หน่วยงาน    มูลนิธิ, องค์กรการกุศล | Foundation, Charitable Organization
11K
3
10
มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)
SMEs
องค์กร มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) 
Organization Sustainable Agriculture Foundation Thailand
รายละเอียด มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ก่อเกิดจากฐานการพัฒนางานเกษตรกรรมยั่งยืนในประเทศไทย ด้วยเห็นว่า การคิดค้นแนวทางการแก้ปัญหาของเกษตรกรและกลุ่มองค์กรชุมชนด้วยระบบเกษตรกรรม ยั่งยืนนั้น ได้พัฒนารูปแบบและแนวคิดในการสร้างการพึ่งตนเองของครอบครัวและชุมชนบนฐาน นิเวศวัฒนธรรมที่แตกต่าง หลากหลาย และดำเนินไปท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและสังคมไทย ซึ่งอยู่ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ความเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งด้านการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ และแนวคิดในทางเศรษฐกิจ สังคมที่เปลี่ยนแปลงความรู้ และทัศนคติของคนในสังคม ทำให้งานเกษตรกรรมยั่งยืนยิ่งทวีความสำคัญ ในขณะเดียวกันก็ต้องการการพัฒนาและยกระดับทั้งด้านความรู้ และการยอมรับจากสาธารณชนและนโยบาย ความรู้ที่จะได้รับการพัฒนา ประยุกต์ใช้นั้นก็ควรดำเนินไปเพื่อสร้างพลังของเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรในการ แก้ไขปัญหาของตนเอง และสังคม ในขณะที่การยอมรับจากผู้บริโภค และสาธารณชน รวมทั้งระดับนโยบาย จะช่วยยกระดับให้เกษตรกรรมยั่งยืนมีสถานะไม่เพียงเป็นระบบเกษตรกรรมสำหรับ เกษตรกรและชุมชน แต่เชื่อมโยงสู่ระบบอาหารที่จะช่วยสร้างความมั่นคงและอธิปไตยทางอาหารสำหรับ ประชาชนในประเทศอีกด้วย

มูลนิธิฯก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2541 โดยช่วงแรกมูลนิธิฯ มีภารกิจหลักในการบริหารจัดการโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของ เกษตรกรรายย่อย ซึ่งเป็นโครงการต้นแบบการผลักดันให้มีการนำนโยบายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาปฏิบัติจริง โครงการนำร่องฯ มีเป้าหมายเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนและการจัดการ ทรัพยากรชายฝั่งที่เหมาะสม อันจะนำมาสู่การพึ่งตนเองได้ของเกษตรกรและชุมชนในด้านเศรษฐกิจ อาหาร ที่ดินทำกิน และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนในการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนและการจัดการ ทรัพยากรต่อไป บทเรียนจากโครงการฯ ได้สร้างการพึ่งตนเองให้กับเกษตรกรสมาชิกสามารถพึ่งตนเองในด้านต่างๆ ได้มากขึ้น อาทิ การมีพืชผลหลากหลายชนิดบริโภคในครัวเรือนซึ่งช่วยลดรายจ่ายค่าอาหารได้มาก ขึ้น การลดละเลิกการใช้สารเคมีการเกษตร เป็นต้น ขณะเดียวกันเกษตรกรก็ได้พัฒนาแนวคิดและความรู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้รูปแบบ ต่างๆ อาทิ การวิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วม การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน ซึ่งโครงการพยายามพัฒนารูปแบบและกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ให้สอดคล้องกับ บริบททางสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่เป็นสำคัญ

การดำเนินงานที่สำคัญประการหนึ่งของมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ก็คือการพัฒนาความรู้และภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรมยั่งยืนผ่านแผนงานวิจัยและ พัฒนาแบบมีส่วนร่วม จากประสบการณ์ดังกล่าวทำให้มูลนิธิฯ ตระหนักมากขึ้นว่ายังจำเป็นต้องมีการพัฒนาความรู้และการวิจัยด้านเกษตรกรรม ยั่งยืนอีกมาก ทั้งในแง่ประเด็นการศึกษาวิจัย การพัฒนาแนวคิด/ทฤษฎี เครื่องมือในการศึกษาวิจัย การบูรณาการความรู้ด้านเกษตรกรรมยั่งยืนในมิติต่างๆ การส่งเสริมให้เกษตรกรและองค์กรชุมชนมีบทบาทในการสร้างและพัฒนาความรู้ด้าน เกษตรกรรมยั่งยืน ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากงานศึกษาวิจัย ให้สามารถตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวได้ในทุกระดับทั้งระดับการผลิต การแปรรูป การตลาด การจัดการทรัพยากร และระดับนโยบาย

ต้นทุนของการดำเนินงานขับเคลื่อนการสร้างรูปธรรมการพัฒนาระบบเกษตรกรรม ยั่งยืนกับองค์กรชาวบ้าน เมื่อประกอบกับการวิเคราะห์ถึงความสำคัญของการทำงานด้านความรู้และงานเขียน ทำให้ในปัจจุบันมูลนิธิฯ ปรับบทบาทมาสู่การเป็นองค์กรภาคประชาชนที่ทำงานวิชาการโดยเอาชุมชนเป็นตัว ตั้งและสร้างปัจจัยที่นำไปสู่การพึ่งตนเองและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชุมชน ควบคู่กับการสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ (ทั้งที่เป็นเกษตรกร หรือ คนชั้นกลาง ข้าราชการ นักธุรกิจ เป็นต้น) ให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการยอมรับความสำคัญของเกษตรกรรมยั่งยืน และการยอมรับในสิทธิและศักดิ์ศรีของเกษตรกรและชุมชน ร่วมกันสร้างความสัมพันธ์ใหม่ที่เกื้อกูลกันทั้งชุมชนท้องถิ่น และคนในสังคมโดยรวม

วัตถุประสงค์การก่อตั้งมูลนิธิฯ
  1. การส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งงานศึกษาด้านนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมยั่งยืน
  2. การเผยแพร่กิจกรรมที่เกี่ยวกับเกษตรกรรมยั่งยืน ตลอดจนเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเกษตรกรกับผู้บริโภค
  3. การประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรการเกษตร องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน
  4. การพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของถาบันและองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับเกษตรกรรมยั่งยืนในประเทศไทย
ภาระกิจที่ผ่านมาประกอบด้วย
  1. การจัดตั้งสถาบันเกษตรกรรมยั่งยืน
  2. สนับสนุนการศึกษา รวบรวมและเสริมสร้างกระบวนการพัฒนาความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและองค์กรชุมชน
  3. งานรณรงค์เผยแพร่เพื่อให้สาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจในเกษตรกรรมยั่งยืน
  4. การประสานองค์กรภาคี
ที่ตั้ง 912 ซ.งามวงศ์วาน 31 (ซ่อยย่อยที่ 7) อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ 02-591-1195-6, 02-580- 2035
โทรสาร 02-591-1195-6, 02-580-2035
อีเมล์ sathai@sathai.org
เว็บไซต์
ข้อมูล ณ วันที่ 22 กรกฎาคม 2557
โหวต
ระดับความนิยม
ผลโหวตรวม 10 คะแนน
มีผู้เข้าชม 10,953 ครั้ง
มีผู้ขอข้อมูล 3 คน
หน่วยงาน ที่ไม่รับรอง
Contact Information  
ชื่อผู้ติดต่อ
 *
โทรศัพท์
 *
e-mail
 *
รายละเอียด
Location to Invest
*
ติดต่อหน่วยงาน
หน่วยงานสนับสนุนที่น่าสนใจ
ขอข้อมูล

สมาคมแฟรนไชส์ไทย

คุณสมจิตร ลิขิตสถาพร นายกสมาคมแฟรนไชส์ไทย ต้องการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ไปสู่สาธารณชน และเป็นความต่อเนื่องจากปีที่ผ่...

ขอข้อมูล

บริษัท แพนโฟ จำกัด

บริษัท แพนโฟ จำกัด โดยก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2543 ได้ดำเนินธุรกิจในการจัดสัมมนา(Seminar Organizer) ภายในประเทศและต่างประเทศ ภาระกิจหล...

ขอข้อมูล

ไทยแฟรนไชส์ เชลล..

รับบริหารจัดการ งานแสดงสินค้า งานออกบูธ ทั้งในและต่างประเทศ และให้บริการด้านสื่อประชาสัมพันธ์เต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์, M...

ขอข้อมูล

กาแฟเขาทะลุชุมพร

เริ่มต้นจากการเป็นครอบครัวเกษตรกร ชาวสวนกาแฟเขาทะลุ ชุมพร คุณลุงได้ริเริ่มคั่วกาแฟเองมากว่า 10ปี ซึ่งทางคุณอรทัย เส...