4.7K
27 มีนาคม 2555
นมมะลิปรับทัพก้าวสู่รีจินอลแบรนด์ จับมือพันธมิตร "ตปท."ผลิตนมป้อนตลาดอาเซียน



"นม มะลิ" พลิกสถานการณ์ เข้าสู่ยุคใหม่สู่ตลาดอาเซียน ทุ่ม 2 พันล้านตั้งโรงงานผลิตใหม่ เพิ่มกำลังผลิต 2 เท่ารองรับเออีซี หลังจมน้ำมิดปีก่อน คาดกลับมาผลิตเต็มที่ปีหน้า ถือโอกาสหาพันธมิตรโรงงานนมต่างประเทศตั้งฐานผลิต-โออีเอ็มป้อนตลาดอาเซียน ภายในปี"58 เล็ง 2-3 ประเทศหลัก หวังโตก้าวกระโดด ด้านตลาดในประเทศ เตรียมฉลอง 50 ปีครึ่งหลัง ตั้งเป้ายอดปีนี้แตะ 5 พัน ล.


มหา อุทกภัยที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว จนถึงขณะนี้หลายโรงงานที่ได้รับผลกระทบยังไม่สามารถฟื้นฟูกำลังการผลิตได้ และอาจจะต้องใช้เวลายาวนานร่วมปีทุกอย่างถึงจะกลับมาสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางวิกฤตดังกล่าวก็กลายเป็นโอกาสสำคัญให้กับบางบริษัทในการคิดใหม่ทำ ใหม่ รวมถึงปรับโครงสร้าง จัดองค์กรใหม่เพื่อรองรับการแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะเพื่อรองรับการแข่งขันในตลาดอาเซียนในอนาคต


นาย สุวิทย์ ผลวิวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท อุตสาหกรรมนมไทย จำกัด ผู้ผลิตและ จำหน่ายนมข้นหวานภายใต้แบรนด์มะลิ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้โรงงานผลิตของมะลิที่นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดอยุธยา ยังอยู่ระหว่างการฟื้นฟูและประเมินความเสียหายจากทางบริษัทประกัน ถึงขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการผลิตได้ คาดว่าต้องใช้เวลาอีก 2-3 เดือนจะเริ่มกลับมาผลิตได้บางส่วน เพื่อลดภาระการนำเข้าซึ่งต้นทุนสูงขึ้น 10% ในระหว่างรอเครื่องจักรใหม่ที่จะเข้ามา ที่ผ่านมาตั้งแต่ต้นปีบริษัทแก้ปัญหาด้วยการนำเข้าสินค้าเกือบทุกตัวเข้ามา เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาด ซึ่งปัจจุบันมะลิมีส่วนแบ่งตลาด 50% จากมูลค่าตลาดนมข้นหวาน 6,000 ล้านบาท


ทั้งนี้ บริษัทอยู่ระหว่างตัดสินใจว่าจะย้ายฐานผลิตไปที่นิคมอุตสาหกรรมอื่น หรือว่าฟื้นฟูโรงงานที่บางปะอิน เพราะขณะนี้

คาด ว่าต้องสร้างโรงงานขึ้นใหม่ทั้งหมดเพราะความเสียหายรุนแรง ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปีจึงกลับมาผลิตได้ โดยขณะนี้กำลังพิจารณา 2 ทางเลือกระหว่างฟื้นฟูโรงงานเดิมที่นิคมอุตสาหกรรมบางปะอินกับย้ายไปที่นิคม แห่งใหม่ ซึ่งน้ำหนักขณะนี้มุ่งไปที่การย้ายนิคมมากกว่า โดยเน้นที่มีท่อก๊าซธรรมชาติผ่าน อาทิ สระบุรี ชลบุรี หรือนครราชสีมา เป็นต้น


นายสุ วิทย์กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับโรงงานผลิตของมะลิซึ่งก่อตั้งมา 50 ปี ถือเป็นโอกาสให้บริษัทกลับมาปรับทิศทางบริษัทใหม่ และจะเป็นจุดเปลี่ยนของบริษัทถือเป็นความท้าทายครั้งใหม่ ท้าทายถึงขนาดว่าจากนี้มะลิจะไม่ใช่เพียงบริษัทคนไทยเท่านั้น แต่เข้าไปมีบทบาทในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี โดยโรงงานแห่งใหม่นี้จะเป็นโจทย์ใหม่เพื่อรองรับการส่งออกไปยังตลาดอาเซียน คาดว่าต้องใช้งบฯลงทุนไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท ขยายกำลังผลิตเพิ่มขึ้น 2 เท่า จากเดิมผลิตได้อยู่ที่ 5-6 ล้านลังต่อปี คาดว่าต้องใช้พื้นที่ 80-100 ไร่

"โรงงานแห่งใหม่จะรองรับอนาคตข้างหน้าอีกยาวไกล เหมือนเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ของเรา คิดใหม่ทำใหม่ทุกอย่าง เดิมเราก็ยังเป็นบริษัทคนไทยอยู่อย่างนี้ วิกฤตที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาทำให้เราเห็นโลกทัศน์ข้างนอกมากขึ้น ก่อนหน้านี้มีข้อจำกัดเรื่องกำลังผลิต เพราะเป็นโรงงานเก่าอายุ 50 ปี อันนี้สร้างใหม่ ทุบทิ้ง"

ปัจจุบัน บริษัทมีการนำเข้านมจากเวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ รวม 4 ประเทศ 6 โรงงาน ในจำนวนหลายแสนลังเพื่อรองรับความต้องการในประเทศ ซึ่งอนาคตจะค่อย ๆ ลดจำนวนลงเมื่อบริษัทกลับมาผลิตได้ แต่บางโรงงานจะมีการร่วมมือกันในระยะยาวในด้านการผลิต อาทิ การจ้างผลิตแบรนด์มะลิเพื่อป้อนตลาดอาเซียน หรือการลงทุนร่วมกันเพื่อตั้งฐานการผลิตในประเทศนั้น ๆ ภายในปี 2558

"ทันที เริ่มผลิตในประเทศได้ นำเข้าก็น้อยลง เหลือแต่โรงงานที่จะคบกันระยะยาว มีแผนต่อเนื่องในอนาคตในแง่กำลังผลิตเพื่อรองรับตลาดต่างประเทศ มองไว้ 2-3 ประเทศ จากเดิมเราส่งออกจากไทยอย่างเดียว

"ถ้าน้ำไม่ท่วมเราจะคิดถึงตรงนี้ได้อย่างไร มันก็จะเปิดโอกาสให้เราอีกเยอะ โรงงานละแวกนี้ ยกตัวอย่างโรงงานที่เวียดนามผลิตแล้วส่งกัมพูชาได้เลย เพราะมันติดกัน"

นายสุวิทย์กล่าวว่า ขณะนี้เป็นช่วงการหาพันธมิตร และอนาคตมีแผนเข้าไปร่วมสร้างแบรนด์มะลิในประเทศต่าง ๆ ที่สินค้าวางจำหน่าย โดยตั้งเป้าเติบโตอย่างก้าวกระโดดหลังเปิดเออีซีในปี 2558


ฉลอง 50 ปี-ลุยแฟรนไชส์รถเข็น

สำหรับ แผนการตลาดในประเทศปีนี้เน้นทำเฉพาะที่จำเป็น คาดว่าจะมีการจัดกิจกรรมครบรอบ 50 ปีในช่วงครึ่งปีหลัง เพราะการผลิตบางส่วนจะเริ่มกลับมาได้ เป็นการปรับแผนจากเดิมตั้งเป้าจัดกิจกรรมอย่างยิ่งใหญ่ โดยปีนี้คาดว่ายอดขายจะอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท แบ่งเป็นนมข้นหวานมะลิ 4,500 ล้านบาท และอื่น ๆ อีก 500 ล้านบาท จากปีที่แล้วตั้งเป้า 5,000 ล้านบาท แต่เติบโตต่ำกว่าที่วางไว้ 10-20% ตั้งแต่เดือนมีนาคมสถานการณ์นมข้นหวานเริ่มกลับมาสู่ภาวะปกติ เพราะทั้งมะลิและคู่แข่งหลักคือเอฟแอนด์เอ็น ต่างใช้วิธีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ คาดว่าเอฟแอนด์เอ็นจะเริ่มกลับมาผลิตได้ในเร็ว ๆ นี้

ทั้งนี้ ธุรกิจที่จะเน้นมากขึ้นปีนี้คือแฟรนไชส์รถเข็นมะลิจากการเปิดตัวเมื่อ 2 ปีก่อน ปัจจุบันมีสมาชิก 500 ราย
บริษัทจะรุกหนักขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ตั้งเป้าเพิ่มสมาชิกปีละ 1,000 ราย ซึ่งตลาดยังมีโอกาสอีกมหาศาล

อ้างอิงจาก ประชาชาติธุรกิจ
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,242
PLAY Q by CST bright u..
1,334
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
951
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
949
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
797
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
770
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด