2.4K
12 สิงหาคม 2558
แนะสารพัดธุรกิจ "ตั้งตัว" หลังเรียนจบ-ตกงาน-เริ่มต้นใหม่


ผู้สื่อข่าว ประชาชาติธุรกิจ รวบรวมคอร์สอบรมและไอเดียสำหรับผู้เริ่มต้นการทำธุรกิจต่างๆ ไว้ โดยเริ่มจากไอเดียของแอร์โฮสเตสสาว

นางสาวไอลดา บุญวัฒนา แอร์โฮสเตสสายการบินไทย เผยไอเดียว่า สำหรับตนเองทำธุรกิจหลายอย่างทั้งขายเสื้อผ้ามือสอง โดยจะเป็นเสื้อผ้าของตัวเอง และซื้อจากเพื่อนแอร์ฯ ด้วยกันแล้วมาโพสต์ขายผ่านเฟซบุ๊ก Ailada Apparel ทำให้ได้ต่อยอดไปเป็นนางแบบให้แก่สินค้าเสื้อผ้าออนไลน์แบรนด์อื่นด้วย

ขณะเดียวกัน แอร์โฮสเตสสาวก็ชี้ช่องพื้นที่สำหรับผู้สนใจปล่อยของ คือ ตลาดนัดที่บริเวณอาคารศูนย์ปฏิบัติการการบินไทย (OPC) ที่เหล่าพนักงานในการบินไทยไปช็อปปิ้ง เนื่องจากในบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิค่อนข้างจะห่างไกลห้างและแหล่งนั่งชิล ซึ่งขณะนี้ตลาดยังมีสินค้าไม่มากประมาณ 20 ร้านค้า ซึ่งสินค้าที่เป็นที่ต้องการจะเป็นกลุ่มอาหาร สินค้าเพื่อสุขภาพทั้งหลายก็ตอบโจทย์


คนมีทุนอยากทำธุรกิจ

ส่วนคนที่มีทุนและมีความแน่วแน่อยากทำธุรกิจของตัวเองแต่ยังขาดความรู้ก็สามารถไปเข้าคอร์สเป็นผู้ประกอบการอย่าง JAKAWA สถานที่สอนทำกระเป๋า สร้างแบรนด์มาแล้วมากกว่า 10 แบรนด์เน้นปั้นคนที่จะทำธุรกิจจริง ๆ จบแล้วยังขอคำแนะนำเรื่องแบบ แหล่งซื้อวัตถุดิบ เครื่องมือ ถ่ายทอดกันไม่มีกั๊ก รับประกันว่ากำไรต่อใบ 100% แน่นอน ระยะเวลาในการเรียนทั้งสิ้น 30 ชม./คอร์ส เรียนคนเดียวก็สอน ค่าใช้จ่าย 12,000 บาท/คน ซึ่งเรียนแล้วนอกจากจะออกแบบสินค้ากระเป๋าแบบโดนใจตลาดบน นักเรียนยังสามารถต่อยอดสินค้าสู่สินค้าอื่นได้อีก

ส่วนอีกกลุ่มที่สนใจสายกรีน ก็มีคอร์ส การปลูกผักเพื่อสุขภาพ เช่น ฮาร์โมนี่ ไลฟ์ ที่มีคอร์สสำหรับผู้สนใจไปเรียนรู้การทำเกษตรแบบออร์แกนิก ตั้งแต่ระดับเรื่องดิน รู้จักพืช การดูแลพืชที่ไม่ใช้สารเคมี ทำปุ๋ย ซึ่งราคาต่อคอร์สอยู่ที่ 2,000 บาท ใช้เวลา 2-3 วัน หรือแบบระยะยาวก็สามารถไปได้ ซึ่งฮาร์โมนี่ ไลฟ์ ให้ข้อมูลว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหันมาเรียนกันมากขึ้น ผู้สนใจเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.harmonylife.co.th

เคสออกจากงานประจำมาทำธุรกิจเจาะกลุ่มนิชมาร์เก็ตที่ไปได้สวยอย่าง Wear me Natural เสื้อผ้าที่ใช้กรรมวิธีการย้อมแบบธรรมชาติ ของ นางสาวพภัสสรณ์ จิรวราพันธ์ อดีตพนักงานระดับบนของแบรนด์เสื้อผ้าสัญชาติญี่ปุ่น ที่หันมาทำธุรกิจที่มีพื้นฐานมาจากความสนใจเรื่องสุขภาพ และเสื้อผ้า เจาะกลุ่มคนที่ใส่ใจสุขภาพ ชี้ให้เห็นว่า คนกลุ่มนี้มีการขยายตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ และพื้นที่ก็เปิดกว้างไม่ว่าจะเป็นงานสินค้าออร์แกนิกในพื้นที่ห้าง หรืองานตลาดนัดคนรักสุขภาพ ที่กระจายกันจัดสลับทุกเดือน ทำให้เห็นศักยภาพตลาดนิชมาร์เก็ตที่มีความแข็งแกร่ง และมีกำลังซื้อ


รายเล็ก งบน้อย หมุนเร็ว


ส่วนกลุ่มที่ทุนน้อย อยากได้งานหรืออาชีพเร็ว ๆ ก็อาจจะไปเจาะธุรกิจที่เป็นตัวแทนจำหน่าย หรือธุรกิจแฟรนไชส์ก็ได้ พื้นที่ขายเป็นต่างจังหวัดต้องเน้นสินค้าให้ตรงใจ ราคารับไหว เช่น ตัวแทนจำหน่ายเค้กแบบ 3 ชิ้น 100 บาท ถุงเท้าคู่ละ 10 บาท ซึ่งธุรกิจกลุ่มนี้ออกแบบให้เอื้อกับผู้ประกอบการต่างจังหวัด จะไม่บังคับเรื่องทำเล ทำให้ผู้ขายสะดวกเวลาตระเวนขาย

นางสาวธนิศรา ตาสระคู หนึ่งในผู้คนตกงานที่กลับไปใช้ชีวิตในต่างจังหวัด และผันตัวมาเป็นผู้ประกอบการเค้ก ในจังหวัดร้อยเอ็ด เผยว่า สาเหตุที่เลือกเบเกอรี่ เพราะสามารถหลีกหนีคู่แข่งได้เนื่องจากเบเกอรี่สามารถเลือกชนิด เลือกเกรดตลาดได้ และกลุ่มสินค้าเบเกอรี่ยังเติบโตดีในกลุ่มตลาดนัด และต่างจังหวัด แต่ต้องทำราคาไม่ให้สูงเกิน เช่น หากตามร้านกาแฟจะอยู่ที่ 45 บาท แต่ตลาดนัดอยู่ที่ 35 บาท 3 ชิ้น 100 บาท

โดยเค้กที่ฮอตฮิตมากๆ ตอนนี้คือ เค้กเรนโบว์ ซึ่งเป็นเค้กที่ดูฟรุ้งฟริ้ง แปลกใหม่ และทำกำไรได้ดี และลูกค้าที่เป็นคนจับจ่ายตลาดหลักในต่างจังหวัดอย่างผู้ใหญ่ถึงสูงอายุจะนิยมกลุ่มเค้กผลไม้ เช่น เค้กส้ม เค้กมะพร้าว เค้กลูกตาล หรือกลุ่มผลไม้ทั้งหมด

ท้ายที่สุดแล้วแต่ละเคสก็มีความเสี่ยง มีทุนมากก็ไม่แนะนำให้ทุ่มทุนมาก เน้นการค่อย ๆ ขยับขยายปรับตัวให้ตรงตามตลาด หมั่นเช็กเรตติ้ง ไม่หยุดนิ่งเรื่องการพัฒนาสินค้า จึงจะสามารถยืนหยัดได้

อ้างอิงจาก  ประชาชาติธุรกิจ
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
นำโชคลอตเตอรี่ “ธุรกิจ..
3,524
ประมวลภาพสุดยิ่งใหญ่งา..
1,181
คลิ๊กโรบอท เอ็นจิเนียร..
1,028
ธงไชยผัดไทย เปิดโครงกา..
1,015
“นาด้า” ร่วมแข่งขันจิน..
904
ก๋วยเตี๋ยวเรือปัญจะรส ..
760
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด