1.9K
25 กรกฎาคม 2558
มาตรการคุ้มครอง SME จากภาคีเครือข่ายสุขภาพ 13 องค์กร



ตามที่ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.... โดยไม่มีการเปิดรับฟังความเห็นจากสาธารณะหรือ ไม่มีการรับฟังแม้แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

อาทิ กระทรวงสาธารณสุข ทำให้เช้าวันนี้ ตัวแทนภาคีเครือข่ายสุขภาพ 13 องค์กรได้ไปยื่นข้อเสนอแก้ไขร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ...ต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และทำหนังสือถึง ศ.นพ.รัชตะ รัชตนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้เสนอความเห็นประกอบการพิจารณาแก้ไขร่างกฎหมายให้มีความสมบูรณ์ก่อนเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ผศ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) จุฬาฯ กล่าวว่า ร่างกฎหมายนี้มุ่งหวังให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณและป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น แต่ไม่ได้มีมาตรการคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ ธุรกิจชุมชน ธุรกิจขนาดเล็กอย่างเพียงพอ อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งด้านยาและสุขภาพของประเทศไทยได้

"โดยเฉพาะยาเป็นสินค้าคุณธรรม ต้องคำนึงถึงคุณภาพ ความปลอดภัย ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ รวมทั้งข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ การซื้อขายยาเป็นกลไกตลาดที่ไม่สมบูรณ์จึงไม่สามารถใช้กลไกการต่อรองแบบสินค้าทั่วไปมาใช้ในการซื้อขายยาได้จึงต้องมีข้อกำหนดและข้อยกเว้นเฉพาะ ดังนั้นภาคีเครือข่ายสุขภาพ 13 องค์กรจึงต้องทำหนังสือเสนอความเห็นมายังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อให้พิจารณากฎหมายนี้อย่างรอบคอบมากที่สุด


นอกจากนี้ การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐถือเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จึงต้องพิจารณาทั้งเรื่องความโปร่งใส ขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและผู้ประกอบการรายเล็กรายน้อยในประเทศไทย เพราะจะเปิดทางให้ธุรกิจต่างชาติเข้ามาประมูลแข่งขันได้ในทุกระดับ อาจจะนำไปสู่ความล่มสลายของอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการในไทย และทุกอย่างจะอยู่ในความผูกขาดของธุรกิจรายใหญ่และธุรกิจข้ามชาติทั้งหมด"

ทางด้าน นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ชมรมแพทย์ชนบทตั้งข้อสังเกตว่า การพิจารณากฎหมายเป็นไปอย่างเร่งรีบทำตามความต้องการของนักลงทุนต่างชาติตามการกล่าวอ้างของอธิบดีกรมบัญชีกลาง แต่ไม่มีการรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบคอบ จึงเรียกร้องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาต้องเปิดรับฟังและแก้ไขเนื้อหาอย่ารวบรัด

ทั้งนี้ข้อเสนอของภาคีเครือข่ายสุขภาพ 13 องค์กร ประกอบไปด้วย การเพิ่มข้อยกเว้นที่ไม่ใช่บังคับตาม พ.ร.บ. อาทิ การดำเนินการจัดหาในสถานการณ์ภัยพิบัติ ภาวะฉุกเฉิน ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุขของชาติ, การดำเนินการจัดหาที่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท (เพื่อปกป้องธุรกิจชุมชน ธุรกิจขนาดเล็ก), การดำเนินการจัดหายา เวชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์จากหน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจ, การดำเนินการจัดหาสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ของคนไทยเพื่อพัฒนาสินค้าไทย และส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศ


 
การเพิ่มเนื้อหาการจัดซื้อยาที่เคยมีตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยาโดยปรับให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และ การเพิ่มการต่อรองราคาเพื่อประโยชน์ในกรณีดังต่อไปนี้ คือ (1) ราคาที่เสนอสูงกว่าราคากลาง (2) ราคาที่เสนอสูงกว่างบประมาณที่จัดซื้อจัดจ้าง (3) ราคาที่เสนอมีมูลค่าเกินกว่าราคาที่จัดซื้อได้ในตลาดหรือในท้องถิ่น

ภาคีเครือข่ายสุขภาพ 13 องค์กร ประกอบไปด้วย ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.), แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จุฬาฯ (คคส.), มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา (มสพ.), กลุ่มศึกษาปัญหายา (กศย.), มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.), มูลนิธิเภสัชชนบท (มภช.), มูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคม (มภส), หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม (วจภส.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ, ชมรมเภสัชชนบท, ชมรมแพทย์ชนบท และ มูลนิธิพัฒนาการแพทย์แผนไทย (มพท.)

อ้างอิงจาก  news.thaiquest.com
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
1,176
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
793
“เติมพลังความรู้” กับ ..
628
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
604
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
602
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
542
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด