2.1K
4 กุมภาพันธ์ 2557
SME เดี้ยงลูกค้ายกเลิกออร์เดอร์ สอท.นัดกกร.ถกด่วนหาทางช่วย


 
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมฯ ต่างๆ ทั้งรายใหญ่ รายกลาง และรายย่อย ระบุว่า คู่ค้าในประเทศ โดยเฉพาะรายกลางและรายย่อย เริ่มมีปัญหาการจ่ายค่าสินค้าแล้ว บางรายขอชะลอจ่ายเป็นงวดๆ และมีบางรายเริ่มไม่จ่ายค่าสินค้าแล้ว  

เนื่องจากคู่ค้าแจ้งว่า ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การเมือง ไม่สามารถขายสินค้าได้ ทำให้ไม่มีเงินจ่าย ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่น่าห่วง โดยวันที่ 3 ก.พ.นี้ ที่จะประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย ส.อ.ท.สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ส.อ.ท.จะหารือถึงแนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยเฉพาะภาคเอสเอ็มอี ซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะมีเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น
 
“ตอนนี้ไปที่ไหนก็มีแต่เสียงคนมาบ่นให้ฟังว่า ขายสินค้าไม่ค่อยได้ บางรายก็มาบอกว่า พวกผู้ประกอบการกันเองที่สั่งสินค้าแล้วไปขายต่อ เริ่มมีการเบี้ยวหนี้กันแล้ว หรือบางรายจากเดิมก็จ่ายเต็มวงเงิน แต่ตอนนี้ก็ขอทยอยจ่าย บางคนทวงหนี้ก็เงียบหายเลย บอกว่า ขายของไม่ได้ ไม่รู้จะนำเงินที่ไหนมาจ่าย บางรายที่เป็นผู้ส่งออก ก็เริ่มบ่นยอดเออเดอร์ชะลอลงแล้ว ซึ่งตอนนี้ก็ต้องพยายามทำความเข้าใจกับคู่ค้าต่างชาติให้เชื่อมั่นในการสั่งสินค้ากับไทย”นายพยุงศักด์กล่าว
 
ทั้งนี้แนวทางเบื้องต้นที่ ส.อ.ท.จะเสนอช่วยเหลือผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ปัจจุบัน คือ ให้ความรู้ในการลดต้นทุนผลิตสินค้า รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิในการผลิตสินค้า และการหาช่องทางการจำหน่ายเพิ่มเติม  ร่วมกับสมาคมธนาคารไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการร่วมของกกร.ว่า จะมีแนวทางใดช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้บ้าง
 
 
 
ด้านนางเพ็ญทิพย์ พรจะเด็ด นายกสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สมาคมเอสเอ็มอีไทย) กล่าวว่า ได้ส่งแบบสอบถามผลกระทบจากสถานการณ์การเมือง ให้สมาชิกเอสเอ็มอีทั่วประเทศกว่า 8,000 ราย  ระบุเป็นเสียงเดียวกันว่า ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมือง ทำให้ยอดขายชะลออย่างชัดเจน และมีสถานการณ์ชะลอการจ่ายค่าสินค้า หรือจ่ายไม่เต็มวงเงินแล้ว ซึ่งต้องการให้ทุกฝ่าย หาข้อยุติโดยเร็ว เนื่องจากหากสถานการณ์ยืดเยื้อนานเท่าไร ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จะได้รับผลกระทบมากเท่านั้น
 
ทั้งนี้ แนวทางที่ต้องการให้ภาครัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี คือ หาวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้ผู้ประกอบเอสเอ็มอี เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งที่ผ่านมาเคยมีการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยคิดอัตราดอกเบี้ย 3 % รวมทั้งต้องการให้ภาครัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หาช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้ผู้ประกอบการ เนื่องจากขณะนี้ผู้ประกอบการได้รับความเดือดร้อนไม่สามารถขายสินค้าได้ เพราะผู้บริโภค ไม่มีอารมณ์ในการใช้จ่าย

อ้างอิงจาก แนวหน้า
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น เป..
5,007
ชีสซี่ฟราย สแน็ค เปิดต..
4,031
เริ่มแล้ว! งานแฟรนไชส์..
2,896
แรงจริง! #แฟรนไชส์ ก๋ว..
1,617
พบบูธ “ก๋วยเตี๋ยวเรือป..
985
ธงไชยผัดไทย ร่วมกับ 7-..
983
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด