4.6K
2 มิถุนายน 2552

รุก B2B รุ่น 11- Coaching รุ่น 2 'กรมพัฒน์' เติมความรู้ สู้เศรษฐกิจ 
 
 

 

 
ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกนั้น ยากต่อการคาดเดาถึงอนาคตอันใกล้กับกลไกการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ในภาคธุรกิจความรู้จากการสั่งสมประสบการณ์ของผู้ประกอบการดูจะเป็นวิธีการที่เยียวยาให้ปัญหาคลี่คลายไปได้ในระดับหนึ่ง บวกกับการเติมเต็มความรู้ใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ก้าวทันกับกาเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

       
       กรมพัฒน์เดินหน้า B2B รุ่น 11 ดัน Coaching รุ่น 2 สู่สากล
       
       กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ฟันเฟืองหนึ่งของหน่วยงานรัฐในการสนับสนุนความรู้การบริหารจัดการธุรกิจด้วยกลยุทธ์แฟรนไชส์ ยังคงทำหน้าที่ในการอบรมผู้ประกอบการที่มีความสนใจดำเนินธุรกิจด้วยกลยุทธ์แฟรนไชส์อย่างต่อเนื่อง โดยการจัดอบรมให้ความรู้ภายใต้โครงการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์สู่ระบบมาตรฐานสากล (Franchise B2B) เข้าสู่รุ่นที่ 11
      
       และการผลักดันผู้ประกอบการที่ผ่านโครงการอบรมในเบื้องต้น ให้มีความพร้อมโชว์ศักยภาพดังกล่าวสู่ตลาดต่างประเทศ ภายใต้โครงการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์สู่ระบบมาตรฐานสากล โครงการพัฒนารูปแบบระบบแฟรนไชส์ที่ดีโดยที่ปรึกษาดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำ (Coaching) ในรุ่นที่ 2
       
       คณิสรณ์ นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ภายในประเทศกว่าครึ่งหนึ่งเป็นธุรกิจของคนไทยที่ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และมีผู้ประกอบการขนาดกลางขนาดย่อมอีกจำนวนมากที่ต้องการพัฒนาธุรกิจด้วยกลยุทธ์แฟรนไชส์ ประกอบกับการรับรู้การบริหารจัดการแฟรนไชส์นั้นมีความรู้และความเข้าใจมากขึ้นและกว้างขวางขึ้น
      
       ด้วยบทบาทและหน้าที่ของกรมพัฒนาธุรกิจส่วนหนึ่งนั้นยังคงให้การสนับสนุนและพัฒนาความรู้ในระบบแฟรนไชส์ และในปีนี้ที่ได้ดำเนินโครงการ B2B รุ่นที่ 11 และโครงการ Coaching รุ่นที่ 2 ได้เลือกให้ศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (IRF) ดำเนินการการฝึกอบรม
      
       ด้านพีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ให้ข้อมูลว่า โครงการ B2B รุ่นที่ 11 นั้นจะจัดอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2552 นี้ เป็นการอบรมความรู้เบื้องต้นในการทำธุรกิจ จนถึงการวางแผนกลยุทธ์และบริหารแฟรนไชส์ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าจำนวนผู้ประกอบการแฟรนไชส์กว่า 300 รายที่ผ่านการอบรมได้นำความรู้ไปพัฒนาธุรกิจของตนเป็นจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้ในโครงการ B2B รุ่น 11 ยังเปิดรับผู้ประกอบการธุรกิจที่สนใจในระบบแฟรนไชส์
 

       
       เลือก IRF ปั้นฝันแฟรนไชส์ เผยกิจการ Coaching เชิงลึก
       
       ขณะที่โครงการพัฒนารูปแบบระบบแฟรนไชส์ที่ดีโดยที่ปรึกษาดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำ (Coaching) ในรุ่นที่ 2 ได้ทำการคัดเลือกโดยศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล ได้ดำเนินการสัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครเข้าร่วมโครงการเสร็จสิ้นแล้ว จากผู้สมัครจำนวน 35 กิจการ แบ่งเป็นกิจการที่เคยเข้าร่วมโครงการฯ ปี 51 ในกลุ่มทั่วไป จำนวน 7 กิจการ และกิจการที่ไม่เคยเข้าร่วมโครงการฯ ปี 51 จำนวน 28 กิจการ มีผู้ผ่านการคัดเลือกจำนวน 23 กิจการ ไม่ผ่านการคัดเลือก 4 กิจการ และขอสละสิทธิ์การสัมภาษณ์ จำนวน 7 กิจการ
      
       กิจการที่ผ่านการคัดเลือก 23 กิจการ แบ่งเป็นกลุ่มเชิงลึก 5 กิจการ และกลุ่มทั่วไป 18 กิจการ
       
       สำหรับกลุ่มเชิงลึกจำนวน 5 กิจการประกอบด้วย

  1. คาเฟ่ เดอ ไอยรา (Caf? de Iyara)
  2. เดอะ วาฟเฟิล (The Waffle)
  3. ฟัน อิงลิช (Fun English)
  4. วินเซ็นต์ เซ็นเตอร์ เซอร์วิส (Win-Sent Center Service)
  5. ยูเนี่ยน พลัส (Union Plus)

       
       และกลุ่มทั่วไปจำนวน 18 กิจการ ได้แก่

  1. 94 คอฟฟี่ (94 Coffee)
  2. 96 ปีนัง
  3. โกซันข้าวมันไก่
  4. คอฟฟี่ ทูเดย์ (Coffee Today)
  5. โจ๊กบางกอก
  6. ชิบูย่า (Shibuya)
  7. เชฟโจว
  8. ดับเบิ้ล เอ ก๊อบปี้ เซ็นเตอร์ (Double A Copy Center)
  9. ดีส (Dees)
  10. ทรู คอฟฟี่ (True Coffee)
  11. ไทย ดีมาร์ท
  12. โนบอดี้ (Nobody)
  13. เบลลา พิซซ่า
  14. พีดี เฮ้าส์ (PD House)
  15. แมท เฮ้าส์ (Math House)
  16. อาร์ทิสเซ็นต์ (Artiscent)
  17. อีทูดี้ (ETude)
  18. เอพีไอ เน็ท (API Net)

      
       สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกของกลุ่มทั่วไปนั้น พีระพงษ์ บอกว่า ต้องเป็นกิจการที่เคยร่วมโครงการ B2B รุ่น 1-9 แฟรนไชส์อินเตอร์หรือแฟรนไชส์ไทยสู่แฟรนไชส์โลก และไม่เคยเข้าร่วมโครงการโครงการ Coaching มาก่อน มีเป้าหมายและแผนการขยายธุรกิจที่ชัดเจนสามารถนำเสนอแผนได้และมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบการขยายแฟรนไชส์โดยเฉพาะ
      
       ส่วนเกณฑ์ของกิจการที่ผ่านการคัดเลือกกลุ่มเชิงลึกนั้น ต้องเป็นกิจการที่เคยร่วมโครงการ B2B รุ่น 1-9 แฟรนไชส์อินเตอร์หรือแฟรนไชส์ไทยสู่แฟรนไชส์โลก และไม่เคยเข้าร่วมโครงการ Coaching มาก่อน มีเป้าหมายและแผนการขยายธุรกิจที่ชัดเจนสามารถนำเสนอแผนได้ ทำธุรกิจไม่ต่ำกว่า 3 ปีมีสาขาไม่ต่ำกว่า 3 สาขา มีหน่วยงาน พนักงานที่รับผิดชอบเฉพาะด้านการวางแผนขยายสาขาและมีความพร้อมขยายธุรกิจสู่ต่างประเทศภายใน 1-3 ปี
 

       
       5 กิจการกลุ่มเชิงลึกลับคม ตั้งเป้าขยายตลาดต่างประเทศ
       
       ทั้งนี้ พีระพงษ์ ได้บอกถึงความน่าสนใจของกิจการในกลุ่มเชิงลึกเพื่อพัฒนาต่อไปในอนาคต โดยระบุถึงจุดที่ต้องนำมาพัฒนาต่อ สำหรับ คาเฟ่ เดอ ไอยรา มีศักยภาพและความพร้อม เน้นการวางระบบงานให้รัดกุมชัดเจนก่อนการขยายสู่ต่างประเทศ และเคยเข้าร่วมโครงการ Coaching กลุ่มทั่วไป เมื่อปี 2551 เดอะ วาฟเฟิล มีศักยภาพและความพร้อม เน้นการวางรูปแบบธุรกิจให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบ
      
       ฟัน อิงลิช มีศักยภาพ ยังขาดความพร้อมด้านทีมงานและการตลาดแฟรนไชส์ เน้นการวางระบบงานให้รัดกุมและแก้ไขปัญหาปัจจุบัน วินเซ็นต์ เซ็นเตอร์ เซอร์วิส มีศักยภาพและความพร้อม เน้นการวางระบบงานให้รัดกุมและแก้ไขปัญหาปัจจุบัน เคยเข้าร่วมโครงการ Coaching กลุ่มทั่วไป เมื่อปี 2551 ยูเนี่ยน พลัส มีศักยภาพและความ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เน้นการสร้างคู่มือปฏิบัติงาน เคยเข้าร่วมโครงการ Coaching กลุ่มทั่วไป เมื่อปี 2551
      
       และสำหรับกิจกรรมของการให้คำปรึกษาในโครงการนั้น จะเป็นกิจกรรมประจำเดือนของกลุ่มทั่วไปและกลุ่มเชิงลึก จัดประชุมเดือนละ 1 ครั้งเป็นเวลา 4 เดือน เพื่อร่วมพิจารณาแก้ไขปํญหาของผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละราย โดยจัด Coaching Session เรียนรู้เชิงปฏิบัติการ อบรมเนื้อหาธุรกิจแฟรนไชส์ ให้คำปรึกษาทั่วไปและทำ Work Shop โดยให้ Case Study วิเคราะห์บทความ Group Discussion และ Presentation
      
       ให้คำปรึกษาแบบเฉพาะเจาะจง โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย ตามระดับการพัฒนาของธุรกิจแฟรนไชส์ และเวิร์กชอปให้ เพิ่มเติมกลุ่มละ 2 ครั้งรวม 6 ครั้ง กลุ่ม 1 กลุ่มที่อยู่ในช่วงการพัฒนาแนวคิดธุรกิจ กลุ่ม 2 กลุ่มที่อยู่ในช่วงการบริหารร้านต้นแบบและพัฒนาการบริหารสาขา กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่อยู่ในช่วงการขยายธุรกิจขยายธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศและเตรียมความพร้อมสู่ต่างประเทศ

       
       อย่างไรก็ตามสำหรับหลักสูตรผู้ประกอบการนั้น นอกจากการให้ความรู้ในเรื่องของการบริหารจัดการธุรกิจในระบบแฟรนไชส์แล้ว ยังเติมเต็มความรู้ต่อมุมมองต่างๆ ในการทำธุรกิจด้วย เพราะการบริหารธุรกิจในระบบแฟรนไชส์นั้นไม่ใช่การใช้หลักบริหารเพียงอย่างเดียว รวมถึงสถานการณ์เศรษฐกิจต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย

 
 
 
 


 


 อ้างอิงจาก ผู้จัดการออนไลน์

ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,127
PLAY Q by CST bright u..
1,315
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
945
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
941
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
790
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
769
ข่าวอบรมสัมนามาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด