3.4K
1 กรกฎาคม 2558
เคเอฟซี เพิ่มแฟรนไชส์สปีดธุรกิจ/ระดมสินค้า-โปรโมชั่นถี่ยิบ



"เคเอฟซี" เล็งเพิ่มพันธมิตรแฟรนไชส์เปิดเกมรุกสู้ตลาดคิวเอสอาร์แข่งเดือด ระดมสินค้าใหม่-โปรโมชั่นถี่ยิบ ดึงทราฟฟิกดันยอดขาย พร้อมเพิ่มน้ำหนักอีคอมเมิร์ซรับเทรนด์ดีลิเวอรี่โต


นางแววคนีย์ อัสโสรัตน์กุล ผู้จัดการทั่วไปเคเอฟซี ประจำประเทศไทย บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การแข่งขันของตลาดร้านอาหารบริการด่วนปัจจุบันมีความรุนแรงขึ้น เคเอฟซีจึงเน้นทำธุรกิจเชิงรุก

โดยกลยุทธ์ที่สำคัญจากนี้ไป คือ เพิ่มพันธมิตรทางธุรกิจ หรือหาแฟรนไชซีรายใหม่ที่มีศักยภาพในการลงทุนเข้ามาเพิ่ม จากเดิมที่มีเซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป หรือซีอาร์จี เป็นพาร์ตเนอร์ร่วมขยายธุรกิจ ซึ่งการมีพันธมิตรเพิ่มดังกล่าวจะช่วยให้เคเอฟซีมีศักยภาพในการขยายสาขาได้เร็วขึ้น จากปีละ 40-50 สาขา มาเป็นกว่า 60 สาขา ทั้งในเมืองหลักและเมืองรอง

รวมทั้งช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ในระยะยาว ขณะเดียวกัน บริษัทก็จะสามารถเร่งพัฒนาแบรนด์ พัฒนาเมนูอาหาร และปรับปรุงระบบการบริหารร้านให้มีประสิทธิภาพได้มากขึ้น


โดยเบื้องต้นจะนำร้านที่อยู่ในความดูแลของบริษัทประมาณ 120-150 สาขา ทั้งร้านรูปแบบธรรมดาและไดรฟ์ทรู ให้ไปอยู่กับแฟรนไชซีรายใหม่ จากปัจจุบันที่ยัมฯมีสาขาในความดูแล 330 สาขา คาดว่าจะใช้เวลาต่อจากนี้อย่างน้อย 6 เดือนจึงจะได้ข้อสรุปเรื่องพันธมิตรรายใหม่ ขณะที่ซีอาร์จียังคงเป็นพันธมิตรหลักเช่นเดิม ซึ่งขณะนี้เคเอฟซีมีสาขาทั้งสิ้น 532 สาขา ปีนี้จะเปิดเพิ่มอีก 45 สาขา โดยขณะนี้เปิดไปแล้ว 10 สาขา ขณะที่โมเดลไดรฟ์ทรูจะเพิ่มขึ้นเป็น 20 สาขา

นอกจากนี้ เพื่อรองรับการเติบโตของบริการดีลิเวอรี่ที่เป็นสัดส่วนกว่า 9% ของรายได้ จึงจะขยายสาขาบริการดีลิเวอรี่เพิ่มเป็น 254 สาขา จากปัจจุบันที่มี 231 สาขา และจะให้น้ำหนักกับการสั่งอาหารผ่านออนไลน์มากขึ้น ซึ่งขณะนี้การสั่งดีลิเวอรี่ผ่านช่องทางออนไลน์เติบโตขึ้น และมีสัดส่วนประมาณ 36% โดยเร็ว ๆ นี้จะทำหนังโฆษณาออกมาเสริม จากเดิมที่มีเฉพาะการทำโปรโมชั่นราคาเพื่อแนะนำบริการ และคาดว่าการสั่งดีลิเวอรี่ในช่องทางนี้จะเพิ่มเป็น 50-60% ภายในปี 2559


พร้อมกันนี้ นางแววคนีย์ยังกล่าวด้วยว่า สภาพเศรษฐกิจในปีนี้ทำให้การดำเนินธุรกิจค่อนข้างลำบาก มีแบรนด์ใหม่เข้ามาแข่งขันมากขึ้นทั้งแบรนด์ไทยและต่างประเทศ ประกอบกับผู้บริโภควางแผนการใช้เงินมากขึ้น โดยจะจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลหรือวันหยุดยาว และหยุดใช้จ่ายทันทีหลังช่วงเทศกาลนั้น ๆ

"จากเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ไม่ดี และการแข่งขันที่สูง เราจึงต้องจัดโปรโมชั่นถี่ขึ้น คือ ทุก 3 สัปดาห์ จากเดิมที่มีโปรโมชั่นทุก 4-5 สัปดาห์มา ส่วนใหญ่จะเป็นในรูปแบบของการส่งสินค้าใหม่ที่ราคาเข้าถึงง่าย อาทิ ไอศกรีมโคนเจลลี่ 12 บาท โอ้ว เบอร์เกอร์ 45 บาท หรือการนำสินค้าเดิมที่ได้รับความนิยมกลับมาทำตลาดใหม่ อย่างแบล็กเมจิค เบอร์เกอร์ ที่ได้รับการตอบรับที่ดี เพื่อสร้างยอดขายให้เติบโตตามเป้าที่วางไว้ 10%"

อ้างอิงจาก ประชาชาติธุรกิจ
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
980
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
667
“เติมพลังความรู้” กับ ..
599
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
571
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
561
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
523
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด