12K
29 มิถุนายน 2552

สั่งสอบห้างยักษ์ดัมพ์ราคา โชห่วยเรียงคิวเจ๊งทะลุหมื่น

 

 

  "กรมการค้าภายใน"  สอบห้างยักษ์ดัมพ์ราคา  หลังโชห่วยร้องเรียนหนัก  ระบุผิดจริงจำคุก  3  ปี  ปรับ  6  ล้าน  ด้าน  สสว.เผยร้านค้าปลีกไทยแห่ปิดกิจการเดือนละ  2,500  ราย  เล็งทั้งปีตายเกือบ  3  หมื่น  เซเว่นฯ  เพิ่มมาตรการขายแฟรนไชส์  เจอบางรายทำไม่จริงจนต้องปิด

     นายยรรยง  พวงราช  อธิบดีกรมการค้าภายใน  กระทรวงพาณิชย์  เปิดเผยว่า  กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยเข้ามาดูแลผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อยในแต่ละพื้นที่มากขึ้น  พร้อมตรวจสอบการกระทำของห้างค้าปลีกรายใหญ่  เนื่องจากมีผู้ประกอบการโชห่วยร้องเรียนอย่างต่อเนื่องประมาณ  100  ราย  ถึงความไม่เป็นธรรมด้านการแข่งขันทางการค้าของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ในการลดราคาสินค้าต่ำกว่าทุน  นอกจากนี้มีแผนตรวจสอบสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ของห้างค้าปลีกรายใหญ่เข้าข่ายการขายสินค้าต่ำกว่าทุนและเอาเปรียบซัพพลายเออร์หรือไม่  เพราะผู้ประกอบการห้างค้าปลีกจ้างซัพพลายเออร์ผลิตสินค้าติดแบรนด์ของห้างค้าปลีกนั้นๆ  เพิ่มขึ้น  หากเข้าข่ายผิด  พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า  มีบทลงโทษ  คือ  จำคุก  3  ปี  ปรับ  6  ล้านบาท

     นายภักดิ์  ทองส้ม  รักษาการผู้อำนวยการผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  (สสว.)  กล่าวว่า  ขณะนี้ร้านค้าปลีกที่จดและไม่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ปิดกิจการเฉลี่ยเดือนละ  2,000-2,500  ราย  หรือเกือบ  3  หมื่นรายตลอดปี  เพราะประสบปัญหาดำเนินธุรกิจอย่างมากจากการขยายตัวของค้าปลีกขนาดใหญ่และวิกฤติเศรษฐกิจโลก  เนื่องจากไม่สามารถลดราคาให้ต่ำใกล้เคียงรายใหญ่  เพื่อดึงดูดผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ต้องการสินค้าราคาถูก  ซึ่งภาครัฐจำเป็นต้องช่วยเหลือร้านค้าปลีก  7-8  แสนรายให้อยู่รอดในภาวะแข่งขันรุนแรง

     ทั้งนี้  ธุรกิจค้าปลีกของคนไทยส่วนใหญ่ทำธุรกิจแบบตั้งรับ  ไม่สามารถใช้นโยบายเชิงรุกต่อสู้กับคู่แข่งรายใหญ่หรือทุนต่างชาติได้  เบื้องต้นภาครัฐจะส่งเสริมการลดต้นทุนการขนส่งและสินค้า  ขณะเดียวกันร้านค้าเองต้องปรับปรุงมาตรฐานสินค้า  โดยไม่จำหน่ายสินค้าหมดอายุและเพิ่มบริการให้พอใจของผู้บริโภค  เช่น  การส่งสินค้าถึงบ้านลูกค้า

     "ภาครัฐเร่งพัฒนาเอสเอ็มอีเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนในปี  58  หากไม่พร้อมจะเสียเปรียบทันที  โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกรายเล็กต้องแข่งขันกันมากขึ้น  ตรงนี้  สสว.ได้ให้ความรู้การบริหารจัดการหลายด้าน  เช่น  ปรับปรุงธุรกิจให้ทันสมัย  ใช้ระบบไอที  หากไม่พัฒนาคงลำบาก"  นายภักดิ์กล่าว
 


 

     ด้านนายสุวิทย์   กิ่งแก้ว   รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส  บริษัท  ซีพี  ออลล์  จำกัด  (มหาชน)  ผู้บริหารร้านเซเว่นอีเลฟเว่น  กล่าวว่า  บริษัทได้เพิ่มความเข้มงวดในการขายแฟรนไชส์เนื่องจากบางแห่งไม่ประสบความสำเร็จ  ผู้ซื้อแฟรนไชส์ส่วนใหญ่เป็นอินเวสเตอร์เน้นการลงทุนแต่ไม่เน้นการเข้ามาบริหารงาน ส่งผลให้เกิดปัญหาภายในร้าน  เช่น  ลูกน้องหยิบเงินไปใช้  

โดยกำหนดหลักเกณฑ์  2  ข้อ  คือ 

  1. ผู้ขอแฟรนไชส์ต้องเข้ามาเป็นผู้ประกอบการจริง 
  2. ต้องประกอบธุรกิจของร้านเซเว่นอีเลฟเว่นอย่างเดียวไม่ทำอาชีพอื่น  เพื่อการบริหารร้านที่มีประสิทธิภาพ 
นอกจากนี้เปิดโอกาสให้ผู้สนใจที่ไม่มีพื้นที่สามารถซื้อร้านเซเว่นฯ  ที่เปิดให้บริการแล้ว  งบลงทุน  1.5  ล้านบาท  และคืนทุนภายใน  2  ปี

     ปัจจุบัน   บริษัทขยายร้านเซเว่นฯ   5,000  สาขา  คาดขยายครบ  5,200  สาขา  ภายในสิ้นปี   ซึ่งสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลให้มีผู้สนใจร่วมธุรกิจกับร้านเซเว่นฯ   มากขึ้น  โดยเฉพาะกลุ่มเกษียณอายุและกลุ่มคนถูกเลิกจ้าง

 
อ้างอิงจาก ไทยโพสต์
 

ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
alls BUBBLE TEA แฟรนไช..
1,116
ยู้ฮู หวานเย็นเปิดสาขา..
1,002
รสเด็ดก๋วยเตี๋ยวกระทุ่..
911
สัมมนาลงทุน แฟรนไชส์คุ..
749
ยินดีต้อนรับ “ครอบครัว..
672
DOCTOR COSMETICS ACADE..
598
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด