บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม
1.5K
2 นาที
2 เมษายน 2563
การติดตามผู้ป่วย COVID-19 ในไทย ด้วย location + AI + Big Data + Social Data
 

ภาพจาก  bit.ly/39xEHhb

สถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทยยังต้องจับตามองกันอยู่ ยังไว้วางใจไม่ได้เลย ทุกคนยังคงให้ความสนใจเฝ้าติดตามข่าวสารกันอยู่ตลอด และโดยเฉพาะการมีข่าวคราวของคุณปู่ชาวไทยและคุณป้าชาวเกาหลีที่เชื่อกันว่าจะเป็น Super Spreader ของไวรัส COVID-19 สร้างความตื่นตระหนกให้กับคนในสังคมมากเลยทีเดียว
 
ผมเคยพูดถึงวิธีการสังเกตตัวเองเมื่อยามป่วยไข้ว่าเราสามารถใช้อุปกรณ์ประเภท wearable ที่ช่วยตรวจเช็กสุขภาพในขั้นต้นรวมถึงการใช้วิธี Cloud Sourcing หรือการฟังความคิดเห็นจากคนรอบข้างเพื่อให้มี data หรือข้อมูลในการตัดสินใจไปบ้างแล้ว 
 
แต่ในสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ทั่วทั้งโลกอย่างตอนนี้เรียกว่าเข้าสู่ขั้นวิกฤตแล้วก็ว่าได้ มีการแพร่กระจายของเชื้อโรคทุกทวีปแล้ว ที่น่ากังวลใจก็คือผู้ที่ได้รับเชื้อบางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนเองมีความเสี่ยงและสร้างความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อให้กับผู้คนรอบข้างที่มีการติดต่อใกล้ชิด ไม่รวมถึงกรณีการปฏิเสธการตรวจรักษาและการปกปิดประวัติการเดินทางในประเทศกลุ่มเสี่ยง แต่หากเมื่อมีการตรวจพบว่ามีผู้ที่ติดเชื้อแล้ว ปัญหาที่ตามมาคือการป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง 


ภาพจาก  bit.ly/39xEHhb
 
จริง ๆ หากทราบว่าผู้ป่วยเป็นใครแล้วเราก็สามารถที่จะ track ผู้ที่ติดเชื้อหรือผู้ที่อยู่ใกล้กับผู้ที่ติดเชื้อได้ โดยอาศัยเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ววิธีหนึ่งก็คือ ติดตามจากเบอร์โทรศัพท์มือถือของผู้ป่วย และดูจากข้อมูลพื้นที่ที่ผู้ป่วยเดินทางผ่านเสาโทรศัพท์ (cell site) หรือเสาสัญญาณในตึก (in-building) + WIFI หรือ Bluetooth ว่ามีเบอร์อะไรบ้างอยู่ในพื้นที่ไหน รวมไปถึง social data ในละแวกที่ผู้ป่วยคนนั้นผ่าน เช่น ภาพถ่ายจาก social จากในละแวกนั้น ๆ โดยใช้ Algorithm วิเคราะห์ลงไปอีกชั้นหนึ่ง เพื่อหาคนที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้
 
เราจะสามารถระบุได้ว่าผู้ป่วยมีโอกาสอยู่ในพื้นที่ไหนบ้าง อยู่ใกล้กับใครบ้าง จากสัญญาณมือถือของเขา หรืออุปกรณ์ที่ใกล้กัน และ track เส้นทางการเดินทางของเขาได้ชัดมากขึ้น แล้วพล็อตออกมาเป็นแผนที่การเดินทาง และดูความเสี่ยงของคนที่อยู่ในละแวกนั้น ๆ จากเบอร์มือถือ เราจะเห็นการกระจายตัวของกลุ่มคนที่มีเสี่ยงที่จะติดได้ชัดเจนมากขึ้น
 
 
ภาพจาก  bit.ly/39xEHhb
 
รวมไปถึงควรต้องส่งข้อมูลไปแจ้งแก่คนเหล่านั้นเพื่อให้มีการระวังตัว เก็บตัว ไปตรวจสุขภาพ เพื่อการติดตามได้ดีขึ้น นั่นคือเป็นการเอา Big Data + AI มาใช้วิเคราะห์ แต่อาจจะมีการกระทบไปถึงเรื่องของ privacy data ที่ต้องระมัดระวังให้ดีด้วยเช่นกัน แต่ถ้าสถานการณ์มันเกิดวิกฤตมาก ๆ ผมคิดว่าวิธีนี้จะเป็นแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจนะครับ
 
วิธีการง่าย ๆ ที่จะทำได้ก็คืออาศัยความร่วมมือจากการนำข้อมูลของ Mobile Operator ทั้ง 3 เจ้าหลัก ๆ + WIFI operator + WISESIGHT (Social Data) + อาสาสมัคร Engineer + Data Analysts ทั้งหลายมาร่วมมือกันกับกระทรวงสาธารณสุข เปิด War Room ขึ้นมาแล้วช่วยกันวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ออกมา ผมว่าดูน่าจะมีประโยชน์และช่วยประเทศเราได้มากเลยทีเดียว
 
หรือวิธีการที่ง่ายที่สุดก็คือติดต่อไปทางบริษัท Facebook, LINE หรือ Google เราจะได้รู้ข้อมูลทั้งหมดที่ผมบอกมาข้างต้นในทันที (ถ้าเจ้าตัวยินยอม) หรือไปดึงข้อมูลจากแพลตฟอร์มเหล่านี้ออกมาจาก account ของผู้ป่วยเพื่อมาวิเคราะห์ต่อ (จริง ๆ มีช่องทางที่จะไปดึงออกมาได้ไม่ยากครับ)
 
** ข้อมูลเหล่านี้หากทำออกมาแล้ว บางส่วนต้องเป็น Privacy Data โดยเฉพาะข้อมูลของคนไข้ ที่มีตำแหน่งบ้าน ที่อยู่อาศัย จะต้องมีการควบคุมคนที่สามารถเข้าถึงได้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น แต่ข้อมูลเรื่องการเดินทาง การอยู่นอกสถานที่ ผมคิดว่าน่าที่จะพอเปิดเผยได้บ้าง ถ้าสนใจจะทำผมว่าทำได้ไม่ยากเลย ผมยินดีช่วยอย่างเต็มที่ครับ
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สงครามส่งด่วน • เกมส์ • กลยุทธ์ • ธุรกิจ
451
คิดวิเคราะห์ขายอาหารใน Food Court คุ้มหรือไม่
391
“Store Assortment” กลยุทธ์ร้านค้าปลีก ที่เจ้าของ..
389
ไฮเปอร์มาร์เก็ต VS ซูเปอร์เซ็นเตอร์! ใครจะรุ่ง ..
381
“Markdown” วิธีใช้ “ป้ายเหลือง” เพิ่มรายได้ร้านส..
355
3 ทหารเสือ เชนร้านสเต็ก พันล้าน
354
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด