หน่วยงาน    สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจ | Business Organization
12K
1
7
สมาคมเครื่องปั้นดินเผาลำปาง
SMEs
องค์กร สมาคมเครื่องปั้นดินเผาลำปาง 
Organization LAMPANG CERAMIC ASSOCIATION
รายละเอียด
ประวัติสมาคมเครื่องปั้น
 
การก้าวไปข้างหน้าของอุตสาหกรรมเซรามิกลำปาง จากพื้นบ้านสู่สากล
 
คำขวัญอันไพเราะที่ว่า...ถ่านหินลือชา  รถม้าลือลั่น  เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล  ฝึกช้างใช้ลือโลก...จะเป็นของใครไปมิได้นอกจากจังหวัดลำปาง หรือเขลางค์นครแห่งอาณาจักรหริภุญไชย

ซึ่งหากสังเกตกันดีๆก็จะเห็นว่ามีการเน้นประโยคเครื่องปั้นลือนาม นั่นก็มิต้องสงสัยอีกเช่นกันว่า ดินแดนที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานนับย้อนหลังไปได้กว่า 3,000 ปี แห่งนี้ มีความเป็นสุดยอดฝีมือทางด้านงานปั้นดินแค่ไหน  
 
ความเก่าแก่ของนครลำปางเห็นได้ชัดอีกอย่างจากชื่อเมืองที่มีปรากฏอยู่ในตำนานหลายเรื่อง จึงมีชื่อเรียกหลายต่อหลายชื่อตามยุคสมัย เช่น ศรีดอนชัย ลัมภะกัมปะนคร และกุกกุฏนคร หรือ ‘นครไก่’

โดยเฉพาะชื่ออันหลังสุดนี้มีตำนานพื้นบ้านเล่าสืบต่อกันมาว่า เป็นชื่อที่ได้เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกโปรดสัตว์และเสด็จมาถึงที่นี่ พระอินทร์พอได้ทราบ ด้วยความเป็นห่วงว่าชาวบ้านจะไม่รู้และตื่นขึ้นมาไม่ทันหุงหาอาหารเพื่อใส่บาตร

จึงแปลงกายเป็นไก่สีขาวขันปลุกชาวเมืองให้ตื่นทันเวลาพอดี ด้วยเหตุนี้นครลำปางจึงได้ชื่อว่า ‘กุกกุฏนคร’ อันหมายถึงเมืองของไก่ขาว ไก่ขาวจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของเมืองที่ใครก็ตามที่มาถึงลำปางจะพบตามป้ายชื่อถนน บนสะพาน หรือสถานที่สำคัญต่างๆ

แม้แต่ในภาชนะเครื่องเคลือบหลายประเภทโดยเฉพาะชามตราไก่ ที่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตและจิตวิญญาณของชาวลำปางไปเสียแล้ว
 
จุดเริ่มต้นอุตสาหกรรมเซรามิกในลำปาง
 
 
ความโดดเด่นของงานเซรามิกลำปางนั้นถือได้ว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตนที่ไม่ซ้ำแบบใคร และมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ซึ่งผู้ที่คู่ควรแห่งการยกย่องให้รับเกียรตินี้ก็น่าจะเป็นคณะบุคคลกลุ่มหนึ่งอันได้แก่ นายซิมหยู (โรงงานธนบดีสกุล) ซึ่งเป็นชาวจีนเมืองไท้ปูในฮกเกี้ยน

อันเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงทางด้านการผลิตถ้วยชาม ได้ชวนนายเซี่ยะหยุย แซ่อื้อ (โรงงานไทยมิตร) และนายซิวกิม แซ่กว๊อก (โรงงานกฎชาญเจริญ) ออกค้นหาแหล่งดินขาวเพื่อเอามาทดลองทำถ้วยชาม

เนื่องจากได้สังเกตเห็นชาวบ้านอำเภอแจ้หม่ใช้แร่ดินขาวมาเป็นหินลับมีด โดยมีนายทวี ผลเจริญ ให้การสนับสนุนด้านเงินทุน จนกระทั่งพบแหล่งดินขาวที่บ้านปางค่า อำเภอแจ้ห่ม ระหว่าง กิโลเมตรที่ 26-27 ถนนลำปาง-แจ้ห่ม เมื่อราวปี พ.ศ. 2498 – 2499 หลังพบแหล่งดินโครงการขั้นทดลองจึงได้เริ่มขึ้นที่โรงงานของนายประยูร ภมรศิริ และนายซิมหยู 
 
แต่อีก 1 ปีต่อมาในปีพ.ศ. 2500 นายซิมหยู นายเซี่ยะหยุย นายซิวกิม และนายซือเมน แซ่เท่น (โรงงานเจริญเมือง) ได้รับเงินทุนจากนายซินหมิน แซ่เลียว (ทำร้านตัดเสื้อ) จำนวน 20,000 บาท ให้มาตั้งโรงงานเครื่องปั้นดินเผา

ซึ่งถือว่าเป็นโรงงานแห่งแรกของจังหวัดลำปางชื่อ ‘โรงงานร่วมสามัคคี’ ที่หมู่บ้านป่าขาม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยอาศัยพื้นฐานและความชำนาญจากที่เคยทำงานในโรงงานถ้วยชามของนายทวี ผลเจริญ ที่วงเวียนใหญ่ในกรุงเทพฯ มาก่อน 
 
จากปีแห่งการเริ่มต้นนับแต่นั้นมา ถ้วยชามของลำปางได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แม้ดินขาวจะเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของการผลิต แต่เทคนิคการเผาก็สำคัญไม่แพ้กัน

ในยุคเริ่มแรกนิยมใช้เตามังกรแบบกอปีเป็นเตาเผา เตาแบบนี้มีลักษณะยาวภายในเตาแบ่งพื้นที่เป็นขั้น ๆ ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง โดยปรับอุณหภูมิให้อยู่ประมาณ 1,260 องศาเซลเซียส แล้วเคลือบขี้เถ้าแกลบ

เมื่อเผาเคลือบแล้วก็นำมาวาดลวดลายไก่บนเคลือบ แล้วเผาด้วยเตากลมอุณหภูมิ 750 องศาเซลเซียสอีกครั้ง ชิ้นงานที่ผลิตออกมาในขั้นแรกเป็นชามไก่ขนาด 6 นิ้วและ 7 นิ้ว และถ้วยยี่ไฮ้

ซึ่งน่าเสียดายที่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพียง 3 ปี กลุ่มผู้บุกเบิกรุ่นแรกๆ ก็ต้องขายกิจการให้กับ ‘โรงงานเสถียรภาพ’ ส่วนหุ้นส่วนแต่ละคนก็ยังมิได้เลิกอาชีพนี้ไป

หากได้แยกย้ายออกไปเปิดโรงงานผลิตถ้วยชามของตนเองสืบเนื่องต่อมา จวบจนสิ้นอายุขัยของแต่ละคน ซึ่งถือเป็นคุณูปการให้กับอุตสาหกรรมเซรามิกลำปางในยุคปัจจุบันอย่างยิ่ง เพราะนี่คือรากฐานสำคัญของอุตสาหกรรมเซรามิกลำปาง 
 
ที่ตั้ง 111/4 พหลโยธิน ตำบลสวนดอก อำเภอเมือง ลำปาง 52000
โทรศัพท์ 054-226300
โทรสาร 054-323316
อีเมล์ -
เว็บไซต์
Facebook 
www.facebook.com/ceramiclampang
ข้อมูล ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2557
โหวต
ระดับความนิยม
ผลโหวตรวม 7 คะแนน
มีผู้เข้าชม 12,420 ครั้ง
มีผู้ขอข้อมูล 1 คน
หน่วยงาน ที่ไม่รับรอง
Contact Information  
ชื่อผู้ติดต่อ
 *
โทรศัพท์
 *
e-mail
 *
รายละเอียด
Location to Invest
*
ติดต่อหน่วยงาน
หน่วยงานสนับสนุนที่น่าสนใจ