6.1K
16 กรกฎาคม 2559
เลมอนฟาร์มผุดร้านไซซ์เล็ก ส่งพร้อมทานเจาะคนเมือง

 
"เลมอน ฟาร์ม" เล็งส่งโมเดลไซซ์เล็ก หวังลดต้นทุน-เพิ่มการเข้าถึง รับดีมานด์สินค้าออร์แกนิกขยายตัว พร้อมพัฒนาสินค้าพร้อมทาน "ออร์แกนิค บ็อกซ์" เปิดตัวภายในสิ้นปี ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์เร่งด่วนเจาะตลาดคนเมือง 
 
นางสุวรรณา หลั่งน้ำสังข์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สังคมสุขภาพ จำกัด ผู้บริหารร้านเลมอนฟาร์ม กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตลาดสินค้าออร์แกนิกของคนไทยเติบโตและได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งจากการได้รับความรู้จากสื่อและองค์กรต่าง ๆ รวมถึงผลผลิตที่มีปริมาณมากขึ้น จากการที่เลมอนฟาร์มเข้าไปช่วยดูแลตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ เริ่มตั้งแต่การพัฒนาองค์ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ร่วมกับชาวบ้าน ไปจนถึงการมีพื้นที่สำหรับจำหน่ายสินค้า เพื่อรับกับโอกาสดังกล่าว บริษัทมีแนวทางที่จะขยายสาขามากขึ้น
 

โดยปรับรูปแบบให้มีไซซ์เล็กลง เพิ่มความคล่องตัวในการลงทุนและสามารถเข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งยังเป็นรูปแบบการลงทุนเอง ยังไม่พิจารณาการทำแฟรนไชส์ เนื่องจากรูปแบบดังกล่าวต้องสามารถการันตีซัพพลาย (ผลผลิตและสินค้า) ให้กับคู่ค้าได้
 
ปัจจุบัน เลมอนฟาร์มมีสาขาทั้งหมด 14 แห่ง หากมีสาขามากขึ้นจะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุน โดยเฉพาะค่าขนส่งได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ราคาสินค้าออร์แกนิกถูกลง ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น ทำให้ตลาดรวมมีการเติบโต

นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มคนเมืองซึ่งชอบความสะดวกรวดเร็ว โดยเตรียมที่จะออกสินค้าในกลุ่มพร้อมรับประทาน (Ready to Eat) ในชื่อ "ออร์แกนิค บ็อกซ์" ภายในสิ้นปีนี้ ในช่วงแรกจะวางจำหน่ายที่ร้านเลมอนฟาร์ม ก่อนพิจารณาช่องทางอื่น ๆ ในอนาคต
 
 
"โมเดลธุรกิจของเลมอนฟาร์ม เรามองว่าเกษตรกรเองอยากผลิตของดี ๆ ผู้บริโภคก็อยากกินของดี ๆ เช่นกัน โจทย์ของเราก็คือการเชื่อม 2 ปัจจัยนี้ ใช้หลักเศรษฐศาสตร์ ดีมานด์-ซัพพลาย สร้างตลาดไปพร้อม ๆ กัน ควบคู่กับการตลาด เช่น การสร้างอะแวร์เนสให้คนรับรู้ หรือกระจายสินค้าไปให้ถึงมือผู้บริโภค โดยมีเลมอนฟาร์มเป็นเครื่องมือ"
 
นางสุวรรณายังระบุต่อไปอีกว่า ความท้าทายของตลาดสินค้าออร์แกนิกยังอยู่ที่ความคุ้นชินของเกษตรกรที่ใช้ ปุ๋ยเคมีเป็นระยะเวลานาน การเข้าไปทำความเข้าใจและให้ความรู้ถึงผลเสียยังเป็นเรื่องยาก
 

ยกเว้นในกรณีที่คนในหมู่บ้านนั้น ๆ มีอาการเจ็บป่วยที่มาจากการใช้ปุ๋ยดังกล่าว เกษตรกรจึงเปิดใจรับองค์ความรู้นี้มากขึ้น อย่างไรก็ตามหากสามารถแสดงให้เห็นว่า ธุรกิจสามารถสร้างโอกาส สร้างรายได้ที่ดี มีช่องทางหรือตลาดให้กับเขาได้ ชาวบ้านหรือเกษตรกรก็พร้อมจะเปลี่ยนในที่สุด

อ้างอิงจาก  ประชาชาติธุรกิจ

ขอบคุณรูปภาพจาก  lemonfarm.com,facebook.com/lemonfarmfan
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
5,453
PLAY Q by CST bright u..
1,062
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
940
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
931
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
781
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
755
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด