4.8K
22 ธันวาคม 2556
'อโรม่า กรุ๊ป' อัพชาวดอยสู่พรีเมียม

 
 
ตลาดร้านกาแฟแข่งดุ "อโรม่า กรุ๊ป"  ยกเครื่องร้านกาแฟชาวดอยสู่พรีเมียม ยกเลิกโมเดลคีออส ประกาศผนึกพาร์ตเนอร์รุกขยายสาขาต่อเนื่อง ชี้ตลาดร้านกาแฟระดับกลางโตกระฉูด ขณะที่ระดับล่างเริ่มถดถอย  ล่าสุดกวาดรายได้ทะลุ 1.25 พันล้านบาท
 
นายกิจจา วงศ์วารี กรรมการบริหาร  อโรม่า กรุ๊ป  ผู้บริหารร้านกาแฟไนน์ตี้โฟร์ คอฟฟี่ และชาวดอย กว่า 50 ปี เปิดเผยว่า บริษัทปรับภาพลักษณ์ร้านกาแฟสดชาวดอยให้เป็นพรีเมียม โดยเริ่มตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายที่ผ่านมา รวมทั้งยกเลิกการขายแฟรนไชส์ในลักษณะคีออสขนาดเล็ก โดยใช้เงินลงทุน 1.5 -2  แสนบาทขึ้นไป  เพื่อรองรับตลาดร้านกาแฟระดับกลาง อาทิ อเมซอน , อินทนิน , คอฟฟี่ ทูเดย์ ฯลฯ ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา  

โดยเห็นได้จากการขยายสาขาที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ร้านกาแฟระดับล่างเริ่มถดถอย เพราะปัจจุบันลูกค้ารู้จักการเลือกซื้อกาแฟสดจากร้านที่มีการใช้เมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพมากขึ้น
 
สำหรับแผนการขยายสาขาในปีหน้า  บริษัทมีเป้าหมายที่จะขยายสาขาเพิ่มอีก 50 สาขา จากเดิมที่มีอยู่  200 สาขา โดยจะเน้นขยายสาขาในพื้นที่ที่มีศักยภาพสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นในห้างสรรพสินค้า สถานีรถไฟฟ้า BTS และสถานีบริการก๊าซ LPG ในต่างจังหวัด

โดยปัจจุบันกาแฟสดชาวดอยที่ตั้งอยู่ที่สถานีรถไฟฟ้า BTS มีด้วยกันทั้งสิ้น 7 สาขา ได้แก่สถานีหมอชิต สถานีทองหล่อ สถานีช่องนนทรี สถานีสนามกีฬา สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สถานีอารีย์  และสถานีเพลินจิต โดยจะมีการเปิดร้านกาแฟสดชาวดอยบนสถานีรถไฟฟ้า BTS เพิ่มตามส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าในเส้นทางต่างๆ  

สำหรับร้านชานมไข่มุก "ชาวดอย บับเบิ้ลที" จะมีการขยายเพิ่มอีก 30 สาขา จากเดิมที่มีอยู่ 13 สาขา ในขณะที่ร้านกาแฟสดไนน์ตี้-โฟร์ คอฟฟี่ จะมีการขยายเพิ่มอีก 5 สาขา จากที่มีอยู่ 28 สาขา พร้อมขยายร้านอโรม่า ช็อป เพิ่มอีก 18 สาขา จากเดิมที่มีอยู่ 27 สาขาทั่วประเทศ
 
 
 
ด้านการลงทุนบริษัทใช้งบลงทุน 50 ล้านบาทในการขยายพื้นที่โรงงานที่จังหวัดฉะเชิงเทราอีก 2 พันตารางเมตร ซึ่งจะแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2557 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเพิ่มกำลังการผลิตเมล็ดกาแฟคั่วบดเพิ่มอีก  50%  เป็น 4 พันตันต่อปี  จากเดิมที่มีกำลังการผลิตอยู่ที่ประมาณ 2 พันตันต่อปี นอกจากนี้จะเน้นการพัฒนาและผลิตสินค้ากลุ่มเครื่องดื่มที่ไม่ได้อยู่ในร้านกาแฟ (Non-Coffee) มากขึ้น  โดยแบ่งสัดส่วนไลน์การผลิตเป็นสินค้าประเภท Coffee 65% และ Non Coffee 35%  และปรับเปลี่ยนสัดส่วนเป็น 50 : 50  ในปี 2558
 
นายกิจจา  กล่าวอีกว่า บริษัทเจรจาเพิ่มพันธมิตรคู่ค้ารายใหม่ ที่อยู่ในช่องทางค้าปลีกที่มีกว่า 300 สาขา และเรสเตอรองท์ เชน (Restaurant Chain) รายใหญ่ที่มีมากกว่า 200 สาขาทั่วประเทศ เพื่อจัดส่งวัตถุดิบและเครื่องชงกาแฟให้ตลอดทั้งปี  ซึ่งคาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2557 ทั้งนี้จากการมีคู่ค้ารายใหม่เพิ่มเข้ามา  จะสามารถชดเชยรายได้แทนที่รายได้ที่บริษัทจัดส่งให้กับร้านคาเฟ่ อเมซอน ของปตท. ซึ่งจะหมดสัญญาในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ซึ่งมีสัดส่วนรายได้ราว  20%
 
ทั้งนี้ผลประกอบการของบริษัทในปีนี้ คาดว่าจะมีรายได้ 1.25 พันล้านบาท แบ่งสัดส่วนเป็นรายได้จากการจำหน่ายวัตถุดิบ 70% รายได้จากการนำเข้าและจำหน่ายเครื่องชงกาแฟ 20% อาทิ แบรนด์ เอ็กซ์โพบาร์ (Expobar) เวก้า (Wega) เฟม่า (Faema) และ โทริโน่ (Taurino) ส่วนที่เหลืออีก 10%  เป็นรายได้จากการจำหน่ายอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงธุรกิจแฟรนไชส์และการบริการ

อ้างอิงจาก ฐานเศรษฐกิจ
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,174
PLAY Q by CST bright u..
1,319
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
945
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
945
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
793
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
769
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด