3.7K
12 กรกฎาคม 2552

เร่งสร้างในยามซบ กลยุทธ์บุกไปเรื่อยของร้าน 'เต่าเขียว' 


เศรษฐกิจกรอบแกรบแบบนี้ ทำให้ผู้ประกอบการจำนวนมากงดหรือชะลอการลงทุนเอาไว้ก่อน เพื่อขอเก็บเงินเอาไว้รักษาสภาพคล่องให้กับธุรกิจ แต่หลายรายก็กลับคิดว่า จังหวะนี้ต่างหากที่สมควรเดินหน้าลงทุนต่อไปเพื่อที่ว่าเมื่อสถานการณ์ซึมเซาเริ่มคลี่คลาย ผู้บริโภคเริ่มใช้จ่ายมากขึ้น กิจกรรมต่างๆ ที่บริษัทดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องแม้ในยามเศรษฐกิจซบ ก็จะส่งผลให้ธุรกิจวิ่งฉิวได้ทันทีเหมือนว่าวได้ลมส่ง ขณะที่คู่แข่งเพิ่งจะตะกุกตะกักเริ่มต้นลงทุนทำกิจกรรมการตลาดหรือขยายกำลังการผลิต ซึ่งทำให้เสียโอกาสไปได้เหมือนกัน


เดอะ กรีน เทอร์เทิ้ล สปอร์ตส์ บาร์ แอนด์ กริลล์ (The Greene Turtle Sports Bar & Grille) เป็นเชนร้านอาหารสัญชาติอเมริกันรายหนึ่งซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มหลัง นายไมเคิล แซนฟอร์ด ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเดอะ กรีน เทอร์เทิ้ล ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 22 สาขาและในจำนวนนี้เป็นร้านที่บริษัทลงทุนดำเนินการเอง 9 สาขา (นอกนั้นเป็นร้านของผู้ซื้อแฟรนไชส์) เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนขยายจำนวนร้านเพิ่มขึ้นเป็น 150 สาขาภายในเวลา 5 ปีนับจากนี้

เนื่องจากมองเห็นว่าเป็นโอกาสที่ดี และที่สำคัญคือ ยอดขายในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ยังมีการขยายตัวที่อัตรา 2.5% ซึ่งเป็นผลของการวางแผนปูรากฐานสร้างการเติบโตมาตลอดช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่บริษัทใช้สร้างแบรนด์ วางนโยบาย และโครงสร้างธุรกิจให้แข็งแรงก่อนที่จะเร่งสร้างสาขาในปีนี้ "ผมมีแนวคิดให้ร้านของเราเป็นสถานที่ใกล้บ้านที่ให้บรรยากาศสบายๆ และเป็นกันเอง เป็นสถานที่ที่คุณจะมา เวลานึกไม่ออกว่าจะไปไหนกันดี เป็นที่ที่พวกคุณอยากนัดพบกันแล้วก็นั่งอยู่ในนั้นนานๆ ไม่อยากจะไปต่อที่ไหนอีก"
 


เดอะ กรีน เทอร์เทิ้ล เป็นร้านอาหารที่เปิดพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นบาร์สำหรับจิบเครื่องดื่ม มีโต๊ะอาหารที่มีจอโทรทัศน์ให้นั่งดูกีฬาเพลินๆ ทุกโต๊ะ ส่วนผู้ที่นั่งเคาน์เตอร์ก็ยังมีทีวีจอแบนขนาดใหญ่ติดอยู่บนผนังเอาไว้ให้ชมกัน ลูกค้าเป้าหมายของร้านคือผู้ที่มีอายุระหว่าง 25-40 ปี เป็นผู้ที่เริ่มซื้อบ้านหลังแรกเป็นของตัวเอง เป็นวัยเริ่มสร้างครอบครัว" แซน


ฟอร์ดกล่าวว่า ช่วงเวลาที่มีลูกค้าเข้าใช้บริการมากที่สุดเป็นช่วงเย็นหลังเลิกงานจนถึงค่ำ ประมาณ 40% ของยอดขายมาจากเครื่องดื่มประเภทที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งสามารถทำกำไรได้ดีกว่าอาหาร
 


เมื่อพูดถึงเรื่องการทำกำไร ผู้บริหารของที่นี่ยอมรับว่ามันเป็นเรื่องที่ต้องขบคิดให้ลงตัวตั้งแต่เริ่มคิดเมนูอาหารกันเลยทีเดียว ทางร้านมีโรงงานและซัพพลายเออร์ที่เป็นคู่ค้าซึ่งจะมีการสั่งซื้ออย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุด "เราจะขีดฆ่าสินค้าที่ขายออกช้าหรือที่ไม่ค่อยทำกำไรออกไป ฉะนั้นรายการอาหารในเมนูอาจมีไม่มาก แต่เราจะมีอาหารใหม่ๆ มานำเสนออยู่เรื่อยๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการดัดแปลงมาจากเมนูเดิมที่เคยมี แต่ปรับเปลี่ยนเครื่องเคียง (อาหารที่เสิร์ฟมาเพื่อรับประทานคู่กัน) หรือหน้าอาหาร (ท็อปปิ้ง) วิธีการนี้เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มในสายตาลูกค้า ส่วนแฟรนไชซี (ผู้ซื้อแฟรนไชส์) ของเรา ก็สามารถทำกำไรเพิ่มขึ้น" แซนฟอร์ดเปิดเผยว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ลูกค้าสั่งอาหาร(รวมเครื่องดื่ม) คิดเป็นมูลค่าหัวละ 20 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 680 บาทโดยประมาณ ส่วนเมนูหลักของทางร้านนั้นประกอบด้วยอาหารจานด่วนในปริมาณที่สามารถแบ่งกันรับประทานได้ เช่น เบอร์เกอร์ แซนด์วิช ปีกไก่ อาหารเม็กซิกัน ซุป สลัด เป็นต้น

 
ภายในปีนี้ เดอะ กรีน เทอร์เทิ้ล จะเปิดร้านสาขาใหม่อีก 6-7 สาขา และจากนั้นจะเปิดสาขาใหม่เดือนละ 1 สาขาเริ่มตั้งแต่ปีหน้า(2553) เป็นต้นไป โดยบริษัทมีเป้าหมายว่า จะลงทุนและดำเนินการเอง 1 สาขาต่อร้านของแฟรนไชซีทุกๆ 7-10 สาขา แม้ว่าบริษัทจะไม่ได้ช่วยสนับสนุนทางด้านการเงินหรือการหาแหล่งเงินกู้ให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ แต่ก็จะช่วยในเรื่องการหาทำเลเปิดสาขา

ทั้งนี้เดอะ กรีน เทอร์เทิ้ล เป็นเชนร้านฟาสต์ฟูดที่ไม่มีแบบบังคับเกี่ยวกับการออกแบบหรือหน้าตาของร้าน จึงเป็นการยืดหยุ่นสำหรับแฟรนไชซีในการเลือกอาคาร สถานที่ รวมทั้งขนาดของร้าน อย่างไรก็ตาม ขนาดที่เหมาะสมนั้นคือพื้นที่ระหว่าง 6,000 - 8,000 ตารางฟุต ปีที่ผ่านมา เดอะ กรีน เทอร์เทิ้ล ทำยอดขายประมาณ 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 1,530 ล้านบาทจากร้านสาขาทั้ง 22 แห่ง  


อ้างอิงจาก ฐานเศรษฐกิจ

 

ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,086
PLAY Q by CST bright u..
1,311
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
945
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
941
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
790
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
769
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด