8.6K
6 กรกฎาคม 2554
โออิชิ ปิดทิ้งแบรนด์ย่อยไม่คุ้มค่า คืนสิทธิ์ไมโดะ-ชูร้านใหม่นิกุยะ 
 
 

 
โออิชิ ปรับเกมรุกธุรกิจกลุ่มอาหาร เลิกทำตลาดพร้อมปิดทิ้งแบรนด์ที่ไม่คุ้มค่า นำร่องปิดทิ้งอินแอนด์เอ้าท์ และ ร้านไมโดะ พร้อมคืนแฟรนไชส์ไมโดะสิ้นปีนี้ ส่วนโออิชิแกรนด์ปิดรีโนเวตใหญ่ แต่ย้ำยังหาโอกาสแบรนด์ใหม่ต่อเนื่อง ปีนี้ทุ่ม 300 ล้านบาท ขยายอีก 30 แห่ง
       
นายไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯวางแนวทางการทำธุรกิจกลุ่มอาหารจากนี้ไปจะเน้นเฉพาะแบรนด์ที่ทำรายได้และมีศักยภาพ ส่วนแบรนด์ที่ไม่ได้รับการตอบรับหรือยอดขายไม่ดีก็จะเลิกทำตลาดไป แต่ยังคงมีการขยายแบรนด์ใหม่ต่อเนื่อง

       
“ก่อนหน้านี้เราขยายตัวเยอะมาก เหมือนกับใยแมงมุมคือดักลูกค้าไปหมดทุกทาง แต่เมื่อมาทำจริงๆแล้วก็พบว่า บางอันมันได้แต่น้ำมากกว่าเนื้อ เราต้องปรับตัว โฟกัสเอาเฉพาะที่เป็นครีมเท่านั้น แบรนด์เล็กแบรนด์น้อยที่ไม่ดีก็ตัดทิ้งไป แต่เรายังคงความเป็นคิงส์ออฟแจแปนเหมือนเดิม
       
สำหรับแบรนด์ที่จะยกเลิกการทำตลาดคือ ร้านไมโดะ ซึ่งเปิดไปแล้ว 3 สาขาที่ ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ฟู้ดแชนแนลสีลมและเดอะมอลล์บางแค และเตรี่ยมจะปิดทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้ พร้อมคืนสิทธิ์แฟรนไชส์ให้กับเจ้าของที่ญ่ปุ่น เนื่องจากยอดขายไม่ดีไม่ได้รับการตอบรับจากตลาดเท่าที่ควร

       
ส่วนอีกแบรนด์คือ ร้านอินแอนด์เอ้าท์ ที่ทยอยปิดไปหมดแล้วก่อนหน้านี้ทั้งหมด 9 สาขา เนื่องจากปริมาณสาขาน้อยเกินไปไม่คุ้มค่าต่อโรงงานที่ผลิตขนมปังและเบเกอรี่ออกมา จึงปรับแผนหันไปผลิตและจำหน่ายเฉพาะในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นเท่านั้นชื่อแบรนด์ เบรคแอนด์ฟาสต์
       
อย่างไรก็ตาม แบรนด์ใหม่ที่เตรียมเปิดตัวรุกตลาดจากนี้คือ ร้านนิกุยะ ที่พัฒนาขึ้นมาเองไม่ได้ซื้อแฟรนไชส์ โดยปรับเปลี่ยนมาจากร้านเดิมที่ชื่อ กริลล์แอนด์มอร์ที่ล็อกโฮมทองหล่อ ซึ่งได้เปลียนไปแล้ว เป็นบุฟเฟต์สไตล์ญี่ปุ่น คนละ 450 บาท ทาน 2 ชั่วโมง และปีนี้คาดว่าจะเปิดใหม่รวมเป็น 3 สาขาคือที่ เซ็นทรัลรัตนาธิเบศร์ ยูดีทาวน์อุดรธานี
       
นอกจากนั้นอยู่ระหว่างการเจรจากับแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งงภายในปีนี้คาดว่าจะเปิดตัวได้อีกอย่างน้อย 1 แบรนด์ ส่วนโออิชิแกรนด์บุฟเฟ่ต์ที่สยามดิสคัฟเวอรี่รี่นั้นจะปิดบริการวันที่ 3 ก.ค.ท่าผนมา เพื่อรีโนเวตใหญ่ คาดใช้เวลา 1 เดือน ด้วยงบ 15 ล้านบาท หลังเปิดบริการมา 6 ปีแล้ว คิดค่าบริการ 550++ บาท เวลากลางวัน และราคา 650 ++ บาท เวลากลางคืน

       
สำหรับปีนี้ตั้งงบลงทุนไว้รวม 300 ล้านบาท ไม่รวมกับแบรนด์ใหม่ที่จะขยาย คาดว่าจะเปิดสาขาใหม่ปีนี้ไม่ต่ำกว่า 30 สาขา เน้นไปที่ร้านชาบูชิ คาดปีนี้เปิดอีก 15 สาขา ร้านคาโซกูเตะ เปิดปีนี้ 5 สาขา เปิดไปแล้ว 3 สาขา ปัจบันมี 7 สาขา โดยปัจจุบันมีสาขารวมทั้งหมด 129 สาขา แยกเป็น บุฟเฟ่ต์ทุกแบรนด์ 17 สาขา, ชาบูชิ 43 สาขา, โออิชิราเมง 34 สาขา, ร้านคาโซกูเตะ 7 สาขา, ร้านไมโดะ 3 สาขา, ล็อคโฮม 1สาขา, ซูชิบาร์ 18 สาขา และคาดว่าถึงสิ่นปีนี้จะมีสาขาครบ 150 สาขา
       
“ร้านแบบบุฟเฟ่ต์ยังไปได้ดี ตลาดตอบรับอยู่ แต่ปัญหาตอนนี้คือ ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นมาก แต่บุฟเฟ่ต์เป็นอะไรที่มาร์จิ้นต่ำ คาดว่าอาจจะมีการขึ้นราคาประมาณ 1-2% ในเร็วๆนี้ เพราะเราแบกภาระมาตั้งแต่ต้นปีแล้ว วัตถุดิบสูงขึ้นเนื่องจากว่า เกิดอุทกภัย และภัยธรรมชาติทั้งไทยและต่างประเทศ โรคระบาดในหลายประเทศ” นายไพศาลกล่าว
       
อย่างไรก็ตาม จากการปรับแผนธุรกิจใหม่นี้ คาดว่าปีนี้กลุ่มอาหารจะมีรายได้รวมประมาณ 5,000 ล้านบาท เติบโตจากปีที่แล้ว 25% ซึ่งไตรมาสแรกนี้ทำรายได้แล้ว 1,100 ล้านบาท
 
 
อ้างอิงจาก ผู้จัดการออนไลน์
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,144
PLAY Q by CST bright u..
1,316
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
945
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
942
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
792
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
769
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด