คือ ยุบ 3 สมาคมและจัดตั้งสมาคมขึ้นมาใหม่ และยุบ 2 สมาคมเหลือ 1 สมาคมที่มีระบบการบริหารจัดการสมาคมที่ดี เบื้องต้นมีความเห็นที่ขัดแย้งโดยสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีไทยเห็นด้วยพร้อมยุบสมาคมของตน และสมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์โดยตัวแทนแจงถึงการดำเนินการบริหารสมาคมของตนนั้นมีระบบควรที่จะดำเนินการต่อ ส่วนสมาคมแฟรนไชส์ไทยคัดค้านด้วยเป็นสมาคมที่เก่าแก่แต่ที่ผ่านมาสมาชิกอาจห่างหายไปบ้าง กว่าค่อนชั่วโมงถึงได้มติออกมาว่า “ยุบ 3 สมาคมเดิมที่มีอยู่และจัดตั้งสมาคมขึ้นมาใหม่”
       
       2.กระบวนการเปลี่ยนชื่อสมาคมให้เหมาะสม ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่สมาคมแฟรนไชส์ไทยขอให้มีคำว่า “แฟรนไชส์ไทย” ด้วยเป็นสมาคมแรกและเป็นชื่อที่ต่างชาติรู้จัก
       
       3.การจัดการกับสมาชิกเดิมของแต่ละสมาคม เพื่อให้สิทธิสมาชิกไม่เสียผลประโยชน์และสิทธิสมาคมไม่เสียประโยชน์ ใน 2 สมาคมคือสมาคมแฟรนไชส์ไทยและสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีไทยนั้นขาดการดำเนินงานมานาน สมาคมแฟรนไชส์ไทยก็เพิ่มรื้อฟื้นเปิดรับสมาชิกและต่ออายุสมาชิกเดิม จะมีแต่สมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์สมาคมน้องใหม่ที่สมาชิกแยกตัวมาจากสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีไทย เพิ่งเปิดรับสมาชิกรายละ 5,000 บาทต่อปี จึงได้ขอสรุปที่ว่า สมาชิกที่มีการชำระค่าสมาชิกแล้วเมื่อจัดตั้งสมาคมขึ้นมาใหม่ยังคงสิทธิ์นั้นในระยะ 1 ปี จนกว่าจะมีการต่อและชำระค่าสมาชิกครั้งต่อไป
      
       4. ข้อตกลงในการบริหารสมาคม ที่แต่ละสมาคมต้องการเรียกร้องหรือแสดงความเห็น ตัวแทนสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และไลเซนส์ เสนอความเห็นให้มีโควต้าของแต่ละสมาคมนั่งเป็นคณะกรรมการ โดยบอกการยอมยุบสมาคมเป็นการถอยคนละก้าวและควรให้มีที่ยืนหรือตำแหน่งในการบริหารงานสมาคม ไม่เช่นนั้นจะยุบสมาคมไปเพื่ออะไร ถ้าคัดเลือกก็จะเกิดการแก่งแย่งตำแหน่ง ควรเป็นวาระพิเศษเพื่อให้สมาคมใหม่เดินหน้า
      
       ตัวแทนสมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์ กล่าวขึ้นมา นายกสมาคม คณะกรรมการของสมาคมไม่ยึดติด ถ้าทำงานไม่ถึง 70% ต้องออกจากตำแหน่งโดยปริยาย และบางคนได้ลาออกเอง จึงเห็นว่าสมาคมใหม่นี้ ไม่ควรมีระบบสัดส่วนหรือโควต้า แต่ควรเป็นอาสาสมัครที่จะเข้ามาทำประโยชน์ให้ส่วนรวมและเปิดรับสำหรับสมาชิกที่พร้อม
      
       การประชุมนัดแรกนี้ใช้เวลาไปกว่า 3 ชั่วโมง ในบางประเด็นนั้นมีการยกยอดไปครั้งต่อไป เช่น หารือการเลือกตั้งคณะกรรมการการบริหารสมาคม กำหนดเวลา กระบวนการ หารือการเลือกตั้งนายกสมาคม หารือการจัดเอกสารสมาคม ผู้จัดการสมาคม พนักงานสมาคม ที่ปรึกษาสมาคม การจัดจ้างผู้ปฏิบัติงานให้สมาคม ฯลฯ และก่อนที่จะมีการนัดประชุมครั้งที่ 2 เรื่อง “การแต่งตั้งคณะกรรมการ” มีมติรวมกันว่าควรเป็นการประชุมนอกรอบนัดรับประทานอาหารร่วมกันเพื่อบรรยากาศที่ผ่อนคลายและรู้จักกันก่อนนั่งโต๊ะประชุมเพื่อลดความตรึงเครียดในครั้งต่อไป
       
       อย่างไรก็ดี “ณรัตน์ไชย หลีระพันธ์” กรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสมาคมการค้ากลุ่มธุรกิจการค้าและการค้าร่วม ที่ปรึกษาสมาคมแฟรนไชนส์และไลเซนส์ ให้ความเห็นว่า การยุบเพื่อรวมเป็นสมาคมแฟรนไชส์ ควรเป็นสมาคมแฟรนไชส์แห่งชาติ เตรียมตัวเข้าสู่การค้าเสรีในปี 2015 ที่ 10 ประเทศอาเซียนจะรวมเป็นหนึ่งเดียวมีประชากร 700 ล้านคน ซึ่งในหลายประเทศมีการรวมตัวกันของสมาคมแฟรนไชส์แต่ไทยยังไม่ได้เข้าร่วมเพราะมียังไม่มีความชัดเจนของสมาคมแฟรนไชส์
      
       ซึ่งการตั้งเป็นสมาคมแฟรนไชส์แห่งชาตินี้ต้องอาศัยศักยภาพของคณะกรรมการ ที่มีความรู้ ความสามารถ เพื่อดูแลธุรกิจเอสเอ็มอีที่ดำเนินธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์พัฒนาให้เกิดความเข้มแข็ง มีรายใหญ่ เช่น กลุ่มไมเนอร์ โคคา เข้ามาร่วมเพื่อถ่ายทอดโนว์ฮาวเสริมคาวามเข้มแข็งกับแฟรนไชส์รายที่กำลังพัฒนา
      
       ด้าน พีระพงษ์ กิตติเวชโภคาวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวถึงกรณีสมาคมแฟรนไชส์ในต่างประเทศเดิมที่มีหลายสมาคมเช่นเดียวกันกับไทยแต่ก็มีแนวคิดที่ต้องการยุบรวมเป็นสมาคมเดียวกัน แต่ขั้นตอนนั้นพบว่ากว่าที่แต่ละสมาคมจะทำการยุบสมาคมของตนเพื่อรวมตัวกันใหม่นั้นบางประเทศใช้เวลานาน และบางสมาคมเกิดการเปลี่ยนใจกระทันหันทำให้การดำเนินงานในหลายประเทศล่าช้า
       
       ในความเห็นของตนนั้นมองว่าหากมีความเห็นตรงกันของ 3 สมาคมแฟรนไชส์ที่ต้องการยุบทั้ง 3 สมาคมและตั้งสมาคมแฟรนไชส์ขึ้นมาใหม่นั้นควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกลางหรือทนายเข้ามาดูแลข้อกฏหมายต่างๆ ทั้งระหว่างการยุบเพื่อนำทรัพย์สินสมาคมให้กับสาธารณกุศลตามกฏของการจัดตั้งสมาคมและคณะกรรมการกลางชุดเดียวกันนี้เป็นชุดเดียวกันกับที่ดำเนินการจัดตั้งสมาคมใหม่ โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสมาคมใหม่ที่มีการจัดตั้งขึ้นแล้วจะเป็นผู้รับผิดชอบ
      
       ตัวแทนสำนักงานกฏหมายเสนอให้ข้อมูลว่า สำหรับการจัดตั้งสมาคมใหม่ สามารถดำเนินการได้ภายใน 3 ชั่วโมง และการยกเลิกสมาคมนั้นไม่กำหนดระยะเวลา อยู่ที่การชำระบัญชีหากดำเนินการได้เร็วผลการยุบสมาคมก็มีผลทันที พร้อมแนะว่าให้สรุบให้มีการตั้งสมาคมก็สามารถดำเนินการได้ทันทีและควบคู่ไปกับการยกเลิกหรือยุบสมาคมที่ต้องสะสางบัญชีและการมอบทรัพย์สินสมาคมให้กับสาธารณกุศล
       
       อย่างไรก็ตาม สมาคมแฟรนไชส์ไทย จะยังคงใช้ระยะเวลาถึงสิ้นปี 2553 นี้ดำเนินการตามแผนงานของสมาคมที่วางไว้ล่วงหน้า เช่น การจัดเทรนนิ่งสมาชิก ซึ่งแผนงานต่างๆ จะแล้วเสร็จในสิ้นปีนี้
 
 

อ้างอิงจาก ผู้จัดการออนไลน์
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
5,488
PLAY Q by CST bright u..
1,065
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
940
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
931
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
783
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
755
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด