1.3K
25 กุมภาพันธ์ 2563
ปลดล็อคเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ที่จะเข้ามาเปลี่ยนโลกแห่งอนาคต!! คูโดส จับมือ Super Sensing Forum เผยนวัตกรรม “Super Regenerator” ส่งตรงจากงาน CES 2020 เดินหน้ามุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยแบบยั่งยืน
 

ปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของทุกคนและทุกภาคส่วน ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้เองล้วนต้องใช้พลังงานในการขับเคลื่อนและนับวันยิ่งมีความต้องการสูงขึ้นตามจำนวนประชากรที่เติบโตขึ้นในทุกปี จนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากมายจากการเสาะแสวงหาแหล่งพลังงาน

รวมถึงความต้องการใช้ทรัพยากรเพื่อจัดการกับปัจจัยพื้นฐานในการใช้ชีวิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสวนทางกับจำนวนทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ส่งผลต่อระบบนิเวศของโลกจนเกิดวิกฤติด้านทรัพยากรโลกขึ้นมากมาย

อาทิเช่น ปัญหามลพิษทางอากาศ, ไฟป่า, น้ำท่วม, ภัยแล้ง ฯลฯ ซึ่งเป็นปัญหาสะสมมาอย่างยาวนาน และมีทีท่าว่าจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในทุกปี ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการคิดค้นหาทางออกที่จะมาช่วยตอบโจทย์การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด กับเทคโนโลยี  “เซ็นเซอร์”  นวัตกรรมที่ผสมผสานองค์ประกอบของดีไซน์และเทคโนโลยี ทำให้เกิดพลังงานทางเลือกใหม่ที่มีความยั่งยืน หรือที่เรียกว่า “แหล่งพลังงานแห่งอนาคต” 
 
ในครั้งนี้ คูโดส ผู้นำธุรกิจอุปกรณ์ในห้องน้ำห้องครัว และดิจิตอลล็อคคุณภาพสูง ได้ร่วมมือกับ Super Sensing Forum, Asahi Kasei บริษัทผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ Sensor จากประเทศญี่ปุ่น และ CEA สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ร่วมจัดงานโชว์เทคโนโลยีล้ำสมัย “KUDOS Super Sensing Returns” ในงาน Bangkok Design Week 2020 ในรูปแบบเสวนาภายใต้หัวข้อ “REGENERATING GOOD : Making Our Planet A Better Place” โดย มร. ซาโตชิ นาคากาว่า และผู้เชี่ยวชาญในวงการออกแบบ และสถาปัตยกรรมสมัยใหม่แถวหน้าของโลก

อาทิ มร. ทัคเกอร์ ฟีมายสเตอร์, มร. อังเดร เฟลิเซียโน, มร. อิริค สคูลเดนฟราย, มิส มาริสา ยู และ มร. ฟอเรสต์ เม็กเกอร์ ร่วมกันแบ่งปันผลงานเทคโนโลยีที่ผสมผสานงานออกแบบ เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนตระหนักถึงผลกระทบของการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง สู่การนำนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด “Regenerative Good” ที่จะขจัดทุกข้อจำกัดของการผลิตพลังงานที่อยู่รอบตัว และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นในดิน, น้ำ, อากาศ, ขยะ หรือแม้กระทั่งในอาหารอย่าง “ขนมปัง” ผ่านการจัดแสดงนิทรรศการโชว์เทคโนโลยีสุดล้ำ

ภายใต้คอนเซ็ปต์ “REGENERATING GOOD PROJECT - E!ROOM” ซึ่งถูกจัดแสดงมาแล้วทั้งในประเทศญี่ปุ่น และในมหกรรมงานแสดงผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์ (CES2020) ลาสเวกัส
 

“นวัตกรรมที่นำมาจัดแสดงในงานครั้งนี้ คือเทคโนโลยี Super Regenerator ภายใต้แนวคิด Super Sensing ที่พัฒนาต่อยอดจากการสร้างกระแสไฟฟ้าระดับ Micro Energy จากแบคทีเรียในดิน จนประสบความสำเร็จในการสร้างกระแสไฟฟ้าจากธรรมชาติรอบตัวเราอย่างไร้ข้อจำกัด ไม่แม้กระทั่งจากสิ่งมีชีวิต ก็สามารถสร้างได้” มร. ซาโตชิ นาคากาว่า ผู้ก่อตั้ง Super Sensing Forum กล่าว  "ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะสามารถนำมาใช้สร้างแสงสว่างในยามฉุกเฉิน หรือภัยพิบัติต่างๆ หรือในพื้นที่ทุรกันดารที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ และสามารถประยุกต์ในการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม และลดการใช้ทรัพยกรธรรมชาติให้มากที่สุด"
 

สำหรับในงานครั้งนี้ มีการจัดแสดงตัวอย่างพลังงานจากสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็น พลังงานไฟฟ้าจากอาหาร, พลังงานไฟฟ้าจากน้ำ และเสียงที่เกิดจากการขับเคลื่อนการทำงานของมอเตอร์ ส่งผลให้วัตถุสั่นสะเทือนจนเกิดเป็นเสียง ด้วยแผงวงจรเพิ่มแรงดันที่ช่วยให้สามารถเพิ่มพลังงานไฟฟ้าจากระดับ 1 ไมโครวัตต์ (µW) มาเป็นระดับ 4-5 โวลต์ (Volts)

ซึ่งเพียงพอสำหรับนำมาใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กและเซ็นเซอร์ต่างๆ และหลังจากการทดลองอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ล่าสุด “Sensorless Sensor” ขั้นกว่าของการพัฒนาเซ็นเซอร์ในปัจจุบัน ที่สามารถแสดงให้เห็นถึงแหล่งที่มาของพลังงานต่างๆ อีกด้วย

เช่น แหล่งพลังงานที่ได้จากดินที่มีจุลินทรีย์จำนวนมาก ส่งผลให้การกระพริบของหลอดไฟ LED มีความถี่กว่าแหล่งพลังงานที่ได้จากดินที่มีจุลินทรีย์จำนวนน้อยกว่า เป็นต้น เพื่อสะท้อนสิ่งที่ธรรมชาติต้องการสื่อสารออกมา ซึ่งจะกลายเป็นแนวทางสำคัญที่จะทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

 
“เทคโนโลยี Super Sensing เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่จะเข้ามาขับเคลื่อนเทคโนโลยี IoT ทำให้เราสามารถออกแบบนวัตกรรมใหม่ได้ด้วยเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ ที่สร้างสรรค์สินค้าหรือบริการที่ไม่เคยมีมาก่อนได้ โดยเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ที่ทันสมัยเหล่านี้ จะสามารถช่วยต่อยอดสู่การคิดค้นใหม่ๆ ในการสร้าง New Winning Product ที่รวมองค์ประกอบทั้งเทคโนโลยีและการออกแบบ ที่จะตอบรับเทรนด์การใช้ชีวิตในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง และช่วยพัฒนาโลกเราให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น” คุณสันติ ศรีวิชาญกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซี.ไอ.ที. จำกัด (แบรนด์คูโดส) กล่าว

นอกเหนือจากนั้นเทคโนโลยี Super Sensing เปรียบเสมือนเครื่องมือในการออกแบบอนาคตที่ช่วยพลิกโฉมหลายๆ อุตสาหกรรม และยังเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยนำพาโอกาสทางธุรกิจ จนทำให้เป็น Game Changer ที่ปลดล็อคแนวคิดการออกแบบเพื่อความมั่นคงของประเทศ,  สร้างความปลอดภัยให้ชุมชน, การส่งข้อมูลต่างๆ จากภูมิประเทศที่ไม่มีไฟฟ้า รวมถึงการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ เป็นต้น ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญที่ต้องถูกนำไปพัฒนาต่อในอนาคต เพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่ช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ที่ใช้งานได้อย่างแท้จริง
 
เกี่ยวกับ บริษัท ซี.ไอ.ที. จำกัด
 
บริษัท ซี.ไอ.ที. จำกัด หนึ่งในบริษัทผู้นำด้านอุปกรณ์ในห้องน้ำ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และเฟอร์นิเจอร์ในประเทศไทย ดำเนินกิจการผลิต นำเข้า และจัดจำหน่ายสินค้ากลุ่มห้องน้ำห้องครัว ดิจิตอลล็อค อุปกรณ์การเกษตร เครื่องมือช่าง และแร่วัตถุดิบสังกะสี โดยมีแบรนด์ภายใต้การดูแลได้แก่ คูโดส (KUDOS) อิกลูโฮม (Igloohome), อัลฟ่า ล็อค (Alpha Lock) และ ซาโบเตน (Saboten)  ผ่านช่องทางการจัดจำหน่าย เช่น โฮมโปร, บุญถาวร และร้านค้าชั้นนำกว่า 1,000 แห่งทั่วประเทศไทยและกลุ่มประเทศ AEC บริษัท ซี.ไอ.ที. จำกัด มุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับคนไทย
 
เกี่ยวกับแบรนด์คูโดส 

KUDOS (คูโดส) เปิดตัวในประเทศไทยเมื่อปี 2554 ในฐานะแบรนด์ทางเลือกสำหรับอุปกรณ์ในห้องน้ำคุณภาพสูง ที่คูโดสเรามีแนวคิดว่า ห้องน้ำไม่ใช่แค่ห้องสำหรับทำความสะอาดชำระร่างกายเท่านั้น แต่เป็นพื้นที่ชีวิตส่วนตัวที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจได้เช่นกัน จากการศึกษาหาความคิดสร้างสรรค์จากทั่วโลก คูโดสได้รวบรวมความงามและนวัตกรรมที่จะทำให้ห้องน้ำสมบูรณ์แบบ รวมถึงขยายผลิตภัณฑ์ไปสู่ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีดิจิตอล (Digital Innovation) เช่น Smart & Digital Door Lock เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่อย่างแท้จริง

ดูรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมที่ : www.facebook.com/kudosthailand
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
5,585
PLAY Q by CST bright u..
1,216
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
940
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
931
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
784
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
757
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด