2.7K
16 มกราคม 2551
ชี้ธุรกิจแฟรนไชส์มีเซอร์ไพร์ส โตสวนกระแสเศรษฐกิจ

ผอ.IRF ระบุปี 50 ธุรกิจแฟรนไชส์ทรุด เพราะภาพติดลบ ชี้ปีนี้ มีสิทธิ์กลับมาขยายตัว เพราะมนุษย์เงินเดือนอาจพบวิกฤตต้องหันมาทำธุรกิจส่วนตัว เตือนแฟรนไชส์ลงทุนต่ำยังอันตราย กระตุ้นภาครัฐเร่งวางมาตรฐาน
 
นายพีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจการค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล (IRF) มหาวิทยาลัยศรีปทุม เผยว่า ภาครวมธุรกิจแฟรนไชส์ไทยในปีที่ผ่านมา (2550) มีอัตราขยายตัวลดลงประมาณ 8-10% เทียบระหว่างธุรกิจที่เลิกล้มกิจการไป กับธุรกิจเกิดขึ้นใหม่แล้ว รวมเหลือธุรกิจแฟรนไชส์ประมาณ 408 ราย จากต้นปีที่จำนวน 456 ราย มูลค่าการลงทุนลดลงทุนเหลือ 72,000 ล้านบาท จาก 84,000 ล้านบาท ซึ่งเหตุผลสำคัญมาจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อธุรกิจแฟรนไชส์ต่ำลง 
 
ส่วนในปี 2551 เชื่อว่า ธุรกิจแฟรนไชส์จะกลับมาเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 20% สวนกระแสกับสภาพเศรษฐกิจโดยรวมที่คาดว่าจะซบเชาต่อเนื่อง เพราะพื้นฐานของธุรกิจแฟรนไชส์ คือ ช่วยเปิดโอกาสสร้างธุรกิจ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องออกจากงานประจำมาสร้างธุรกิจส่วนตัว โดยใช้ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นช่องทาง รวมถึง ปัจจัยทางการเมืองที่มีแนวโน้นชัดเจนขึ้น อาจช่วยให้นักธุรกิจกล้าจะลงทุนกับธุรกิจแฟรนไชส์เพิ่มขึ้นด้วย 
 
 
 
 
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ในปี 2550 ที่ผ่านมา ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยยังมีอัตราการล้มตาย สูงถึง 26.2% เกือบทั้งหมดจะเป็นธุรกิจแฟรนไชส์แบบลงทุนต่ำ ไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งขาดระบบบริหารแฟรนไชส์อย่างแท้จริง

ดังนั้น ภาครัฐควรเข้ามาให้ความสำคัญกับการสร้างมาตรฐานแก่ธุรกิจแฟรนไชส์ในทุกๆ ด้าน โดยอาจทำให้เกิดองค์กร หรือการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งของผู้ประกอบการแฟรนไชส์ที่มีคุณภาพ และหวังว่า สถาบันการเงินจะเข้ามาสนับสนุนสินเชื่อ เพื่อลงทุนกับแฟรนไชส์ที่ได้มาตรฐาน 
 
 
 
 เร่งดันแฟรนไชส์ไทยโกอินเตอร์ บุก 4 ประเทศเดินหน้าจับคู่ธรุกิจ
 
กรมพัฒนาธุรกิจฯ เผยปีที่ผ่านมา แฟรนไชส์ไทยจับคู่ต่างแดนสำเร็จกว่า 33 ราย ตั้งเป้าปีนี้ขยายโดยใช้ระบบที่ปรึกษา เสริมศักยภาพก่อนพาบุกตลาด เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น และจีน คาดจับคู่สำเร็จไม่น้อยกว่า 30 ราย 

นายคณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า เพื่อส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ไทยก้าวไปสู่ตลาดต่างประเทศ กรมพัฒนาธุรกิจฯ ได้จัดโครงการแฟรนไชส์ไทยสู่แฟรนไชส์โลก โดยดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ ทั้งการเขียนแผนธุรกิจ การตลาด การบริหารระบบแฟรนไชส์ ฯลฯ ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2544 รวมแล้วมีผู้ประกอบการ เข้าร่วมกว่า 400 ราย และผ่านหลักสูตรแล้วกว่า 100 ราย 
 
ส่วนระยะที่ 2 คือ พาผู้ประกอบการทดลองตลาดโดยออกโรดโชว์ ทั้งในประเทศ และคัดเลือกแฟรนไชส์ที่มีศักยภาพ ไปเปิดตลาดต่างประเทศ ซึ่งปีที่ผ่านมา (2550) เกิดการจับคู่ธุรกิจกับต่างชาติกว่า 33 ราย เช่น โชคดี ติ๋มซำ คอฟฟี่ เมคเกอร์ เป็นต้น 
 
สำหรับปี 2551 นี้ ด้านให้ความรู้จะดำเนินการต่อเนื่อง แต่จะปรับรูปแบบให้กระชับขึ้น รวมถึง นำระบบเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านออนไลน์มาใช้ควบคู่กันไป ตั้งเป้าจะมีผู้ประกอบการเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 400 ราย 
 

 ส่วนด้านภาคสนามก่อนจะพาสู่ตลาดจริงจะเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการ โดยใช้ระบบที่ปรึกษาประกบแบบเฉพาะตัวต่อตัว เพื่อเสริมศักยภาพตามความสามารถ และความเหมาะสมของผู้ประกอบการแต่ละราย 
 
ทั้งนี้ การพาผู้ประกอบการไทยไปศึกษาตลาด และจับคู่ธุรกิจในปีนี้ มีตลาดเป้าหมาย 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น และจีน ซึ่งจะเดินทางในช่วงระหว่างกลางเดือนมกราคมเป็นต้นไปถึงปลายเดือนเมษายน ตั้งเป้าเกิดการจับคู่ธุรกิจไม่น้อยกว่า 25-30 ราย
 
กระตุ้นแฟรนไชส์ไทยรวมกลุ่ม สร้างมาตรฐาน สกัดแฟรนไชส์เถื่อน
 
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชี้แฟรนไชส์ไทยไม่รุ่ง เพราะผปก.ยังขาดความรู้ในระบบอย่างแท้จริง รวมถึงขาดความน่าเชื่อถือจากปัญหาแฟรนไชส์เถื่อน กระตุ้นรวมกลุ่มสร้างมาตรฐาน ใช้จรรยาบรรณสร้างความน่าเชื่อถือในสังคมธุรกิจ พร้อมสานต่อโครงการแฟรนไชส์ไทยสู่แฟรนไชส์โลก พาบุกตลาดเวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น และจีน ตั้งเป้าเกิดการเจรจาธุรกิจไม่น้อยกว่า 25-30 ราย
 
นายคณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ปัญหาที่กระทบให้ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยยังไม่เติบโตเท่าที่ควร คือ ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทยยังขาดความรู้และประสบการณ์ในธุรกิจ แฟรนไชส์อย่างแท้จริง

อีกทั้ง ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยยังไม่เป็นที่น่าเชื่อถือในสังคมธุรกิจ ซึ่งเกิดจากปัญหาผู้ประกอบการบางรายแอบอ้าง การทำธุรกิจแฟรนไชส์เพื่อหลอกลวงผู้บริโภค 
 
แนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว ส่วนหนึ่งภาครัฐต้องเข้าไปช่วยเหลือ เช่น ออกกฎหมายแฟรนไชส์ เพื่อดูแลและป้องกันธุรกิจแฟรนไชส์เถื่อน ซึ่งเวลานี้อยู่ระหว่างยกร่างเสนอพิจารณาต่อคณะรัฐมนตรี และอีกทางตัวผู้ประกอบการแฟรนไชส์เองต้องร่วมกันอย่างชัดเจน และเข้มแข็ง เพื่อสร้างมาตรฐานให้เกิดความน่าเชื่อถือ โดยการทำธุรกิจอย่างโปร่งใส มีจรรยาบรรณ และประสบความสำเร็จได้จริง 
 
“การออกกฎหมายมีขั้นตอนที่ต้องใช้เวลามาก ดงนั้น ถ้าผู้ประกอบการร่วมมือกันจริง จะสามารถสร้างกติกาของสังคมธุรกิจแฟรนไชส์ได้ ซึ่งอาจจะดีกว่าการออกเป็นกฎหมายด้วยซ้ำ” นายคณิสสร กล่าว 
 
ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจแฟรนไชส์ไทย สามารถก้าวไปสู่ตลาดต่างประเทศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้จัดโครงการแฟรนไชส์ไทยสู่แฟรนไชส์โลก โดยดำเนินการเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 
 
 

ระยะแรกให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ ทั้งการเขียนแผนธุรกิจ การตลาด การบริหารระบบแฟรนไชส์ ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2544 รวมแล้วมีผู้ประกอบการแฟรนไชส์ เข้าร่วมกว่า 400 ราย และผ่านหลักสูตรกว่า 100 ราย 

ส่วนระยะที่ 2 คือ ส่งเสริมภาคสนามโดยพาไปโรดโชว์ ทั้งในประเทศ และคัดเลือกแฟรนไชส์ที่มีศักยภาพ จำนวน 25-30 ราย ไปเปิดตลาดประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปีที่ผ่านมา (2550) เกิดการจับคู่ธุรกิจแล้วกว่า 33 ธุรกิจ เช่น โชคดี ติ๋มซำ คอฟฟี่เมคเกอร์ เป็นต้น 
 
สำหรับปี 2551 นี้ ในด้านให้ความรู้จะดำเนินการต่อเนื่อง แต่จะปรับรูปแบบให้กระชับขึ้น รวมถึง นำระบบการเรียนรู้ผ่านออนไลน์มาใช้ควบคู่กันไป ตั้งเป้าจะมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 400 ราย ส่วนด้านภาคสนามก่อนพาสู่ตลาดจริงจะเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการไทย

โดยใช้ระบบที่ปรึกษาประกบแบบเฉพาะตัวต่อตัว เพื่อเสริมศักยภาพให้พร้อมปรับตัวสู่สากล โดยจะจัดหลักสูตรตามความสามารถ และความเหมาะสมของผู้ประกอบการแต่ละราย 
 
ทั้งนี้ การพาผู้ประกอบการไทยไปศึกษาตลาด และจับคู่ธุรกิจในปีนี้ มีตลาดเป้าหมาย 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดยาม อินเดีย ญี่ปุ่น และจีน ซึ่งจะเดินทางในช่วงกลางเดือนมกราคม ถึงปลายเดือนเมษายน ตั้งเป้าจะให้เกิดการจับคู่ธุรกิจไม่น้อยกว่า 25-30 ราย
 
 
 
 
ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,164
PLAY Q by CST bright u..
1,319
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
945
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
945
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
793
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
769
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด