5.0K
7 ตุลาคม 2557
สินค้าราคาเดียว โตสวนเศรษฐกิจ "เอ-โกะ"ส่งโมเดล20บาท/ปูพรมแฟรนไชส์รอบทิศ


 
"เอ-โกะ" เผยเทรนด์ร้านขายสินค้าราคาเดียวอนาคตใส เดินหน้าขยายแฟรนไชส์ร้าน-ศูนย์กระจายสินค้า ขนสินค้าตามฤดูกาลเสริมทัพ รับมือเศรษฐกิจฝืด มั่นใจสิ้นปียอดเข้าเป้า

นายสุพจน์ เลาหพัฒนวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอกดำรงค์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจค้าส่งและร้านจำหน่ายสินค้าราคาเดียว 20 บาท ทั้งร้าน ภายใต้ชื่อ "เอ-โกะ" เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงภาพรวมของตลาดค้าส่งสินค้าราคาเดียว 20 บาทว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการในตลาดอยู่ประมาณ 4-5 ราย มีมูลค่าตลาดรวมราว 500 ล้านบาท และมีแนวโน้มได้รับความสนใจมากขึ้น แต่ผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา

รวมทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ไม่ดีนัก ส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา มีเม็ดเงินไหลเข้าสู่ตลาดเพียงประมาณ 200 ล้านบาท เนื่องจากผู้ประกอบการรายย่อย โดยเฉพาะร้านค้าในพื้นที่กรุงเทพฯ ระมัดระวังการลงทุน และสั่งซื้อสินค้าลดลง

ที่ผ่านมาตลาดนี้มีการเติบโตค่อนข้างสูง เฉลี่ยปีละประมาณ 50% โดยเฉพาะช่วงปี 2555-2556 เนื่องจากมีผู้ค้าส่งรายใหม่กระโดดเข้ามาเพิ่ม 2-3 ราย และมีร้านค้าปลีกเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ไม่จำเป็นต้องมีทักษะเฉพาะเหมือนร้านกาแฟ หรือร้านอาหาร และมีความเสี่ยงในการสต๊อกสินค้าน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ที่มีความคลี่คลาย และบรรยากาศจับจ่ายดีขึ้น คาดว่าจะช่วยกระตุ้นยอดขายให้ฟื้นตัวกลับมาจนมีมูลค่า 500 ล้านบาท เท่ากับปี 2556 ได้

"ตลาดค้าส่งในกรุงเทพฯ เป็นตลาดที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง เนื่องจากมีผู้เล่นรายใหญ่กระจุกตัวอยู่ ส่วนต่างจังหวัดยังมีช่องว่างอีกมาก เนื่องจากมีผู้เล่นอยู่เพียงบางจังหวัด และแต่ละรายครอบครองพื้นที่ไม่มากนัก"


สำหรับร้านเอ-โกะเอง นายสุพจน์กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจอย่างต่อ เนื่อง ด้วยการนำสินค้าตามฤดูกาลต่าง ๆ เข้ามาเสริม เช่น ร่มและสินค้าสังฆทาน ในช่วงหน้าฝนและเข้าพรรษา ผ้าพันคอในหน้าหนาว ฯลฯ รวมถึงการปรับลดการสั่งซื้อขั้นต่ำ ที่จะได้สิทธิ์ส่งสินค้าฟรีจาก 10,000 บาท เป็น 5,000 บาท ซึ่งช่วยให้ยอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นถึง 20% รวมถึงการเพิ่มงบฯการตลาดจาก 6-7 ล้านบาท เป็น 7-8 ล้านบาท เพื่อโฆษณาในดิจิทัลทีวีและวิทยุ

จากแนวโน้มของตลาดร้าน จำหน่ายสินค้าราคาเดียวที่ได้รับการยอมรับมากขึ้น โดยมีแผนเดินหน้าขยายธุรกิจที่มี 2 โมเดลอย่างต่อเนื่อง ทั้งโมเดลร้านแฟรนไชส์ และโมเดลศูนย์กระจายสินค้า สำหรับร้าน

แฟรนไชส์ ที่ปัจจุบันมีอยู่กว่า 1,600 สาขา ก็ตั้งเป้าจะเปิดให้ได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 150 สาขา ส่วนศูนย์กระจายสินค้า ซึ่งจะทำหน้าที่ดูแลเฟรนไชส์ในจังหวัดนั้น ๆ และจังหวัดใกล้เคียง ปัจจุบันมี 9 แห่ง และระยะยาวต้องการจะขยายให้ครบทั้ง 77 จังหวัด

"ครึ่งปีหลังนี้เราจะมุ่งเน้นพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งที่ผ่านมามีสัดส่วนยอดสั่งซื้อสูงในเกณฑ์สูง โดยจะเน้นการออกบูทตามงานต่าง ๆ เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่ ส่วนศูนย์กระจายสินค้า ตอนนี้มีอยู่ในภาคใต้แล้ว 2 แห่ง ที่นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี และจากภาพรวมทั้งการเมืองและเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้น คาดว่ามียอดขายรวมทั้งปีประมาณ 50-60 ล้านบาท จากครึ่งปีที่ผ่านมายอดขายค่อนข้างแกว่งตัว" นายสุพจน์กล่าว

อ้างอิงจาก ประชาชาติธุรกิจ
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,121
PLAY Q by CST bright u..
1,314
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
945
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
941
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
790
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
769
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด