1.3K
16 ตุลาคม 2559
พาณิชย์เร่งส่งเสริม SMEs-Startup ไทยสู่ตลาดโลก นำร่องธุรกิจแฟรนไชส์-นวัตกรรม

 
ภาพจาก  https://goo.gl/rL8pYH

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์จะจัดทำโครงการส่งเสริมแบรนด์สินค้าและบริการไทยสู่ตลาดโลก (MOC 4i : Thai Brand Heroes Program)


โดยมุ่งผลักดันและพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ธุรกิจรูปแบบใหม่ และธุรกิจ Startup เพื่อมุ่งสู่การเป็น Smart Enterprise โดยการสร้าง New Business Model ที่ผสมผสานนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีเข้าด้วยกันเพื่อนำไปสู่การสร้าง Global Brand ในอนาคต ซึ่งโครงการนี้เป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และกรมทรัพย์สินทางปัญญา
 
ทั้งนี้ จะเริ่มต้นนำร่องใน 2 ธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจแฟรนไชส์ และธุรกิจบนพื้นฐานนวัตกรรมและการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value base enterprise) โดยในการดำเนินงานดังกล่าว ได้มีการแบ่งแนวทางการพัฒนาออกเป็น 4 ระดับ คือ
 
ระดับที่ 1 Inspiration เพื่อกระตุ้นให้มีการพัฒนา การขยายตลาดและใช้ตลาดเป็นตัวนำ (Demand-Driven & Market Expansion) โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (พค.) และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.) จะเน้นการสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration) และปรับวิธีคิดของผู้ประกอบการ (Entrepreneur Mindset) มุ่งเน้นการใช้ตลาดเป็นตัวนำ (Demand driven) และเสริมทักษะการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value creation) ของสินค้า/บริการ ในรูปแบบสัมมนา Symposium และกิจกรรมส่งเสริมองค์ความรู้ โดยใช้เวลาตลอดทั้งปี
 
กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ประกอบการ SMEs/ Startup จำนวนกว่า 2000 ราย โดยเริ่มอบรมไปแล้ว กว่า 900 ราย ตั้งแต่เดือนกันยายน 2559 และสามารถเปิดรับได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี
 
ระดับที่ 2 Incubation เริ่มดำเนินการเดือนธันวาคม 2559 เพื่อบ่มเพาะผู้ประกอบการ เกี่ยวกับแนวคิดการออกแบบและกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ (Branding Strategy & Design Thinking) เน้นการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ (New business model) และการดำเนินธุรกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ใน 4 กลุ่มสินค้า

ได้แก่ สินค้าเกษตรและอาหาร (Food & Agriculture) สุขภาพและความงาม (Health & Wellness) ธุรกิจบริการ (Hospitality & Service + Franchise) และสินค้าไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Product and Startup) โดยนำแนวคิดการออกแบบในกระบวนการธุรกิจ เพื่อสร้างความแตกต่าง โดยมีกลุ่มเป้าหมายในแต่ละคลัสเตอร์ 30 – 40 ราย ต่อคลัสเตอร์ รวมจำนวน 120 ราย โดยมีกรอบการดำเนินงาน แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน
  1. Open House : รวบรวมข้อมูลบริษัท ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลในการจัดวางแผน/ออกแบบในกระบวนการธุรกิจ
  2. Inspirations : สร้างแรงบันดาลใจ จุดประกายในการสร้างแบรนด์ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดนักออกแบบ นักสร้างแบรนด์ ผ่านการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์และตัวอย่างบริษัทที่สร้างแบรนด์ จนประสบผลสำเร็จ สามารถสร้างชื่อเสียงในระดับโลก
  3. Disrupt Session : เวทีละลายพฤติกรรม เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกในมุมมองของผู้บริโภค เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ นำไปสู่การพัฒนาในอนาคต
  4. Constructive Brainstorming : ระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ นักการตลาด นักวิเคราะห์ นักวางแผนกลยุทธ์ เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากไปใช้ในการวางกลยุทธ์ต่อไป
กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มผู้ประกอบการที่มีเครื่องหมายการค้า(Trademark) มีความเข้าใจในความสำคัญของการสร้างแบรนด์และสร้างแบรนด์แล้วมาในระดับหนึ่ง

แต่มักจะดำเนินธุรกิจโดยขาดการพัฒนาธุรกิจ/กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้ก้าวไปข้างหน้าอยู่เสมอ ขาดการพัฒนาสินค้าในเชิง R&D และภาพลักษณ์ในการสื่อสารให้ทันสมัย เพื่อมุ่งให้เกิดการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ การดำเนินธุรกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์รวมทั้งโรดแมปการสร้างแบรนด์ ซึ่งกำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 เป็นระยะเวลา 3 - 6 เดือน
 
ระดับที่ 3 Implementation เริ่มดำเนินการเดือนมกราคม 2560 เพื่อพัฒนาสินค้าเฉพาะกลุ่มและแบรนด์ที่เป็นฮีโร่ (Customization & Thai Brand Heroes) โดยการเสริมความเข้มแข็งสู่ตลาด ต่างประเทศเป้าหมาย โดยมีการออกแบบเป็นการเฉพาะ (Customize) สินค้า/บริการให้เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้บริโภคและความต้องการของแต่ละตลาด พร้อมทั้งมุ่งหวังให้เกิดการสร้าง Thai Brand Heroes 10 -20 แบรนด์ โดยมีกรอบการดำเนินงาน แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน
  1. Selection Process จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมแบรนด์ไทยสู่ตลาดโลก จากหน่วยงานภาครัฐ/เอกชนและองค์กรต่างๆที่มีความเชี่ยวชาญในการสร้างแบรนด์ เพื่อคัดสรรผู้เข้าร่วมกิจกรรมและร่วมขับเคลื่อนโครงการ
  2. Coaching & Consult  บ่มเพาะให้คำแนะนำเป็นรายบริษัท (Collaborates with MAT & TMA)
  3. Customize to market เลือกตลาดให้ตรงกับสินค้า/บริการ
  4. Brand Building Roadmap จัดทำแผนกลยุทธ์ด้านการสร้างแบรนด์
โดยเน้นกลุ่มผู้ประกอบการที่มีแบรนด์ของตนเองแล้ว เป็นแบรนด์ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เป็นผู้ประกอบการที่มีคุณภาพและมีการดำเนินงานที่ใช้แรงงานที่เป็นธรรม คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อสังคม มีการสร้างแบรนด์ในต่างประเทศแล้ว แต่ต้องการพัฒนาธุรกิจและแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เพื่อมุ่งให้เกิดการทดลองตลาดอย่างแท้จริง ด้วยการใช้กลยุทธ์การสร้างแบรนด์เป็นตัวนำ ซึ่งกำหนดระยะเวลาการดำเนินงานตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 เป็นระยะเวลา 6 – 10 เดือน
 
ระดับที่ 4 Internationalization เริ่มดำเนินการเดือนมีนาคม 2560 เพื่อสร้างที่ยืนในตลาดโลกและการสร้างแบรนด์ร่วมกับพันธมิตรที่มีชื่อเสียงในเวทีโลก (Global Presence & Co-Brand with Champions) โดยจะสนับสนุนการแสวงหาพันธมิตรในต่างประเทศให้แก่ผู้ประกอบการ

อาทิ การสร้างแบรนด์ผ่านสื่อชั้นนำ (X Media) ดีไซเนอร์ที่มีชื่อเสียง (X Designers) และแบรนด์ชั้นนำ (X Co-Brand) เน้นการต่อยอดให้เกิดการสร้างแบรนด์ร่วมกัน (Co-Branding) และการสร้างเครือข่ายพันธมิตรในกลุ่มผู้ประกอบการและ Startup

โดยเน้นกลุ่มแบรนด์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง มีนวัตกรรม มีการออกแบบที่ดี มีแบรนด์ของตนเองและมีแบรนด์เข้มแข็งแล้ว ต้องการขยายสู่ตลาดโลกและมีความต้องการในการขยายตลาดและเจาะกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่แตกต่างกัน ซึ่งกำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2560 เป็นระยะเวลา 8 – 10 เดือน
 
อ้างอิงจาก  ryt9.com
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
933
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
635
“เติมพลังความรู้” กับ ..
591
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
562
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
552
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
514
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด