หน่วยงาน    สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจ | Business Organization
5.1K
1
1
สมาคมวิเทศพาณิชย์ไทย-จีน
SMEs
องค์กร สมาคมวิเทศพาณิชย์ไทย-จีน 
Organization BANGKOK CHINESE IMPORTERS & EXPORTERS ASSOCIATION
รายละเอียด
สมาคมวิเทศพาณิชย์ไทย-จีน มีประวัติการก่อตั้งที่ยาวนาน เป็นสมาคมที่มีโครงสร้างสมบูรณ์ มีบุคลากรและสมาชิกเป็น นักธุรกิจที่มีชื่อเสียง เป็นที่นับหน้าถือตาในสังคม เป็นผู้ที่มากด้วยความสามารถ และมีชื่อเสียงในวงการธุรกิจ ปัจจุบันกิจการของสมาคมเจริญรุ่งเรืองอย่างต่อเนื่อง 
 
สมาคมวิเทศพาณิชย์ ไทย – จีนเป็นสมาคมพาณิชย์แห่งหนึ่งที่มีความคล่องตัว นายกสมาคม คณะกรรมการ และสมาชิกของสมาคม ดำเนินธุรกิจนำเข้าส่งออกไม่ต่ำกว่า 27 ประเภท มีการติดต่อค้าขายกับนานาประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะมีความสัมพันธ์ทางการค้าที่แน่นแฟ้นกับประเทศจีน ไต้หวัน ฮ่องกง ยุโรป สหรัฐอเมริกา และประเทศในเอเชียอาคเนย์ 
 
มาตรการบริหารของสมาคม ฯ ตั้งแต่เดิมมาคือการเคารพและจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ สร้างความสามัคคี และความสัมพันธ์อันดีงามกับสมาคมอื่น ๆ เพื่อตอบแทนสังคม เป้าหมายสำคัญ คือ การส่งเสริมให้เกิดความเจริญรุ่งโรจน์แก่วงการอุตสาหกรรมและธุรกิจการค้าของประเทศไทย พยายามเชื่อมสัมพันธไมตรีกับวงการการค้าและอุตสาหกรรมทั่วโลก ทางสมาคมฯ ทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ 
 
“ ซานโถเจียวกงโส่ ” (สมาคมซัวเท้ากาวกงซ่อ) คือชื่อเดิมของสมาคมวิเทศพาณิชย์ไทย-จีน ก่อตั้งเมื่อครั้งก่อนสมัย 
“ หมิงกั๋ว ” ประมาณ 50-60 ปี ปัจจุบันสมาคมฯ มีอายุประมาณหนึ่งร้อยปีเศษ
 
ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมีคนแต้จิ๋วเป็นจำนวนมากที่สุด บรรพบุรุษดำเนินกิจการนำเข้าส่งออกสินค้า ได้ส่งไปซัวเถาเป็นส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ของใช้ประจำวันหรือวัสดุก่อสร้าง ขนส่งทางน้ำโดยเรือสำเภา สินค้าที่ทางซัวเถาต้องการคือข้าวสาร ไม้สักและยางพารา โดยจะส่งออกจากท่าเรือที่กรุงเทพฯ ด้วยเหตุนี้

เพื่อเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือและช่วยเหลือกัน ระหว่างคนที่มีอาชีพเดียวกันและแลกเปลี่ยนข่าวสารทางการค้า จึงได้ก่อตั้งสมาคม “ซานโถเจียวกงโส่” (ซัวเท้ากาวกงซ่อ) ขึ้น ครั้งถึงสมัย “หมิงกั๋ว” ปีที่ 12 ( ค.ศ. 1923 ) การคมนาคมสะดวกกว่าเดิม เศรษฐกิจและการค้าของฮ่องกงและสิงคโปร์รุ่งเรืองกว่าเดิมมาก และทางกรุงเทพฯ ก็เช่นกัน

ซึ่งทั้งนี้คู่แข่งทางการค้าก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้นเพื่อปรับความเหมาะสม ให้เข้ากับยุคสมัย จึงได้สร้างความสัมพันธ์ทางการค้ากับฮ่องกงและสิงคโปร์เนื่องจากอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน และการคมนาคมสะดวกเพราะฉะนั้นการติดต่อทางการค้ากับฮ่องกงและสิงคโปร์ จึงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเหตุนี้จึงได้เปลี่ยนชื่อสมาคมจาก “ซานโถเจียวกงโส่” เป็น “เซียงลี่ซานกงโส่ “ (สมาคมเฮียงรักซัวกงโซ่ ) เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1925 สมัย“หมิงกั๋ว” ปีที่ 14 และชาวจีนโพ้นทะเลรุ่นเก่าที่กรุงเทพฯ ก็ได้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ ซานเจียวกงโส่ ” (สมาคมซานเจียว) 
 
สมัยนั้นสมาชิกของ “ เซียงลี่ซานกงโส่” (สมาคมเฮียงรักซัวกงโซ่ ) ครอบคลุมทั่วกรุงเทพ กิจการของสมาคมฯ รุ่งเรืองเป็นอย่างมาก สมาคมฯ มีบริษัทเดินเรือของตัวเอง เช่าเรือใหญ่หลายลำเพื่อขนส่งสินค้าของสมาชิก โดยเฉพาะ มีการขนส่งไปมาระหว่างซัวเถา ฮ่องกง และสิงคโปร์ สมัยนั้นเป็นช่วงที่ธุรกิจเจริญรุ่งเรืองที่สุด ประสบความสำเร็จทั้งในและต่างประเทศ
 
“ เซียงลี่ซานกงโส่” (สมาคมเฮียงรักซัวกงโซ่ ) ได้ดำเนินงานต่อมาอีก 40 ปี ครั้นเมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1966 
คุณอุงลิ้มจือ ขณะดำรงตำแหน่งนายกสมาคม ฯ ได้เปลี่ยนชื่อสมาคมเป็นสมาคมวิเทศพาณิชย์ไทย-จีน กรุงเทพ ฯ ต่อมาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1991 คุณโค้วม่งชุง ( คุณชุณห์ คชพัชรินทร์ ) ซึ่งดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมฯในขณะนั้น ก็ได้เปลี่ยนชื่อสมาคมอีกครั้ง โดยให้ใช้ชื่อว่า “สมาคมวิเทศพาณิชย์ไทย-จีน”
 
เมื่อสมัยที่ 15 ภายใต้การบริหารกิจการสมาคม ฯ โดยนายกกิตติมศักดิ์ตลอดชีพ คุณจึงเซี๊ยะฮ้ง 
( คุณประสิทธิ์ จิรพงษ์ธนาเวช ) คุณตั้งไผ่หยู ( คุณไพบูลย์ อานันทนะสุวงศ์ ) และนายกสมาคมฯ 
คุณเซียวเลียงติ่ ( คุณวรสิทธิ์ ตะล่อมสิน ) ขณะนั้นกิจการของสมาคมเจริญรุ่งโรจน์และก้าวหน้ามาก จึงได้ร่วมกันรวบรวมเงินทุนเพื่อจัดซื้อสถานที่ตั้งแห่งใหม่สำหรับสมาคม
 
ประวัติและการก่อตั้งสมาคม ฯ นั้นยาวนานและมีคุณค่า ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันสมาคม ฯ ทุ่มเทความพยายาม เพื่อผลักดันเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรือง ส่งเสริมและสนับสนุนสินค้าไทย โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นนโยบายของคณะกรรมการบริหารและนายกสมาคมฯ สมัยต่าง ๆ ซึ่งคนรุ่นต่อไปสมควรสานต่อเจตนารมณ์ และสร้างความเจริญให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
 
ที่ตั้ง เลขที่ 1249/143 อาคารชุดเจมส์ทาวเวอร์ ชั้น 16 ถ. เจริญกรุง เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทรศัพท์ 02-267-7662-4, 02-267-7670
โทรสาร 02-267-7671
อีเมล์ info@tcea.or.th
เว็บไซต์
ข้อมูล ณ วันที่ 5 มิถุนายน 2557
โหวต
ระดับความนิยม
ผลโหวตรวม 1 คะแนน
มีผู้เข้าชม 5,131 ครั้ง
มีผู้ขอข้อมูล 1 คน
หน่วยงาน ที่ไม่รับรอง
Contact Information  
ชื่อผู้ติดต่อ
 *
โทรศัพท์
 *
e-mail
 *
รายละเอียด
Location to Invest
*
ติดต่อหน่วยงาน
หน่วยงานสนับสนุนที่น่าสนใจ