449
6 ธันวาคม 2565
สสว. จัดกิจกรรม SME ปัง ตังได้คืน สัญจร ปทุมธานี
 
นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการ สสว.
 
นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดกิจกรรม “SME ปัง … ตังได้คืน” ปีงบประมาณ 2566 ว่า กิจกรรมในวันนี้ เกิดขึ้นเนื่องจาก สสว. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมเอสเอ็มอีของประเทศ โดยทำหน้าที่เชื่อมโยงแผน นโยบาย โครงการและมาตรการที่สำคัญ ของหน่วยงานต่างๆ ในการส่งเสริมเอสเอ็มอี รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายการให้บริการส่งเสริมเอสเอ็มอี การประสานความร่วมมือในการส่งต่อผู้ประกอบการในพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมา สสว. มีมาตรการและโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง
 
โดยในปีงบประมาณ 2566 ได้เน้นการดำเนินมาตรการเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ ในการสร้างโอกาสใหม่ๆ ที่เป็นมาตรการหลักที่สำคัญของ สสว. คือ มาตรการสนับสนุนให้เอสเอ็มอีเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ซึ่ง สสว. ได้พัฒนาระบบขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเพื่อการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ในชื่อ Thai - SME GP เพื่อเป็นช่องทางหลักให้เอสเอ็มอี สามารถเข้าถึงตลาดภาครัฐ และได้รับสิทธิประโยชน์ที่ช่วยให้สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการอื่น ๆ ได้มากขึ้น
 
นายวีระพงศ์ เผยอีกว่า นอกจากนี้ อีกหนึ่งมาตรการที่ สสว. กำลังเริ่มดำเนินการคือ การพัฒนาและยกระดับระบบสนับสนุนและเชื่อมโยงระบบนิเวศเพื่อการประกอบธุรกิจ โดยดำเนินโครงการ One ID ด้วยการพัฒนาระบบ Single Sign On เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้สามารถเข้าถึงการส่งเสริมสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐได้สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง “สสว. ยังมีมาตรการที่สำคัญ คือ “มาตรการ SME ปัง ตังได้คืน” ภายใต้โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS หรือ Business Development Service เพื่อต้องการช่วยให้เอสเอ็มอีได้มีโอกาสเข้าถึงการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ

รวมทั้งช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนายกระดับศักยภาพในด้านต่าง ๆ แก่ผู้ประกอบการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกบริการที่ตรงกับความต้องการและเหมาะสมกับธุรกิจรวมถึงสามารถเปรียบเทียบราคาบริการ และต่อรองราคาจากหน่วยงานต่าง ๆ บนระบบ BDS ได้ด้วยตนเอง และ สสว. จะช่วยอุดหนุนค่าใช้จ่ายแบบร่วมด้วยช่วยจ่าย (Co-Payment) ในสัดส่วนร้อยละ 50 – 80 ตามขนาดของธุรกิจ ซึ่งมีวงเงินสูงสุดถึงรายละ 200,000 บาท”นายวีระพงศ์กล่าว
 
ผอ.สสว. เผยอีกว่า สำหรับผู้ให้บริการทางธุรกิจบนระบบ BDS ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ให้บริการทางธุรกิจชั้นนำของประเทศกว่า 90 หน่วยงาน ขณะนี้ได้ขึ้นบริการแล้วกว่า 120 บริการ และ สสว. จะเร่งสร้างเครือข่ายผู้ให้บริการธุรกิจ และเพิ่มบริการใหม่ ๆ ให้มากขึ้น เพื่อให้รองรับกับความต้องการในด้านต่าง ๆ ของผู้ประกอบการตามที่ได้กำหนดไว้
 
โดยเฟสแรก ที่ผ่านมา สสว. ได้เปิดให้เอสเอ็มอี ขอรับบริการโดยเน้นการสนับสนุนค่าใช้จ่ายใน 3 หมวดคือ 1.การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าบริการ 2.การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายและการตลาด และ 3. การพัฒนาตลาดต่างประเทศ
 
สำหรับปีงบประมาณ 2566 สสว. จะเน้นในเรื่องการขยายหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบการที่เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมโครงการได้ง่ายขึ้น รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการขนาดกลางเข้าร่วมโครงการ โดยขยายระยะเวลาให้เอสเอ็มอี ยื่นข้อเสนอการพัฒนาได้ถึง 31 ส.ค. 2565 ซึ่งขณะนี้ มีหน่วยงานที่เป็นผู้ให้บริการทางธุรกิจบนระบบ BDS ได้ขึ้นบริการแล้วกว่า 90 หน่วยงาน ได้ขึ้นบริการแล้วกว่า 120 บริการ ซึ่ง สสว. จะเร่งสร้างเครือข่ายธุรกิจผู้ให้บริการ และเพิ่มบริการใหม่ให้มากขึ้นต่อไป
 
โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS (Business Development Service) ในปีงบประมาณ 2566 หรือ SME ปัง ตังได้คืน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้ได้รับโอกาสในการเข้าถึงการบริการสนับสนุนด้านการพัฒนาธุรกิจในรูปแบบใหม่ ที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี สามารถเลือกรับการบริการ หรือรับการพัฒนากับผู้ให้บริการทางธุรกิจ (Business Development Service Provider : BDSP) ในด้านที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจของตน
 
โดย สสว.จะอุดหนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการ SME โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เป็นนิติบุคคล หรือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จดทะเบียนกับหน่วยงานภาครัฐ มุ่งเน้นกลุ่มท่องเที่ยว/อาหาร-เครื่องดื่ม-ยา-สมุนไพร/ BCG / เกษตรแปรรูป เป็นต้น และ ผู้ให้บริการทางธุรกิจ : ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การเอกชน

ซึ่งจากการดำเนินการที่ผ่าน ได้เน้นการสนับสนุนในหมวดการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ และการพัฒนาช่องทางการจำแหน่ายและการขายและการพัฒนาตลาดต่างประเทศ เช่น ค่าใช้จ่ายเตรียมความพร้อมเข้าสู่มาตรฐาน / การประเมินสถานที่ ค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์ ประเมินต่าง ๆ / สอบเทียบเครื่องมือทุกประเภท ค่าใช้จ่ายในการขอมาตรฐาน ค่าใช้จ่ายเพื่อเตรียมความพร้อม ช่วยเหลือเพื่อให้ได้มาซึ่งการขึ้นทะเบียนใบรับรอง ใบอนุญาต หรือทะเบียนต่าง ๆ เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจตามที่กฏหมายกำหนดค่าใช้จ่ายในการแสดงสินค้า เป็นต้น
 
และในปีนี้ สสว. ได้สร้างเครือข่ายผู้ให้บริการธุรกิจ และเพิ่มบริการใหม่ ๆ ให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสในการประกอบธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ กลุ่ม Micro SME ที่จะสามารถเข้าไปใช้ในการผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานในราคาต้นทุนการดำเนินงานไม่สูงและสามารถทำเป็นครั้ง ๆ ได้ หรือ กลุ่ม SE กลุ่ม SE+ และ กลุ่ม M สามารถใช้บริการทดลองเพื่อผลิตสินค้าหรือใช้บริการเครื่องจักร หรือเทคโนโลยีระดับสูงเพื่อทดสอบการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าและมาตรฐานสูง


อ้างอิง MGRonline.com
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,144
PLAY Q by CST bright u..
1,317
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
945
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
942
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
792
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
769
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด