2.5K
3 ธันวาคม 2557
เทรนด์ปี′58 บริษัท"ใหญ่-กลาง" ฮุบ SMEs สยายปีกต่างประเทศ


กสิกรฯชี้ "ธุรกิจใหญ่-กลาง" จ้องฮุบ "เอสเอ็มอี" โฟกัสกลุ่มอาหาร-อสังหาฯขยายธุรกิจ มองลู่ทางลงทุนต่างประเทศ คาดปีหน้าสินเชื่อรายใหญ่โต 4-6% ตลท.เผย 8 ปี บจ.กลาง-เล็กลุยลงทุน ตปท.เฉียด 1 แสนล้าน นำร่อง 3 หมวดธุรกิจ "ทรัพยากร-เทคโนโลยี-เกษตร"

นางสาวปฐมาภรณ์ นิธิชัย หัวหน้างานฝ่ายวิจัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ในช่วงปี 2549-2556 พบว่าบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่อยู่นอกกลุ่ม 50 อันดับแรก (Non SET50) ซึ่งจัดเป็น กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็ก มีแนวโน้มออกไปลงทุนในต่างประเทศสูงขึ้น โดยในปี 2556 มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 73 บริษัท จากปี 2549 มีจำนวน 40 บริษัทโดย 3 อันดับหมวดธุรกิจที่ออกไปลงทุนต่างประเทศมากที่สุด ได้แก่ หมวดทรัพยากร หมวดเทคโนโลยี หมวดเกษตร

ซึ่งข้อมูลจาก ตลท.รวบรวม ระบุว่า มีทั้ง บจ.ที่ออกไปลงทุนตั้งโรงงาน หรือหาแหล่งทรัพยากรในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน ถือเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยสร้างการเติบโตของบริษัทกลางและเล็กได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการทำกำไรด้วย

"ช่วงที่ผ่านมาเราเห็นสัญญาณการออกไปทำธุรกิจและลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งบริษัทขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโอกาสในต่างประเทศมีเยอะจริงๆ ทั้งในด้านการออกไปขยายตลาดจำหน่ายสินค้า แม้กระทั่งการออกไปหาแหล่งทรัพยากรที่สมบูรณ์ของเพื่อนบ้าน" นางสาวปฐมาภรณ์กล่าว

ทั้งนี้ ข้อมูลในช่วงดังกล่าว พบว่า บจ.ในกลุ่ม Non SET50 มีมูลค่าลงทุนรวมประมาณ 98,870 ล้านบาท ต่ำกว่ากลุ่ม บจ.ใหญ่ (กลุ่ม SET50) ที่ออกไป


นายธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในปีหน้ามีโอกาสที่ธุรกิจรายใหญ่ซึ้อกิจการ และธุรกิจรายกลางควบรวมกิจการกันมากขึ้น เพื่อรับมือกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เนื่องจากหากจะรอการเติบโตจากภายใน (Inorganic Growth) อาจจะไม่ทันการณ์ แม้ราคาสินค้าในตลาดไม่ได้อยู่ในระดับที่เรียกว่าถูก แต่ถือเป็นจังหวะที่ลูกค้ามีความจำเป็นต้องเติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างโอกาสในความได้เปรียบในเชิงธุรกิจ

ทั้งนี้ สินเชื่อธุรกิจรายใหญ่ในปี 2558 ธนาคารตั้งเป้าเติบโตที่ระดับ 4-6% ซึ่งไม่สูงหรือต่ำมากจนเกินไป โดยธนาคารจะไม่เน้นการเพิ่มขนาดสินทรัพย์ให้ใหญ่ขึ้น แต่จะเน้นด้านการสร้างรายได้ค่าธรรมเนียมให้เติบโต ซึ่งจะให้ความสำคัญกับการเป็นที่ปรึกษาและบริการด้านวาณิชธนกิจมากขึ้น

เพื่อรองรับความต้องการเงินทุนทั้งจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การค้า และการลงทุนในเออีซี และการขยายตัวของชุมชนเมือง ขณะเดียวกัน ธนาคารจะเข้าไปส่งเสริมให้ลูกค้าออกไปทำธุรกิจในอาเซียนมากขึ้นทั้งในเชิงการค้าระหว่างประเทศและการลงทุนข้ามชาติ

สอดคล้องกับนายสำมิตร สกุลวิระ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ทิศทางสินเชื่อรายใหญ่ในปี 2558น่าจะขยายตัวได้มากขึ้น โดยเริ่มเห็นผู้ประกอบการรายใหญ่มองหาการซื้อกิจการของลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในประเทศมากขึ้น แทนการลงทุนด้านเพิ่มกำลังการผลิต โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจอาหาร และอสังหาริมทรัพย์


"ในปีหน้าอาจเห็นลูกค้าเอสเอ็มอีถูกซื้อกิจการมากขึ้น เพราะธุรกิจประสบปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ธุรกิจรายใหญ่มองว่าระยะนี้เป็นโอกาสในการขยายฐานลูกค้าและขยายฐานธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่รายใหญ่มาก ๆ ก็จะเห็นการขยายออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นเพื่อรองรับการเปิดเออีซี" นายสำมิตรกล่าว

ด้านธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทย ก็ยังมีแนวโน้มอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยเฉพาะนักลงทุนญี่ปุ่นที่เข้ามาในกลุ่มธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ และอาหาร ซึ่งธนาคารมีการเติบโตของลูกค้าญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้นจากความร่วมมือกับธนาคารท้องถิ่นในญี่ปุ่นที่ส่งลูกค้าเอสเอ็มอีเข้ามาลงทุนในธนาคาร โดยสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่เข้ามาจากลูกค้าญี่ปุ่นมีประมาณ 20,000 ล้านบาท

อ้างอิงจาก ประชาชาติธุรกิจ
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,167
PLAY Q by CST bright u..
1,319
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
945
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
945
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
793
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
769
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด