4.5K
17 กรกฎาคม 2552

รัฐหนุนนักธุรกิจไทยขยายกิจการในแดนซากุระ ชี้สร้างมูลค่าการค้าได้ 6.2 ล้านล้านบาท เจ้าของร้านอาหารไทยชื่อดัง ชี้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ข้าวกล่องขาย ดี จีบพาณิชย์ลุยจัดเทศกาลอาหารไทยในญี่ปุ่นที่มีคนร่วมงานนับแสน เชื่อเอสเอ็มอี แฟรนไชส์ตอบรับกระแสไทยเป็นครัวของโลก

น.ส.พิสมัย ทองไพฑูรย์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ กรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยภายหลังการเปิดสัมมนา "กุญแจสู่ความสำเร็จของนักลงทุนไทยในญี่ปุ่น” ( Key Success Factor of Thai Business in Japan) ว่า การทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทป้า) ในช่วงที่ผ่านมา ได้เน้นการเปิดตัวด้านการค้าและบริการใน 3 สาขา ทั้งการขยายแฟรนไชส์สปาไทย แฟรนไชส์อาหาร และการสนับสนุนธุรกิจบันเทิงในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาพยนตร์ รายการเพลง วีดีโอเกม หรือ animation ก็ได้รับความสนใจจากญี่ปุ่น โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในโตเกียวเป็นอย่างมาก



อย่างไรก็ตาม ในปี 2550 ที่ผ่านมานั้น ธุรกิจแฟรนไชส์มีมูลค่าการค้าทั้งในและต่างประเทศ 67,000 ล้านบาท สามารถนำรายได้เข้าประเทศ 2,000 ล้านบาท โดยหากพิจารณาในส่วนของการขยายตลาดแฟรนไชส์ไปยังญี่ปุ่น สามารถสร้างมูลค่าการขายได้สูงถึง 6.2 ล้านล้านบาท ทั้งนี้คาดว่าในปี 2551 คาดว่าจะนำรายได้เพิ่มขึ้นอีก ร้อยละ 10

“ตลาดญี่ปุ่นเป็นตลาดที่น่าสนใจมาก มีกำลังซื้อสูง แต่ต้องระวังในเรื่องคุณภาพ ปลอดภัย ต้องการความตรงต่อวเลาและความซื่อสัตย์ในการดำเนินธุรกิจ”น.ส.พิสมัย กล่าว


นางพิมใจ มัตสึโมโต ผู้จัดการทั่วไป บริษัท พี.เค.สยาม จำกัด ผู้นำเข้าสินค้า และเปิดร้านอาหารไทย”แก้วใจ”ในญี่ปุ่นกว่า 30 ปี กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจชะลอกระจายไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ญี่ปุ่น โดยดูได้จากการรับประทานอาหารนอกบ้านยังมีอยู่ แต่ปริมาณการสั่งซื้ออาหารกล่องเพิ่มสูงขึ้นมาก จากการทดลองทำตลาดอาหารไทยใส่กล่องแล้ว เปิดให้สั่งซื้อผ่านทางทีวี(ทีวีไดเร็ค) ให้โทรกลับมาภายใน 10 นาทีหลังจากชมโฆษณา ปรากฎว่า มีชาวญี่ปุ่นสั่งซื้อถึง 800 กล่อง จึงประเมินได้ว่า ลู่ทางการทำธุรกิจอาหารไทยยังสามารถเติบโตได้อีกมาก

สำหรับสถานการณ์ขาดแคลนพ่อครัว-แม่ครัวไทยในญี่ปุ่น ปัจจุบันตามข้อตกลงเจเทป้าที่มีผลบังคับใช้ไปแล้ว ให้ปรับลดประสบการทำครัวเหลือเพียง 5 ปี จึงจะเข้าทำงานเป็นพ่อครัวฯได้นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการแจ้งให้เจ้าหน้าที่รับทราบเพื่อทำตามข้อตกลง คาดว่าต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง จึงจะดำเนินการได้ ซึ่งทางเจโทรในไทย รับที่จะเร่งสอบถามความคืบหน้าและประสานงานในเรื่องนี้ให้ เชื่อว่า หากเจ้าหน้าที่ในญี่ปุ่นได้รับแจ้งเป็นทางการแล้ว จะสามารถแก้ไขปัญหาพ่อครัวแม่ครัวไทยขาดแคลนในญี่ปุ่นได้อย่างมาก” นางพิมใจ กล่าว

อย่างไรก็ตามสถาบันวัฒนธรรมไทยศึกษาในช่วงที่ผ่านมา ได้ผลิตบุคลากรที่เป็นพ่อครัว-แม่ครัวเป็นคนญี่ปุ่นได้จำนวนหนึ่งแล้ว และในเดือนมิถุนายน 2551 นี้ กำลังจะเปิดรับรุ่นที่ 2 คาดว่าจะสามารถบรรเทาความขาดแคลนพ่อครัวฯได้ก็ทางหนึ่ง

นอกจากนี้ขอเสนอให้กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน เทศกาลอาหารไทย ณ สวนโยโยจิ ที่เมืองโตเกียว ซึ่งได้รับความสนใจจากชาวญี่ปุ่นจำนวนมากกว่าแสนคนเข้าร่วมงาน จากเดิมที่จัดเพียงปีละ 1 ครั้ง เพื่อการดำเนินงานต่อเนื่องในการดูแลนักธุรกิจไทยที่เข้าไปทำการค้า รวมถึงแฟรนไชส์และเอสเอ็มอี ที่รัฐมีรายชื่ออยู่แล้ว ได้เข้าร่วมงานอย่างกว้างขวางมากขึ้น ตอบสนองกระแสผลักดันประเทศไทยเป็นครัวของโลก


 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
สำนักประชาสัมพันธ์ โทร.(02)507-7932-4
มือถือ 081-837-2751 ยอด, 089-964-7605 นิด


อ้างอิงจาก สำนักงานเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น กระทรวงการต่างประเทศ

ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น เป..
4,992
ชีสซี่ฟราย สแน็ค เปิดต..
4,018
เริ่มแล้ว! งานแฟรนไชส์..
2,896
แรงจริง! #แฟรนไชส์ ก๋ว..
1,617
พบบูธ “ก๋วยเตี๋ยวเรือป..
985
ธงไชยผัดไทย ร่วมกับ 7-..
981
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด