2.0K
18 เมษายน 2558
กสอ.หนุนสร้างนวัตกรรม หวังSMEsต่อยอดเพิ่มมูลค่าสินค้า



นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เปิดเผยถึงแนวทางการสร้างนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ว่า เป้าหมายหลักในการสร้างนวัตกรรมของเอสเอ็มอี ก็เพื่อผลิตสินค้าทดแทนการนำเข้า เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และจะต้องเป็นนวัตกรรมที่ขายได้

โดยทาง กสอ.ได้ร่วมกับ สถาบันวิชาการทั่วประเทศ ในการนำผลงานวิจัยต่างๆที่ประสบความสำเร็จแล้ว มาสร้างนวัตกรรมใหม่ให้กับผู้ผลิตกลุ่มเอสเอ็มอี

โดยจะเริ่มจากการประชุมโฟกัสกรุ๊ปหรือการจัดกลุ่มพูดคุยในทุกปีก่อนปีงบประมาณ เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่างๆทั่วประเทศว่า ต้องการให้ช่วยเหลือนวัตกรรมด้านใด เมื่อได้ข้อมูลจากผู้ประกอบการแล้ว ก็จะประสานงานไปยังเครือข่ายมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ เข้ามาประสานงานกับผู้ผลิต เพื่อผลิตสินค้าที่มีนวัตกรรมใหม่ๆที่ใช้ได้ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งการแบ่งปันค่าตอบแทนให้กับมหาวิทยาลัยที่เป็นเจ้าของงานวิจัย ซึ่งตั้งแต่เริ่มโครงการมา 5 ปี มีนวัตกรรมใหม่เฉลี่ยปีละ 50 ผลิตภัณฑ์

“ในปี 2558 นี้มีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น เช่น มหาวิทยาลัยเกษตร ได้เข้ามาร่วมกับผู้ผลิตถ่านไม้ สร้างนวัตกรรมใหม่ ผลิตถ่านไม้ไร้ควัน ซึ่งผู้นำเข้าจากญี่ปุ่นได้เข้ามาขอซื้อทั้งหมด จนผลิตไม่ทัน ต้องเร่งขยายโรงงาน และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์เป็น 100%

นอกจากนี้เป็นนวัตกรรมการผลิตรองเท้าเพื่อสุขภาพ การผลิตสาหร่ายในจ.เชียงใหม่ เพื่อนำมาผลิตวัตถุดิบในเครื่องสำอาง ทดแทนการนำเข้า เป็นต้น สามารถสร้างความเข็มแข็งให้กับเอสเอ็มอีในระยะยาว”นายกอบชัย กล่าว



ส่วนในปีงบประมาณ 2559 จะเน้นการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อผลิตสินค้ารองรับตลาดอาเซียน โดยในสัปดาห์หน้า อธิบดี กสอ.จะส่งหนังสือไปยังสถาบันวิจัยต่างๆทั่วประเทศ ให้คัดเลือกผลงานวิจัยนวัตกรรมที่โดดเด่น 5 เรื่อง ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ ส่งเข้ามาที่ กสอ.ภายในเดือนเมษายน 2558 จากนั้นก็จะประชุมโฟกัสกรุ๊ปกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทุกภาคในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2558 เพื่อสำรวจว่าผู้ประกอบการสนใจงานวิจัยชิ้นใดบ้าง จากนั้นก็จะจับคู่ความร่วมมือ เพื่อผลิตเป็นสินค้าต่อไป

นายอนุชิต นาคกล่อม ผู้จัดการด้านการตลาด บริษัท เซ็นเซอร์นิกส์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทเป็นผู้วิจัยออกแบบและผลิตเครื่องจักร เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมทุกประเภท โดยจะรับโจทย์จากลูกค้าว่าต้องการเครื่องจักรอัตโนมัติผลิตสินค้าชนิดใด จากนั้นก็จะออกแบบและผลิตส่งมอบให้กับลูกค้า ซึ่งที่ผ่านมามีบริษัทข้ามชาติหลายรายว่าจ้างให้ผลิตเครื่องจักรประกอบอุปกรณ์เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ และชิ้นส่วนนาฬิกา เป็นต้น โดยลิขสิทธิ์การผลิตจะเป็นของบริษัทผู้ว่าจ้าง

ทั้งนี้บริษัทได้ร่วมกับ กสอ.และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กระจายเทคโนโลยีไปยังพันธมิตรธุรกิจผลิตเครื่องจักร ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งต่างจากการผลิตให้กับบริษัทรายใหญ่ที่มีอำนาจต่อรองมากกว่า โดยการร่วมกับพันธมิตรที่เป็นเอสเอ็มอีจะทำให้บริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว และยังทำให้เอสเอ็มอีไทยมีความเข้มแข็งขึ้น

นอกจากนี้ได้เริ่มจดสิทธิบัตรนวัตรกรรมของตัวเอง รวมทั้งได้เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจจากเดิมที่ทั้งวิจัย ออกแบบและผลิตเครื่องจักรเอง เป็นการนำผลวิจัยและออกแบบส่งไปให้พันธมิตรทางธุรกิจเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรส่งออก ทำให้บริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้น

อ้างอิงจาก  ryt9.com
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
1,027
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
733
“เติมพลังความรู้” กับ ..
604
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
579
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
566
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
524
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด