5.0K
24 ธันวาคม 2556
ตู้เติมเงิน มายเปย์ อนาคตแทนเคาน์เตอร์ฯ




 
เป็นเพราะจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีมากกว่า 60 ล้านราย และสัดส่วนตัวเลขระบบพรีเพด (แบบเติมเงิน) สูงกว่าระบบโพสต์เพด (แบบจ่ายรายเดือน) ถึง 80% ส่งผลให้เกิดธุรกิจเกี่ยวเนื่องอย่าง  ตู้เติมเงินออนไลน์ ภายใต้ชื่อ "บุญเติม"

นอกเหนือจากตู้เติมเงิน "บุญเติม" แล้ว ธีรวุฒิ  ขวัญเมืองธีรวุฒิ ขวัญเมือง  หากแต่ในขณะนี้มีตู้เติมเงินสัญชาติลูกผสมไทยกับประเทศรัสเซีย ภายใต้ชื่อ "มายเปย์" (My Pay) ซึ่งประกาศกร้าวว่าเข้ามาทดแทนเคาน์เตอร์เซอร์วิส และมีประสิทธิภาพเหนือกว่า "บุญเติม" อย่างไรก็ตาม "ฐานเศรษฐกิจ" ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ นายธีรวุฒิ  ขวัญเมือง  ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท มายเปย์ จำกัด จึงนับเป็นเรื่องน่าสนใจติดตาม!
  • เหตุผลบุกตลาดตู้เติมเงิน
มายเปย์ ได้เข้ามาทำตลาดเมื่อประมาณ 2 ปี  และได้มีการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่อง และเมื่อระบบเริ่มเสถียรมากขึ้น บริษัทจึงได้เปิดตลาดอย่างเป็นทางการ ซึ่งก่อนหน้านั้นยังไม่เปิดให้บริการทั่วประเทศ และเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มเติมส่งผลให้บริษัทมีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นเพราะตู้เติมเงิน มายเปย์ มีคุณสมบัติแตกต่างจากตู้เติมเงินทั่วๆ ไป การออกแบบดีไซน์ และตู้เติมเงินในปัจจุบันมีข้อจำกัด คือ ทำได้แค่เติมเงินเท่านั้น
  • แตกต่างกว่ารายอื่นอย่างไร
จุดเด่นของ มายเปย์ คือ รับเฉพาะแบงก์เท่านั้น เพราะการเติมเงินแบบหยอดเหรียญร้านค้าต้องมาเสียเวลาในการนับเหรียญ นอกจากนี้ตู้เติมเงิน มายเปย์ ไม่ได้มีข้อจำกัดแต่เพียงเติมเงินในมือถือเท่านั้น แต่ขั้นตอนต่อไปสามารถรับชำระค่าบริการอื่นๆ ได้ เช่น บัตรเครดิต , เกมส์ออนไลน์ และบริการทรูมันนี่ รวมกว่า 40 บริการ  และในอนาคต มายเปย์ จะเข้ามาทดแทนเคาน์เตอร์เซอร์วิส
 
นอกจากนี้แล้วลูกค้าที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เข้ามาเติมเงินในตู้เติมเงิน มายเปย์ จะไม่ถูกหักค่าธรรมเนียม คือ เติมเท่าไหร่ก็ได้เท่านั้น ขณะที่ตู้เติมเงินบางรายคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 2 บาทหมายถึงเติมเงิน 10 บาท ต้องเติม 12 บาท เป็นต้น
  • ทำไมคิดว่าทดแทนเคาน์เตอร์เซอร์วิส
เพราะเคาน์เตอร์เซอร์วิส มีต้นทุนในการบริหารจัดการสูงกว่า มายเปย์ ไม่ว่าจะเป็นค่าแฟรนไชส์ ค่าจ้างพนักงาน แต่ มายเปย์ เปิดให้บริการ 7 วัน และมีพนักงานให้บริการตลอดเวลา และที่สำคัญในขณะนี้ไลฟ์สไตล์คนในเมืองกำลังเปลี่ยนแปลงไป คือ กลับบ้านดึก บางสถานที่ก็หาที่ชำระค่าบริการไม่ได้ ดังนั้น มายเปย์ จะเป็นทางเลือก คือ มีการติดตั้งตู้ที่อพาร์ตเมนต์ หรือคอนโดมิเนียม เป็นต้น
 

 
  • มีกี่รูปแบบและผู้ซื้อได้รายได้อย่างไร
มายเปย์ มีด้วยกัน 2 รูปแบบ แบบที่ 1 ขนาดหน้า 1 จอเครื่องอยู่ที่ 6.9 หมื่นบาท และ แบบที่ 2 จำนวน 2 หน้าจอ 7.9 หมื่นบาท โดยผู้ที่ซื้อตู้หรือเจ้าของสถานที่จะได้รายได้ตู้ละ 5%

มีเมนูหลากหลายภาษาเช่น ภาษาไทย อังกฤษ รัสเซีย เยอรมนี และจีน ปัจจุบันได้มีการติดตั้งไปแล้วจำนวน 500 ตู้  มีทั้งขอไปติดตั้งในสถานที่อาคาร และห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ รวมทั้งการขายตู้ให้กับผู้ที่สนใจ และในปีนี้หลังจากเพิ่มรายการชำระค่าบริการสำหรมีการรับประกันตัวเครื่องตลอดระยะเวลา 1 ปี
  • แผนระยะสั้นและยาว
ในปีแรกคาดว่าจะมี มายเปย์ จำนวนทั้งสิ้น 1,000 ตู้ และภายใน 3 ปี จะติดตั้งเพิ่ม 5 พันตู้ และมีแผนขยายตู้ มายเปย์ ไปยังต่างประเทศ เช่น เมียนมาร์, ลาว และอินโดนีเซีย เป็นต้น
  • อุปกรณ์ใช้ของอะไร
ตู้เติมเงิน มายเปย์ ออกแบบโดยคนไทย ส่วนระบบซอฟต์แวร์มาจากประเทศรัสเซีย เพราะมายเปย์ มีหุ้นส่วนระหว่างคนไทยกับนักลงทุนในประเทศรัสเซีย ซึ่งอุปกรณ์ซอฟต์แวร์มีระบบเสถียรเพิ่มมากขึ้น โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างวิศวกรชาวไทย และวิศวกรจากประเทศรัสเซีย
  • มูลค่าตลาด
มูลค่าตลาดตู้เติมเงินมีมูลค่าหลายพันล้านบาท ขณะที่ มายเปย์ มีส่วนแบ่งทางการตลาด 10%  รายได้ต่อปีอยู่ที่ 100 ล้านบาท และคาดว่าเมื่อมีการเปิดให้บริการ มายเปย์ อย่างเป็นทางการแล้วรายได้จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คือ ประมาณ 200-300 ล้านบาทต่อปี เนื่องจากมีรายการในชำระค่าบริการเพิ่มมากขึ้นถึง 2 เท่า 
 
นอกจากนี้แล้วในอนาคตตู้เติมเงินแบบรุ่นเก่าที่ใช้หยอดเหรียญอาจจะหายไปจากตลาด เพราะการเติมเงินด้วยธนบัตรจะเข้ามาทดแทน นั้นจึงเป็นที่มาที่บริษัทได้พัฒนาตู้เติมเงินเป็นธนบัตร เพราะการเติมเงินด้วยการหยอดเหรียญนั้นอย่างที่บอกเจ้าของร้านต้องมาเสียเวลาในการนั่งนับเหรียญ หรือแม้มีการจ้างคนนอกมานับเหรียญอาจจะเกิดปัญหาเรื่องการนับเหรียญไม่ครบ เป็นต้น
  • ทุนจดทะเบียน
ทุนจดทะเบียนของ มายเปย์ อยู่ที่ 35 ล้านบาท สัดส่วนผู้ถือหุ้น คือ ผู้ถือหุ้นไทย 51% และผู้ถือหุ้นจากประเทศรัสเซีย อยู่ที่ 49%
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,036
PLAY Q by CST bright u..
1,290
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
945
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
941
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
790
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
768
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด