1.6K
8 เมษายน 2559
ธุรกิจฉัน "ทำแฟรนไชส์" ได้หรือไม่?


กระแสความตื่นตัวเรื่อง "แฟรนไชส์" กำลังมาแรง!! หลายคนมีความฝันว่าอยากจะรวยด้วยการขายแฟรนไชส์ แต่ทว่าจะเป็นจริงได้หรือไม่ และจะทำให้สำเร็จได้อย่างไร?

"แฟรนไชส์" เปิดโอกาสให้ธุรกิจรายเล็กเติบโตได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องมีทุนมากนัก นี่คือข้อดีของมันที่ทำให้หลายคนหัวใจพองโตมีฝันที่จะปั้นธุรกิจของตัวเองให้เป็นแฟรนไชส์ให้ได้ แต่ก็ไม่แน่ใจเลยว่า กิจการของตัวเองจะทำแฟรนไชส์ได้หรือไม่ เรื่องนี้มีคำตอบ
 
ความเป็นจริงก็คือ ไม่ใช่ทุกธุรกิจที่เหมาะกับการทำแฟรนไชส์และผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำแฟรนไชส์ก็ไม่ได้มีเยอะนัก แต่ถ้าคุณตั้งใจจริงจงศึกษาหาความรู้และเดินให้ถูกทาง กิจการของคุณก็อาจจะติดปีกเติบโตได้อย่างไร้ขีดจำกัด  แต่สิ่งแรกที่คุณต้องทำความเข้าใจ คือ คุณต้องประเมินตัวเองเสียก่อนว่า "กิจการของคุณ" มีความเป็นไปได้ในการเป็นแฟรนไชส์หรือไม่?

แฟรนไชส์ก็เหมือนกับการลงทุนทำกิจการทั่วไปที่จำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้เสียก่อนลงทุนทำ เช่น ต้องมีส่วนประกอบที่เป็นไปได้ในเรื่องมีบุคคลกร, มีทุน, มีตลาด, มีผู้บริหาร เป็นต้น
 

แฟรนไชส์ก็เช่นกัน คุณต้องประเมินความเป็นไปได้ของกิจการตัวเองว่าเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะทำธุรกิจแฟรนไชส์ได้สำเร็จด้วยองค์ประกอบกว่า 20 ข้อ เพราะถ้าหากคุณทำไปโดยปราศจากความพร้อมก็จะเป็นผลเสียมากกว่า คือ เสียเวลา เงินทอง และชื่อเสียง ผลสุดท้ายคุณก็ต้องย้อนกลับมาเริ่มต้นใหม่อีกรอบหรือเลิกล้มไปเลย ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเป็นประจำซ้ำแล้วซ้ำอีก
 
ดังนั้น ก่อนตัดสินใจคุณต้องแน่ใจว่าคุณมีศักยภาพพร้อมที่จะทำแฟรนไชส์ได้ คือ

1.เป็นกิจการที่มีกำไร 

กิจการที่คุณทำอยู่มีกำไรแล้วหรือยัง? ถ้าแต่ละเดือนคุณยังขาดทุนอยู่หรือแต่ละปีทำไปทำมาไม่มีเงินเหลือแถมยังติดลบ หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ แสดงว่าธุรกิจของคุณยังไม่พร้อมที่จะทำแฟรนไชส์ เพราะถ้าคุณฝืนไปขายแฟรนไชส์ให้คนอื่นนั่นแปลว่าคุณเอาวิธีการทำกิจการที่ไม่ดีไปให้คนอื่นทำตาม แต่ในทางตรงกันข้ามถ้ากิจการของคุณมีกำไรทุกเดือนสม่ำเสมอ มียอดขายที่เติบโตในปีหนึ่งๆ มีเงินเหลือเก็บคุณก็ผ่านข้อนี้ไปได้
 
2.มีความชำนาญ อย่างแท้จริง

คุณมีความชำนาญในกิจการที่ทำอย่างแท้จริงใช่ไหม? กิจการของคุณอาจจะมีผลกำไรจริงอยู่ แต่ร้านของคุณเปิดมานานหรือยัง โดยเฉพาะกิจการของคนรุ่นใหม่บางรายมีไอเดียเด็ด เปิดร้านขึ้นมามีคนมาใช้บริการตรึมก็ดีใจคิดว่าตัวเองประสบความสำเร็จแล้ว ต้องขายแฟรนไชส์รวยแน่ๆ แต่มันยังไม่ใช่เพราะการขายแฟรนไชส์ คือ การขายประสบการณ์ในการทำธุรกิจ คนที่ควักกระเป๋ามาซื้อแฟรนไชส์ของคุณเขาไม่ได้ซื้อสินค้าของคุณ เขาซื้อประสบการณ์ของคุณต่างหาก การที่คุณเปิดร้านมา 1 ปี คุณมีประสบการณ์และความชำนาญในธุรกิจเพียงพอแล้วหรือยังที่จะถ่ายทอดความเชี่ยวชาญของคุณไปให้เขา

การขายแฟรนไชส์โดยประสบการณ์ที่ยังไม่แข็งแรงจะกลายเป็นความเสี่ยงของผู้ที่มาซื้อแฟรนไชส์จะดีกว่ามั้ยถ้าคุณมีประสบการณ์มากหน่อยอย่างน้อย 4-5 ปี ขึ้นไป เพียงพอที่ทำให้มั่นใจว่าคุณชำนาญการธุรกิจของคุณจริงๆ เพียงพอที่จะถ่ายทอดกลยุทธ์ต่างๆ พร้อมวิธีการรับมือกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ได้อย่างราบรื่นและได้ผลกำไรตามเป้าที่วางเอาไว้
 

3.มีร้านสาขาแล้ว

คุณมีร้านสาขาแล้วหรือยัง? การมีร้านสาขา คือ สิ่งที่จำเป็นเพราะร้านแฟรนไชส์ที่จะเปิดขึ้นตามมาย่อมจะไกลออกไป ซึ่งคุณจะไม่สามารถดูแลได้ ดังนั้นถ้าคุณมีเพียงสาขาเดียว คุณอาจจะขาดทักษะในการบริหารร้านสาขาที่ทำงานโดยคนอื่น ในบางประเทศมีกฏหมายแฟรนไชส์ระบุออกมาเลยว่าคนที่จะขายแฟรนไชส์ได้ต้องมีร้านอย่างน้อย 2 สาขาขึ้นไป จึงจะขายแฟรนไชส์ได้ ซึ่งอีกไม่นานถ้ามีกฏหมายแฟรนไชส์ของไทยออกมาก็จะมีข้อบังคับในลักษณะนี้เช่นกัน นั่นเป็นเพราะหากปล่อยให้มีการขายแฟรนไชส์โดยที่บริษัทแม่ไม่มีความชำนาญพอ และยังไม่มีประสบการณ์ในการบริหารร้านสาขามาก่อนความเสี่ยงจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์สูง

4.มีแบรนด์ เป็นที่รู้จัก

กิจการของคุณลงทุนในการสร้างแบรนด์ไปบ้างหรือยัง? ถ้าสินค้าหรือร้านของคุณไม่เป็นที่รู้จักในตลาดเลย หรือไม่เป็นที่รู้จักในวงการของคุณเลย ผู้ซื้อแฟรนไชส์ก็ต้องเหนื่อยและเสี่ยงไปกับการลงทุนนี้ไปด้วย แต่ถ้าสินค้าและบริการของคุณมีชื่อเสียงติดตลาด ผู้ซื้อแฟรนไชส์ของคุณไปจะมีลูกค้าเข้ามาทันทีที่เปิดร้านช่วงแรกนั่นคือสุดยอดของกิจการที่มีความเป็นไปได้ในการขยายแฟรนไชส์สูง
 
5.ลักษณะ สินค้า-บริการ เหมาะกับการทำแฟรนไชส์

สินค้า-บริการของคุณเหมาะสมกับการขยายในรูปแบบแฟรนไชส์หรือไม่ คุณต้องวิเคราะห์ให้ขาด คือ 
  • ไม่ใช่สินค้าที่เป็นแฟชั่น เช่น ตุ๊กตาเฟอร์บี้ ที่คนเคยคลั่งใคล้ระยะหนึ่งเป็นความนิยมที่สั้นมาก สินค้าประเภทแฟชั่นแบบนี้ไม่เหมาะในการทำแฟรนไชส์ เพราะแฟรนไชส์เป็นธุรกิจที่ยืนยาวนานจนสืบต่อไปถึงลูกหลาน 
  • เป็นสินค้า-บริการที่มีการซื้อซ้ำ ถ้าสินค้าของคุณนานๆ ขายได้ที คนซื้อครั้งเดียวในชีวิตแล้วไม่ซื้ออีก เป็นธุรกิจที่ไม่เหมาะกับการทำแฟรนไชส์ เพราะจะทำให้แฟรนไชซี่ของคุณเหนื่อยที่จะหาลูกค้าใหม่ๆ เข้ามา ผู้ที่ลงทุนซื้อแฟรนไชส์ของคุณย่อมต้องการความมั่นคงในอาชีพ จะดีกว่าไหม? ถ้าร้านแฟรนไชส์มีลูกค้าเดิมเป็นหลักแวะเวียนเข้าร้านสม่ำเสมอที่จะสร้างความมั่นคงให้กับเขา
  • ไม่ถ่ายทอดยากเกินไป สมมุติว่ากิจการคุณ คือ การแพทย์ หรือ งานวิศวกรรม ที่ต้องเรียนรู้กันเป็น 10 ปี นี่มันยากจะเกินไป ทำให้เป็นอุปสรรคในการหาแฟรนไชซี่ได้ยาก ดังนั้น หากกิจการของคุณมีลักษณะเป็นแบบนี้ คุณก็ต้องหาวิธีการที่ทำให้ง่ายขึ้น
  • สินค้า มีจุดเด่นที่แตกต่าง คุณลองสังเกตร้านปาท่องโก๋แถวบ้านจะมีร้านหนึ่งที่ขายดีกว่าร้านอื่น มีคนต่อคิวซื้อแต่บางร้านขายแบบเหงาๆ นั่นเพราะร้านที่ขายดีต้องมีดีอะไรที่ต่างออกไปอย่างแน่นอน เช่น น้ำมันทอดสะอาด อร่อยกว่า หรือใส่ถุงที่ออกแบบสวย เป็นต้น แล้วสินค้า-บริการของคุณละ มีจุดเด่นที่แตกต่างจากคู่แข่งขันหรือไม่
หากท่านใดสนใจอบรมคอร์สไหน กรุณาสอบถามได้ที่ 02-896-7330 
ทั้งนี้ ท่านที่สนใจ สามารถสมัครเรียน ได้ผ่านทาง https://www.thaifranchisecenter.com/seminar/show.php?etID=8221
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น เป..
5,071
ชีสซี่ฟราย สแน็ค เปิดต..
4,097
เริ่มแล้ว! งานแฟรนไชส์..
2,896
แรงจริง! #แฟรนไชส์ ก๋ว..
1,632
ธงไชยผัดไทย ร่วมกับ 7-..
1,000
พบบูธ “ก๋วยเตี๋ยวเรือป..
986
ข่าวอบรมสัมนามาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด