1.2K
17 มีนาคม 2563
โพลหอการค้า เผยผลสำรวจ SME ยอมรับโควิด-19 กระทบธุรกิจ เล็งปลดคนงาน ชี้มาตรการภาครัฐยังช่วยเหลือไม่เพียงพอ
 
 
 
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ SMEs ต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) โดยเป็นการสำรวจผู้ประกอบการ 422 ตัวอย่าง ซึ่งประกอบธุรกิจการผลิต 24.1% ธุรกิจการค้า 40.8% และธุรกิจบริการ 35.1% ในระหว่างวันที่ 26-29 ก.พ.63 พบว่า
 
ผู้ประกอบการ SMEs ได้ระบุถึงสถานการณ์ธุรกิจในปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่ตอบว่า ยอดขาย, กำไร, สภาพคล่อง, การลงทุน-ขยายกิจการ และการจ้างงานลดลง ขณะที่ประเมินแนวโน้มในอีก 3 เดือนข้างหน้า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ต่างก็เชื่อว่ายอดขาย, สภาพคล่องของธุรกิจ, การลงทุน-ขยายกิจการ และการจ้างงานจะลดลงเช่นกัน
 
สำหรับผลกระทบจากการะแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อธุรกิจมีมากน้อยเพียงใดนั้น พบว่า ผู้ประกอบการรายเล็กส่วนใหญ่ 33.3% ตอบว่ากระทบในระดับปานกลาง รองลงมา 32% ตอบว่ากระทบมาก ส่วนผู้ประกอบการรายกลางส่วนใหญ่ 45.5% ตอบว่ากระทบในระดับปานกลาง รองลงมาก 29.3% ตอบว่ากระทบมากเช่นกัน
 
โดยมูลค่าความเสียหายของผู้ประกอบการรายเล็ก เฉลี่ย 141,663 บาท/ราย ส่วนมูลค่าความเสียหายของผู้ประกอบการรายกลาง เฉลี่ย 1,046,829 บาท/ราย คิดเป็นมูลค่าความเสียหายโดยรวมเฉลี่ย 484,847 บาท/ราย ทั้งนี้ การระบาดของไวรัสโควิด-19 พบว่า ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ SMEs ภาคการผลิต 604,878 บาท/ราย, ภาคการค้า 308,849 บาท/ราย และภาคบริการ 584,847 บาท/ราย พร้อมกันนี้ ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ส่วนใหญ่ต่างตอบว่ามีโอกาสที่จะปรับลดจำนวนแรงงานลง ทั้งในภาคการผลิต, การค้า และภาคบริการ
 
สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาหรือการปรับตัวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ใน 5 อันดับที่สำคัญของผู้ประกอบการ SMEs คือ
  1. รักษาความสะอาด ล้างมือบ่อยๆ ใช้เจลล้างมือฆ่าเชื้อโรค
  2. จัดโปรโมชั่น/ส่วนลด เพื่อเพิ่มยอดขาย
  3. มีการกักตุนวัตถุดิบในธุรกิจเพื่ออนาคต
  4. ติดเครื่องฟอกอากาศ และ
  5. มีเครื่องมือในการตรวจสุขภาพไว้ที่กิจการ
อย่างไรก็ดี สำหรับความเห็นของผู้ประกอบการต่อมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐนั้น ส่วนใหญ่ 72.5% ตอบว่าไม่เพียงพอ ขณะที่ 27.5% ตอบว่าเพียงพอ โดยเหตุผลที่มองว่ามาตรการของรัฐไม่เพียงพอนั้น
  • อันดับ 1 มองว่าไม่มีแนวทางชัดเจนในการช่วยเหลือ/ส่งเสริม/แก้ปัญหาในด้านต่างๆ
  • อันดับ 2 ระดับราคาต้นทุนที่ยังทรงตัวในระดับสูง
  • อันดับ 3 การกระจายไม่ทั่วถึง
  • อันดับ 4 ไม่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง
  • อันดับ 5 ไม่มีข้อมูลที่ภาครัฐประชาสัมพันธ์ในการช่วยเหลือ และ
  • อันดับ 6 แหล่งเงินทุนไม่เพียงพอ ธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อ
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเห็นว่าสิ่งที่รัฐบาลควรออกเป็นมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือธุรกิจ SMEs ในปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อได้ คือ
  1. ส่งเสริมด้านสภาพคล่อง สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ปล่อยกู้ให้ง่ายขึ้น
  2. ลดการจัดเก็บภาษี
  3. กระตุ้นการใช้จ่าย สร้างความมั่นใจให้ประชาชน
  4. ช่วยพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด
  5. กระตุ้น/ฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ดีขึ้น
  6. ควบคุมต้นทุนราคาสินค้า
  7. ตั้งศูนย์ช่วยเหลือตามจุดต่าง ๆ และ
  8. จัดโปรโมท/กระตุ้นการท่องเที่ยว
อ้างอิงจาก : RYT9.com
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,096
PLAY Q by CST bright u..
1,311
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
945
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
941
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
790
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
769
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด