แฟรนไชส์กูรู    คุณประนิตา เกิดพิกุล
3.9K
แฟรนไชส์กูรู สัมภาษณ์ คุณประนิตา เกิดพิกุล จากกรมส่งเสริมการส่งออก



บทสัมภาษณ์ คุณประนิตา เกิดพิกุล (นักวิชาการพาณิชย์ 7 กรมส่งเสริมการส่งออก)


: ช่วยเล่าให้ฟังถึงหน่วยงาน, องค์กรที่ทำงานทางด้านธุรกิจแฟรนไชส์ของไทย ว่ามีอะไรบ้าง และทำงานประสานงานกันทางด้านใด?

: ที่กรมฯ ทำด้านการตลาดและบริการด้านแฟรนไชส์ โดยจะมีการอบรมและพัฒนาผู้ประกอบการ ก่อนที่จะออกสู่ต่างประเทศ ซึ่งกรมฯ มีหน่วยงานอยู่ที่ต่างประเทศกว่า 50 แห่งทั่วโลก ที่จะเป็นแขน - ขาให้เราในการที่จะประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมด้านการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์ในต่างประเทศ นอกจากนั้น ยังมีการอบรมให้ความรู้ จากวิทยากรรับเชิญจากต่างประเทศ เช่น จีน, อินเดีย, อเมริกา มาให้ข้อมูลเรื่องระบบแฟรนไชส์ ถ้าเราจะไปเจาะตลาดที่นั่น จะต้องทำอย่างไรบ้าง?

ส่วนของ SME Bank, EXIM Bank มีเงินกู้สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจจะไปลงทุนขยายธุรกิจแฟรนไชส์ในต่างประเทศ

ทาง สสว. จะมีการให้การอบรม, ส่วนภาคเอกชน จะมีมหาวิทยาลัยศรีปทุม ศูนย์วิจัยและพัฒนาค้าปลีก แฟรนไชส์สากล, นอกจากนั้น ยังมี JETRO มาช่วยในเรื่องของธุรกิจบริการด้วย เช่น อาหารไทย, สปาไทย, ภาพยนตร์ไทย บางทีอบรมอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องทำ Workshop มีโครงการที่ทาง JETRO เข้ามาช่วยเราหลายด้านเหมือนกัน



: ช่วยเล่าให้ฟังถึงหน่วยงาน, องค์กรที่ทำงานทางด้านธุรกิจแฟรนไชส์ของไทย ว่ามีอะไรบ้าง และทำงานประสานงานกันทางด้านใด?

: พี่มาทำเรื่องธุรกิจแฟรนไชส์ ไม่ต่ำกว่า 5 ปีแล้วนะค่ะ เดิมอยู่สำนักกิจกรรมงานแสดงสินค้าใน ต่างประเทศ ได้จัดสัมมนาโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศ เช่น อินเดีย, จีน , สหรัฐอเมริกา เข้ามาให้ความรู้ มีการดึง และช่องทางในการเข้าตลาดก็ไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น จีน


เราเชิญผู้บริหารของแฟรนไชส์ Saveway ในจีน โดยมีการขยายสาขาจาก 1 สาขา เป็น 80 สาขาในจีน คือมาเล่าประสบการณ์ให้ฟัง เค้าทำยังไงถึงประสบความสำเร็จ และเจออุปสรรคอะไรบ้าง? มันก็ได้ประสบการณ์ที่ว่า ถ้าเราไปทำตลาดที่นั่น แต่ละตลาดมันไม่เหมือนกัน คือสร้างประแสให้คนเห็นว่า แฟรนไชส์นั้นมีประโยชน์อย่างไร? คือการค้า สมัยก่อน


ตั้งแต่อดีตกาลเลยคือ ง่ายๆคือ เราส่งออกอย่างเดียว ไม่ต้องคิดอะไรมากเลย ทำของและส่งออกไป แต่มันไม่ยั่งยืน อย่าง OEM ก็มีตัวอย่างให้เห็นกันอยู่แล้ว ที่มันไม่ได้ เพราะการที่จะทำให้การค้ายั่งยืนนั้น Brand Name ก็มีส่วนด้วย พอถึงจุดๆหนี่ง ก็กลายเป็น FDI (Foreign Direct Investment) ต้องย้ายฐานการลงทุนในต่างประเทศ เพื่อให้ต้นทุนลดลง และการแข่งขันมันน้อยลง แต่การค้าปัจจุบัน คิดแค่นั้นไม่ได้แล้ว คือต้องคิดลึกแล้ว ถึงเวลาคู่แข่งก็ตัดคุณออกจากวงจรเลย คุณไม่มีฐานอะไรในต่างประเทศเลย ไม่มี Distributor ในต่างประเทศ ทีนี้ถ้าเราไปตั้งฐานที่โน่นได้ ขายไลเซ็นส์ได้ มี Distributor ของเราเอง ภายใต้แบรนด์ของเราเอง อย่างนี้จะยั่งยืน




: ท่านคิดเห็นอย่างไรสำหรับสถานการณ์ของแฟรนไชส์ไทยในปัจจุบันนี้


: ดูแล้วสถานการณ์ในปัจจุบันไปได้ดีนะคะ โดยเฉพาะในหมวดของอาหาร จะไปได้เรื่อยๆ อย่างเช่น โคคา มีร้านอาหารไทย แมงโก ทรี ขยายไปต่างประเทศ 8-9 สาขาได้แล้วมั้ง ในปัจจุบัน เริ่มต้นทั้งโคคา, แบล็คแคนยอน, บลูเอเลแฟนท์ และเอ็มเค สุกี้ และแบรนด์อื่นๆ ทางกรมฯก็เป็นที่ปรึกษามาตั้งแต่แรก ตลาดของเราส่วนใหญ่จะเป็น เซาท์อีส เอเซีย ก็ได้อาณิสงส์จากกรมฯด้วย และตัวแบรนด์เองด้วย

จริงๆแล้วแฟรนไชส์ มันเป็นเรื่องของ Business Format บางทีเราไปต่างประเทศ อาจจะไม่ต้องขายทั้งแฟรนไชส์ได้ อาจจะขายเฉพาะส่วนของ ไลเซ็นส์ ก็ได้




  :อยากเห็นอะไรในแวดวงธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย ในอนาคต


: คิดว่าน่าจะเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ ประเภทสปา, สุขภาพ หรือความงาม ที่ดูแล้วมีโอกาสเยอะ เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ แต่ในเวลานี้ จะออกเป็นลักษณะของ สปา คอนซัลท์ คือเป็นที่ปรึกษา ตามโรงแรมระดับ 5 ดาวต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีสปาอยู่แล้ว หรือ อย่างธุรกิจรถยนต์ คนไทยเราก็ฝีมือดี แต่พี่มอง ที่ญี่ปุ่นจะมีบ่อ น้ำร้อน ตอนนี้ความนิยมก็เริ่มลดน้อยลงแล้ว ถ้ามีสปาเข้ามาเสริมก็น่าจะทำให้ธุรกิจดีขึ้นได้

ส่วนมิดเดิล อีสต์ สปาไทยเราไปหลายแห่งแล้ว และไปในระดับไฮเอ็นท์ แม้กระทั่งจีนเราไปในลักษณะสปาคอนซัลท์ แต่ตรงนี้ ก็ไม่ดีอยู่อย่างคือ ถ้าเราไปในลักษณะไม่มีแบรนด์ เหมือนไปสร้างคู่แข่งขึ้นมาเหมือนกัน คือไป สอนเค้านวด แต่ถ้าเรามีแบรนด์ของเราเอง และไปเจรจาว่าคนนวดของไทยส่งมาจากเมืองไทย ก็น่าจะ ดีกว่าอย่างนี้ ใจก็อยากจะให้เป็นแฟรนไชส์ & ไลเซ็นท์ซิ่ง จะเติบโต และขอบข่ายมันจะกว้างกว่า




  : อยากให้ฝากข้อคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะ ให้กับผู้ที่กำลังเริ่มทำธุรกิจแฟรนไชส์, แฟรนไชส์ซอร์ หรือ ผู้ที่ สนใจธุรกิจแฟรนไชส์


: ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ ของไทย ถ้าต้องการไปต่างประเทศ อยากให้รู้ไว้ว่าไม่ยากเลย เพียงแต่ขอให้มีความพร้อมและรู้ว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เพื่อให้ทางกรมฯสามารถส่งเสริม หรือให้การสนับสนุนได้อย่างถูกต้อง






คุณประนิตา เกิดพิกุล ตำแหน่ง นักวิชาการพาณิชย์ 7
กรมส่งเสริมการส่งออก สำนักส่งเสริมธุรกิจบริการ กลุ่มงานส่งเสริมธุรกิจบริการ 4


โทร. 02 513 11909-15 ต่อ 224
โทรสาร 02 512 2223

e-mail: pranitak@depthai.go.th



หมายเหต: บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ © ของThaiFranchiseCenter.com
หากต้องการนำไปใช้ กรุณาแจ้งให้ทราบ info@thaifranchisecenter.com