1.8K
18 ตุลาคม 2560
รวม 5 ข้อดี ที่ใครๆ ก็อยาก "ขายแฟรนไชส์"
 
"แฟรนไชส์" เป็นระบบที่นิยมกันทั่วโลก เพราะมันถูกพัฒนามาเป็นวิธีการขยายธุรกิจที่ WIN ทั้งสองฝ่าย คือ ผู้ที่ขายแฟรนไชส์ เป็นผู้ที่ชำนาญในกิจการของตัวเองและให้ถ่ายทอดวิชาของตัวเองให้ผู้อื่นที่ต้องการทำบ้าง แต่รูปแบบการทำแฟรนไชส์ ก็มีทั้ง ข้อดี-ข้อเสีย ซึ่งครั้งนี้จะพูดถึง "ข้อดี" ว่าทำไมใครๆ ก็อยากขายแฟรนไชส์กัน

1.ลงทุนน้อยลง

ระบบแฟรนไชส์สามารถทำให้คุณขยายธุรกิจได้รวดเร็วด้วยเงินทุนที่น้อยนิด ซึ่งเทียบกับการขยายกิจการด้วยวิธีการอื่นที่คุณจำเป็นจะต้องมีเงินมาก หรือจำเป็นจะต้องใช้เงินจากการกู้ยืม และเงินที่ลงไปนั้นยากที่จะดึงกลับคืนมาอีกครั้ง แล้ววิธีไหนล่ะ? ที่คุณจะไปเอาเงินมาได้เพื่อขยายกิจการ บางธุรกิจก็เลือกวิธีขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (ซึ่งเป็นไปได้ยากสำหรับรายเล็กๆ) บางรายก็กู้ยืมเงินจากธนาคาร แต่ธนาคารก็ต้องการหลักทรัพย์ค้ำประกันที่คุณอาจไม่มี

แต่แฟรนไชส์ คือ ระบบที่เปิดโอกาสให้ คนมีที่มีทุนน้อยที่จะขยายกิจการได้ โดยไม่สูญเสียทรัพย์สิน เพราะร้านที่เปิดเป็นการลงทุนของผู้ที่มาซื้อแฟรนไชส์ แต่อย่างไรก็ตามคุณต้องตระหนักว่า เงินที่คุณได้มาจากการค่าธรรมเนียมในการขายแฟรนไชส์ คุณต้องนำเงินที่คุณได้มาใช้จ่ายในการสร้างตัวโปรแกรมแฟรนไชส์และการอบรม เพื่อพัฒนาแบรนด์ และธุรกิจให้ยืนยาว

2.มีแรงจูงใจมากกว่า

ผู้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจทุกคนจะรู้ว่า ผู้จัดการที่เก่งนั้นหายากยิ่งนักและยากที่จะรักษาเขาเอาไว้ ถึงแม้ว่าคุณจะให้ผลตอบแทนพิเศษแก่พวกเขาแล้วก็ตาม แต่พวกเขาก็ยังไม่ได้เป็นเจ้าของอะไรสักอย่าง ทำให้ไม่มีความผูกพันกับงานนั้นจริงๆ จะดีกว่ามั้ย..ถ้าให้พวกเขาเป็นเจ้าของร้านแฟรนไชส์เสียเลย หรือ ขยายแบบแฟรนไชส์ คนที่ซื้อไปทำไม่ได้เป็นลูกจ้าง พวกเขาควักกระเป๋าของตัวเอง เพื่อเป็นเจ้าของธุรกิจและลงมือทำมันเอง การทำแฟรนไชส์ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน

ดังนั้นพวกเขาก็จะทุ่มเททั้งเวลาและกำลังงานเพื่อทำมันให้สำเร็จ
ซึ่งผู้ขายแฟรนไชส์ก็ต้องมีหน้าที่จัดการอบรมแฟรนไชซี่ให้เข้มข้นยิ่งกว่าผู้จัดการของคุณ บทบาทของคุณจะเปลี่ยนไปจากการดูแลงานประจำวันกลายมาเป็นเหมือนพ่อกับแม่ที่คอยให้การปรึกษาและผู้จัดเตรียมความพร้อมให้กับร้านแฟรนไชส์ซี่ ส่วนมากคนที่ตัดสินใจเลือกขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์นั้น เพราะสาเหตุ 3 อย่าง คือ
  • ประการแรก คือ แฟรนไชส์ซี่ส่วนใหญ่จะเป็นคนท้องถิ่น ที่รู้จักสภาพตลาดท้องถิ่นได้ดีกว่า
  • ประการที่สอง คือ คนที่เป็นแฟรนไชซี่ จะสามารถทำกำไรในการขายสินค้าได้มากกว่าจากการลดต้นทุนค่าแรงของเจ้าของกิจการ การรักษาผลประโยชน์เต็มที่ และความสามารถในการสร้างยอดขาย
  • ประการสุดท้าย คือ พวกเขาจะให้บริการรธุรกิจที่เหมาะสมกับความต้องการของชุมนุมชนได้มากกว่า  เราจะเห็นว่าบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งสามารถเปิดสาขาของตัวเองได้ทั่วประเทศ เพราะมีเงินมากพอ แต่บริษัทยักษ์เหล่านั้น ยังต้องมาขายแฟรนไชส์เลย ก็เพราะเหตุผลที่จะได้คู่ค้ามาเป็นผู้จัดการร้านชั้นเลิศ ที่มีแรงจูงใจสูงกว่านั่นเอง

3.ขยายตัวได้รวดเร็ว

เพราะธุรกิจมีการแข่งขันสูง  การเปิดสาขาของตัวเอง แน่นอนว่ามีข้อจำกัดเยอะแยะ ทั้งด้านการลงทุน ด้านการจ้างพนักกงาน อื่นๆ อีกมากมาย แต่ถ้าใช้ระบบแฟรนไชส์จะทำให้ธุรกิจขยายตัวได้เร็ว เพราะมีผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์มาต่อยอดอย่างรวดเร็ว ซึ่งกิจการบางรายมีจุดประสงค์ที่ต้องการครองตลาดให้เร็วหรือ เอาชนะการแข่งขันด้วยการใช้ระบบแฟรนไชส์ วิธีการนี้..อาจทำให้สมหวังง่ายกว่า
 
4.มีอำนาจซื้อ

เมื่อแฟรนไชส์ของคุณโตขึ้น สินค้าและอุปกรณ์วัตถุดิบต่างๆ จะถูกสั่งซื้อจากกลุ่มแฟรนไชส์ซี่ของคุณเป็นจำนวนมาก ทำให้คุณได้รับส่วนลด ซึ่งก็ทำให้ร้านแฟรนไชส์ซี่ของคุณได้สินค้าในราคาถูกลงไปด้วย การทำหน้าที่จัดซื้อกลางของคุณจะทำให้ร้านแฟรนไชส์เครือข่ายทำงานได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม รายได้ที่มาจากส่วนลดต่างๆ เหล่านั้น คุณควรจัดสรรนำมาใช้ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งใหม่ๆ สินค้าใหม่ๆ โปรแกรมอบรมใหม่ๆ ที่จะช่วยทำให้แฟรนไชส์ซี่ของคุณได้ประโยชน์ในการสะสมยอดซื้อจำนวนมากของพวกเขา ซึ่งจะนำมาสู่ยอดขายรวมที่ดีขึ้นที่จะย้อนตอบแทนกลับมาให้คุณอีกครั้งในรอบต่อไป
 
 
5.รายได้เพิ่ม

หลายคนเข้าใจผิดๆ และเดินผิดทางที่หวังรวยจากค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ คนที่ทำแฟรนไชส์จำนวนมากติดกับดักของตัวเอง คือ เอาค่าธรรมเนียนแฟรนไชส์ที่จ่ายครั้งแรกไปใช้ส่วนตัว แต่พวกเขาลืมไปว่า นั่นมันต้องให้บริการแก่แฟรนไชส์ซีไปอีก 3 หรือ 5 ปี ตามสัญญาแฟรนไชส์ที่ระบุไว้ ถามว่า รายได้ที่แท้จริงในการขายแฟรนไชส์มาจากไหน มาจากค่ารอยัลตี้ฟรี  หรือรายได้ที่แบ่งมาจากเปอร์เซ็นของยอดขาย อาจจะ 10 กว่าเปอร์เซ็นของทุกๆ เดือน

บางคนเห็นรายได้ตรงนี้และอาจท้อใจว่าน้อยนิด แต่ถ้าคุณมีเป็นร้อยสาขาล่ะ รายได้ต่อเดือนที่มาอย่างต่อเนื่อง มันน่าสนใจทีเดียว ตรงนี้นี่แหละ..ที่เขาเรียกกันว่า Passive Income นั่นเอง 
นอกจากนี้แล้ว คุณอาจจะมีรายได้อย่างอื่นอีก เช่น ค่าขายสินค้า และบริการให้กับแฟรนไชส์ซี่ที่ออร์เดอร์จากคุณตลอดๆ ที่จะสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจของคุณได้นานๆ ถ้าคุณช่วยโปรโมท สร้างแบรนด์ พัฒนางาน เอาใจใส่ให้กับร้านสาขาแฟรนไชส์ซี่ของคุณ สรุปก็คือรายได้เพิ่มจากการขายแฟรนไชส์ ก็คือ
  1. ค่าแฟรนไชส์ฟี จะได้จริงเมื่อกิจการร้านแฟรนไชส์ซี่ไปได้ดีและเขาต่อสัญญารอบใหม่
  2. ค่ารอยัลตี้ฟี เมื่อคุณมีสาขาจำนวนมากและมีรายได้ประจำทุกๆ เดือน
  3. ค่าธรรมเนียมโฆษณา อันนี้ควรใช้จริงอย่างฉลาดเพื่อสร้างยอดขายรวมที่จะกลับมาเป็นรายได้รวมของคุณเช่นกัน
  4. ค่าสินค้า ที่ร้านแฟรนไชส์ซี่ต้องการสั่งซื้อจากคุณ เพราะราคาถูกกว่าท้องตลาด และมีคุณภาพคงที
  5. ค่าบริการ ที่คุณให้บริการที่คุ้มค่า
  6. ค่าเช่าทรัพย์สิน เช่น อุปกรณ์  หรือ สถานที่ เป็นต้น
นี่แหละเป็น "ข้อดี 5 ข้อ" ที่ทำให้ "ใครๆ ก็อยากขายแฟรนไชส์" และหากท่านใดที่สนใจเข้าร่วมการอบรม "หลักสูตร การสร้างระบบแฟรนไชส์ 40 ชั่วโมง + เยี่ยมชมกิจการ"

สามารถสมัครเรียนและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
02-101-9187 หรือ LINE ID: @thaiseminar

และสามารถสมัครเรียนด้วยตนเอง ได้ที่
https://goo.gl/HSU9kA
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น เป..
4,986
ชีสซี่ฟราย สแน็ค เปิดต..
4,011
เริ่มแล้ว! งานแฟรนไชส์..
2,894
แรงจริง! #แฟรนไชส์ ก๋ว..
1,617
พบบูธ “ก๋วยเตี๋ยวเรือป..
985
ธงไชยผัดไทย ร่วมกับ 7-..
976
ข่าวอบรมสัมนามาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด