11K
6 เมษายน 2552

9 เมนูเด็ดเพื่อเอสเอ็มอี มีเพื่อนดีๆ อยู่ใกล้ๆ จะกลัวอะไร


1 เมษายนที่ผ่านเอสเอ็มอีแบงก์ หรือธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ได้ผนึกกำลังกับภาครัฐและเอกชนกว่า 15 องค์กร เปิดเมนูกู้วิกฤตให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ปัจจุบันประสบปัญหาในด้านการขอสินเชื่อค่อนข้างมาก เนื่องจากแบงก์พาณิชย์ส่วนใหญ่เวลานี้เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเพราะกลัวตัวเลข เอ็นพีแอลพุ่ง

ดังนั้นในฐานะที่เป็นแบงก์รัฐและเป็นแบงก์เพื่อเอสเอ็มอี ท่ามกลางวิกฤตแบบนี้เอสเอ็มอีแบงก์จึงขันอาสาเป็นทางเลือกด้านสินเชื่อให้กับเอสเอ็มอีที่มี 9 เมนูด้วยกัน ภายใต้สโลแกนที่ว่า มีเพื่อนดีๆ อยู่ใกล้ๆ จะกลัวอะไร ประกอบด้วย

 

1.สินเชื่อชะลอการเลิกจ้างแรงงาน

ถือเป็นเมนูพิเศษที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างเอสเอ็มอีแบงก์กับสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน มอบสิทธิพิเศษแก่ผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมและยินยอมตกลงชะลอการเลิกจ้างแรงงานก็จะอยู่ในข่ายใช้บริการได้ทันที ด้วยอัตราดอกเบี้ย พิเศษเพียง 5% ต่อปี คงที่นานสูงสุดถึง 5 ปี ต้นทุนต่ำสุดๆ

 


2.สินเชื่อ SME POWER

สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ ท่องเที่ยว กลุ่มผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจแต่ไม่สามารถใช้สินเชื่อชะลอการเลิกจ้างแรงงานได้ ก็สามารถขอสินเชื่อโครงการนี้ได้ ด้วยอัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี กู้ได้สูงสุด 50 ล้านบาท/ราย (วงเงินเกินกว่านี้สามารถใช้สินเชื่อเมนูอื่นเพิ่มเติมได้) ผ่อนตั้งแต่ 5-10 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทเงินกู้ มีให้เลือกทั้งแบบเงินกู้ยืมผ่อนชำระ (F/L) เงินทุนหมุนเวียน (P/N) แฟกตอริ่ง (CCF) ลีสซิ่ง (L/S) และเช่าซื้อ (H/P) เป็นบริการสินเชื่อหนึ่งที่คิดดอกเบี้ยในอัตราลูกค้าชั้นดีเท่ากับผู้ประกอบการรายใหญ่ของสถาบันการเงินอื่น
 


3.สินเชื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว

สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปิดท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิและดอนเมือง ทั้งกลุ่มธุรกิจที่พัก โรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร นำเที่ยว และธุรกิจบริการท่องเที่ยวอื่นๆ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับเอสเอ็มอีแบงก์สนับสนุนเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำพิเศษพร้อมระยะเวลาการผ่อนชำระที่ยาวนาน

 

4.สินเชื่อทั่วไป/แฟกตอริ่ง/ลีสซิ่งและเช่าซื้อ

สินเชื่อทั่วไป วงเงินกู้ต่อรายตั้งแต่ 5 หมื่นบาทจนถึงไม่เกิน 200 ล้านบาท มีทั้งสินเชื่อระยะยาวเพื่อการลงทุน และระยะสั้นเป็นเงินทุนหมุนเวียน (grace period ไม่เกิน 3 ปี) ผ่อนนานสูงสุด 15 ปี ตามความเหมาะสมของธุรกิจ หากคิดทำธุรกิจใหญ่ใช้วงเงินกู้สูง หากคิดทำธุรกิจแบบพอเพียงก็กู้แต่พอตัว

สินเชื่อแฟกตอริ่ง หากธุรกิจของท่านขาดสภาพคล่อง ไม่มีเงินทุนหมุนเวียน อยากกู้แต่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ไม่ใช่ปัญหาสำคัญของธุรกิจอีกต่อไป สินเชื่อแฟกตอริ่ง เอสเอ็มอีแบงก์ช่วยท่านได้ ถือเป็นเมนูอาหารเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้แก่ธุรกิจท่านได้อย่างรวดเร็ว ลดขั้นตอน ซึ่งเป็นเมนูสินเชื่อที่ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการมากที่สุดอีกเมนูหนึ่ง

เพียงท่านนำเอกสารการแจ้งหนี้ของลูกหนี้การค้าที่ผ่านกระบวนการวางบิลเรียบร้อยแล้วมายื่นขอใช้บริการสินเชื่อแฟกตอริ่งกับเอสเอ็มอีแบงก์ เท่านี้ธุรกิจของท่านก็จะเดินหน้าได้อย่างไม่สะดุด วงเงินกู้สูงสุด 80% ของมูลหนี้

สินเชื่อลีสซิ่งและเช่าซื้อ หากธุรกิจประสบปัญหาต้นทุนสูง เครื่องจักรและอุปกรณ์ล้าสมัย มั่นใจเลือกใช้บริการสินเชื่อลีสซิ่งและเช่าซื้อได้

สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก (packing credit) กลุ่มนักธุรกิจ inter-trader หรือกลุ่มผู้ส่งออกโดยเฉพาะ สามารถเลือกสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก (packing credit) ได้อย่างง่ายๆ และตรงความต้องการมากที่สุด เพียงนำ letter of credit (L/C) มาเป็นหลักประกอบการพิจารณาสินเชื่อ รับเงินสดจากธนาคารไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนได้ทันที เป็นเมนูสินเชื่อที่ช่วยติดปีกธุรกิจท่านโกอินเตอร์ได้อย่างไร้พรมแดน


5.สินเชื่อกลุ่มพลังงาน

สินเชื่อโครงการเช่าซื้อรถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ผู้ประกอบการรถขนส่งสินค้าและรถโดยสารที่ต้องการลดต้นทุน โดยเปลี่ยนมาใช้พลังงานทางเลือกกู้สูงสุดได้ถึง 100 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำเพียง 4% ต่อปี ผ่อนนาน 7 ปี
 

สินเชื่อโครงการเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ NGV หากเป็นผู้ประกอบการที่ต้องการให้บริการเปิดสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ NGV โดยสามารถกู้สูงสุดได้ถึง 100 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปี

สินเชื่อโครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานทดแทน เพียงเป็นเจ้าของโรงงานหรือเจ้าของอาคารที่เห็นประโยชน์ของการลดใช้พลังงานเพื่อลดต้นทุนกิจการ โดยกระทรวงพลังงานจะช่วยสนับสนุนวงเงินกู้ในสัดส่วน 50% คิดดอกเบี้ยเพียง 4% เท่านั้น


 

6.สินเชื่อกลุ่มนวัตกรรม

ภายใต้โครงการนี้มีสินเชื่อนวัตกรรมดี...ไม่มีดอกเบี้ย เพียงมีผลงานและการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ในเชิงนวัตกรรม กู้ได้สูงสุด 20 ล้านบาท โดยขอรับสิทธิฟรีดอกเบี้ย 3 ปีแรก จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)

สินเชื่อฟื้นฟู-ปรับปรุงสภาพเครื่องจักร (machine fund) ระยะ 2 เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการพัฒนาปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรของกิจการ กู้ได้สูงสุด 100 ล้านบาท โดย สสว.จะช่วยสนับสนุนดอกเบี้ยจ่ายแทนให้ผู้ประกอบการ 3% เป็นระยะเวลา 5 ปี


7.สินเชื่อกลุ่มอาหาร

ประกอบด้วย สินเชื่อครัวไทยสู่โลก โดยกู้เพื่อลงทุนเปิดร้านอาหารไทยหรือดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารในต่างประเทศ กู้ได้สูงสุด 40 ล้านบาท

สินเชื่อโอท็อป (OTOP) เพียงท่านได้รับมาตรฐานสินค้า OTOP 3-5 ดาว สามารถกำหนดวงเงินกู้ได้สุงสุด 1 ล้านบาท โดยใช้บุคคล/นิติบุคคลค้ำประกันได้

สินเชื่อแฟรนไชส์ สำหรับท่านที่ต้องการจะลงทุนทำธุรกิจรูปแบบแฟรนไชส์ ธนาคาร พร้อมสนับสนุนทั้ง franchisor (ผู้ให้สิทธิ) และ franchisee (ผู้รับสิทธิ) โดยใช้บุคคล/นิติบุคคลค้ำประกันได้


 

8.สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการใหม่ เป็นสินเชื่อเร่งด่วน(fast track)

ท่านที่มีไอเดียทางธุรกิจและมุ่งมั่นที่จะเป็นเจ้าของกิจการ และต้องการใช้เงินลงทุนหรือเงินทุนหมุนเวียนในกิจการวงเงินตั้งแต่ 5 หมื่นถึง 5 แสนบาท ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 3 ปี โดยใช้ธุรกิจ/นิติบุคคลค้ำประกันได้


 

และ 9.บริการเงินร่วมลงทุน (venture capital)

เป็นเมนูทางเลือกใหม่...ที่แบงก์พร้อมเป็นหุ้นส่วนร่วมลงทุนสำหรับกิจการในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะธุรกิจนั้นมีนวัตกรรม เช่น ธุรกิจอาหาร พลังงานและพลังงานทดแทน อุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมที่เกิดจากการวิจัย และพัฒนา ยา เคมีภัณฑ์ ฯลฯ เอสเอ็มอีแบงก์พร้อมเป็นหุ้นส่วนในกิจการ ด้วยบริการเงินร่วมลงทุนในธุรกิจกับท่าน เพื่อการเติบโตที่มั่นคงมุ่งสู่การจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ











อ้างอิงจาก มติชน

ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,151
PLAY Q by CST bright u..
1,319
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
945
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
942
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
792
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
769
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด