4.3K
25 มกราคม 2550
จุดคุ้มทุน สิ่งที่ผู้ประกอบการ Franchise ควรรู้

 
 
ปัญหาสำคัญหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในการดำเนินธุรกิจ คือยังขาดความ เข้าใจในเรื่องของ “จุดคุ้มทุน หรือ Break-Even Point” โดยมักจะมีความเข้าใจว่า เมื่อใดก็ตาม ที่ตนเองมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการเท่ากับ รายจ่ายที่ตนจ่ายออกไป

ซึ่งอาจจะคิดกัน เป็นรายเดือนหรือรายปีก็ตาม ก็ถือว่าตนเอง “คุ้มทุน” ความเข้าใจดังกล่าวนั้นก็อาจจะถือว่าเป็นจริงได้ในบางกรณีเท่านั้น แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว การ “คุ้มทุน” ในความเข้าใจของผู้ประกอบการมักจะไม่ใช่ “จุดคุ้มทุน” ของธุรกิจที่แท้จริง 
 
“จุดคุ้มทุน” 
 
มีความหมายถึง จุดหรือระดับของรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ ที่เท่ากับต้นทุนที่ธุรกิจได้จ่ายออกไป หรือจุดหรือระดับของรายได้ที่ธุรกิจ “เท่าทุน” โดยส่วนที่เลยจุดหรือระดับของรายได้ดังกล่าวคือผลกำไรที่ธุรกิจ จะได้รับ
 
ตัวอย่างเช่น ถ้าธุรกิจหนึ่งมีการผลิตสินค้าเพื่อขายจำนวน 10,000 ชิ้นต่อเดือน ราคาที่ตั้งขายชิ้นละ 100 บาท ดังนั้นถ้าธุรกิจนี้ขายสินค้า ได้ทั้งหมด หรือทั้ง 10,000 ชิ้น ธุรกิจจะมีรายได้จากการขายสินค้า ดังกล่าวเท่ากับ 1,000,000 บาท ต่อเดือน

โดยถ้าจากการคำนวณจุด คุ้มทุนมีค่าเท่ากับร้อยละ 60 ก็จะหมายความว่า ถ้าธุรกิจสามารถสร้างยอดขายได้ 600,000 บาท ต่อเดือน หรือขาย สินค้าได้ 6,000 ชิ้น รายได้ที่เกิดขึ้นจะเท่ากับต้นทุนที่ธุรกิจจ่ายออกไป

ในการผลิตสินค้าและต้นทุนการขายและบริหารในธุรกิจทั้งหมด โดย ส่วนที่มากกว่า 600,000 บาทต่อเดือน หรือมียอดขายสินค้า 6,000 ชิ้นนี้ เป็นส่วนที่ธุรกิจจะได้รับเป็นผลกำไร ขึ้นอยู่ว่าจะขายสินค้าที่มีได้ หมดหรือไม่
 

ถ้าธุรกิจมีรายได้หรือจำนวนสินค้าที่ขายได้น้อยกว่าระดับจุดคุ้มทุน ดังกล่าว ธุรกิจจะประสบกับสภาวะขาดทุน ทำให้การทราบถึงจุดคุ้มทุน ของธุรกิจ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการควรรู้และตระหนักถึงความสำคัญ

เพราะบ่อยครั้งที่ผู้ประกอบการไม่ทราบว่าธุรกิจของตนต้องดำเนินการขาย สินค้าหรือบริการ ในจำนวนเท่าใดจึงจะคุ้มกับต้นทุนที่ตนเองจ่ายออกไป ในแต่ละเดือน ซึ่งทำให้กระบวนการในการวางแนวทางการเงิน และการ วางแผนทางการตลาดเกิดข้อผิดพลาด เพราะไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับจุดคุ้มทุน นั่นเอง
 
นอกจากนี้การมีความเข้าใจเกี่ยวกับจุดคุ้มทุนในการดำเนินธุรกิจนั้น ยังเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยในการตัดสินใจสำหรับผู้ประกอบการในการดำเนิน ธุรกิจอีกด้วย เช่น การตัดสินใจในการผลิตสินค้า การตัดสินใจในการบริหาร จัดการ การตัดสินใจในการเลือกทำเลที่ตั้งของธุรกิจ เป็นต้น
 
การคำนวณหาจุดคุ้มทุนนี้ ก็ไม่ใช่เรื่องยากต่อการคำนวณสำหรับผู้ ประกอบการแต่อย่างใด เนื่องจากมีตัวแปรที่ใช้ในการคำนวณเพียง 3 ตัว แปรหลักๆ เท่านั้น คือ ต้นทุนคงที่ ต้นทุนผันแปร และยอดขายสินค้า หรือบริการ เท่านั้น

หรืออาจเป็นการคำนวณในลักษณะของจำนวนรวม หรือเป็นราคาต่อหน่วยก็ได้ คือ ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยของสินค้า ต้นทุน ผันแปรต่อหน่วยของสินค้า และราคาขายต่อหน่วยของสินค้า ซึ่งก็ประยุกต์ มาจากตัวแปรหลักเบื้องต้นนั่นเอง
 
แต่จุดที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังมีความสับสนจะเป็นเรื่องของ อะไร คือต้นทุนคงที่ อะไรคือต้นทุนผันแปร เพราะถ้าไม่เข้าใจในเรื่องของความ แตกต่างในเรื่องของลักษณะและการกำหนดต้นทุนทั้ง 2 ประเภท

ก็จะ ทำให้ผลลัพธ์ในการคำนวณจุดคุ้มทุนมีความผิดพลาด และไม่สามารถ นำมาใช้ในการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง ดังนั้นก่อนที่จะรู้ ถึงวิธีการคำนวณจุดคุ้มทุนจึงต้องทำความเข้าใจกับต้นทุนทั้ง 2 ประเภท ก่อน เป็นเบื้องต้น
 
 
 

ต้นทุนผันแปร (Variable Cost or VC) : 
 
ต้นทุนผันแปร หรืออาจเรียกกันว่าต้นทุนแปรผัน คือ ต้นทุนที่เกิด ขึ้นโดยมีค่าผันแปรไปตามยอดขายสินค้าหรือบริการ หรืออาจกล่าวแบบ ง่ายๆ ว่าต้นทุนผันแปรจะเกิดขึ้นถ้ามีการขายสินค้าหรือบริการ

โดย ต้นทุนแปรผันนี้ยังอาจแบ่งย่อยออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ต้นทุนแปรผัน ในส่วนการผลิต และต้นทุนแปรผันในการขายและบริหาร ต้นทุนผันแปรในส่วนการผลิต
 
ได้แก่ ต้นทุนที่จะที่เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการผลิตสินค้าหรือบริการ ตัวอย่าง เช่น
  • วัตถุดิบ (Materials)
  • แรงงานการผลิต (Labor)
  • สินค้าสำเร็จรูปซื้อ มาเพื่อการผลิต (Finished Goods for Production)
  • ค่าโสหุ้ยหรือค่าใช้ จ่ายในการผลิต (Production Overhead) เป็นต้น
ในส่วนแรงงานการผลิต นั้นจะคิดเฉพาะแรงงานที่จะมีค่าจ้างหรือค่าใช้จ่ายเมื่อมีการผลิตเท่านั้น ส่วนพนักงานประจำ เช่น ผู้จัดการฝ่ายการผลิต วิศวกร ช่างเทคนิค ที่ ต้องมีการจ่ายเงินเดือนประจำอยู่แล้ว จะนับเป็นต้นทุนคงที่ รวมถึงค่าเช่า ที่ดิน ค่าเช่าอาคารโรงงาน ซึ่งไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการหรือไม่ ก็ต้อง จ่ายค่าเช่าก็จะนับเป็นต้นทุนคงที่เช่นเดียวกัน
 
ต้นทุนผันแปรในส่วนการขายและบริหาร
 
ได้แก่ ต้นทุนที่จะที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับการขายและบริหาร ซึ่งโดยส่วน ใหญ่แล้วจะมาจากเงื่อนไข นโยบาย หรือข้อกำหนดของธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น ค่านายหน้า (Commission) ซึ่งถ้าไม่มีการขายสินค้าหรือบริการ ก็จะไม่เกิดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ หรืออาจจะเป็นค่าใช้จ่ายด้านการตลาด ได้แก่ ค่าโฆษณา ค่าประชาสัมพันธ์ ค่าเลี้ยงรับรอง เป็นต้น

เช่น ตั้งค่าใช้จ่าย ดังกล่าวไว้ที่ 3% ของยอดขายสินค้า ก็จะถือเป็นต้นทุนต้นทุนผันแปรใน ส่วนการขายและบริหาร โดยถ้าเป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่มีการกำหนด ไว้เป็นจำนวนที่แน่นอน ซึ่งไม่มีความสัมพันธ์กับยอดขายหรือใช้เพื่อการ บริหารให้นับเป็นต้นทุนคงที่ 
 
ต้นทุนคงที่ (Fix Cost or FC) :
 
ต้นทุนคงที่ จะเป็นต้นทุนที่มีลักษณะตรงข้ามกับต้นทุนผันแปร กล่าว คือ ไม่ว่าจะมีการขายสินค้าหรือให้บริการหรือไม่ก็ตามก็จะเกิดต้นทุนใน ส่วนนี้ขึ้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นในส่วนของการขายและบริหาร เป็นส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนเช่นเดียวกัน คือ ต้นทุนคงที่ในส่วนการผลิต และต้นทุนคงที่ในการขายและบริหาร
 
ต้นทุนคงที่ในส่วนการผลิต
 
โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องของค่าเช่าที่ดินในโรงงานหรือสถานประกอบ การการผลิต ค่าเช่าอาคารโรงงานการการผลิต ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ต่างๆ ที่ตั้งไว้ในจำนวนแน่นอน รวมถึงเงินเดือนพนักงานประจำในฝ่าย งานการผลิต เป็นต้น
 
ต้นทุนคงที่ในการขายและบริหาร
 
โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องของใช้จ่ายในด้านการบริหารจัดการ เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าเช่าส่วนร้านค้า ค่าเช่าอาคารสำนักงาน ค่าสาธารณูปโภค พื้นฐาน ค่าภาษีต่างๆ ค่าธรรมเนียมทางราชการ ซึ่งต้องจ่ายเป็นประจำ ทุกเดือน รวมถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายที่กำหนดไว้ในจำนวนที่แน่นอน โดยไม่ สัมพันธ์กับยอดขายสินค้าหรือบริการในการขาย หรือการบริหารจัดการ ของธุรกิจก็นับเป็นต้นทุนคงที่เช่นเดียวกัน
 
ในการพิจารณาเกี่ยวกับต้นทุนดังกล่าวว่าต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายใด ว่า จะเป็นต้นทุนผันแปรหรือต้นทุนคงที่ จะพิจารณาจากกิจกรรมที่ก่อให้เกิด ต้นทุนนั้นขึ้นว่าจากแหล่งใด เช่น มาจากส่วนการผลิต หรือมาจากส่วน ของการขายและบริหาร หรือพิจารณาจากความสัมพันธ์ของต้นทุนที่เกิด ขึ้นกับการขายสินค้าหรือบริการเป็นสำคัญ

โดยต้นทุนใดก็ตามที่เกิดขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงตามยอดขายสินค้าหรือบริการจะถือเป็นต้นทุนผันแปร ส่วนต้นทุนใดก็ตามที่ไม่เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงตามยอดขายสินค้าหรือ บริการ จะถือว่าเป็นต้นทุนคงที่ โดยการคิดมูลค่าต้นทุนแปรผันและ ต้นทุนคงที่นั้น สามารถคิดเป็นจำนวนมูลค่ารวมทั้งหมด

เช่น ต้นทุนผันแปร รวมของธุรกิจ ต้นทุนคงที่รวมของธุรกิจ รายได้รวมของธุรกิจ หรือเป็น ต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าก็ได้ เช่น ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย ต้นทุนคงที่ ต่อหน่วย ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย ราคาขายต่อหน่วย โดยมีสูตรการคำนวณ จุดคุมทุนได้ดังนี้ คือ
 
จุดคุ้มทุน = ต้นทุนคงที่รวม / (รายได้จากขายสินค้า - ต้นทุนผันแปรรวม) ผลลัพธ์ที่ได้ จะเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขายที่ต้องการเปรียบเทียบ กับยอดขายรวม จุดคุ้มทุน = ต้นทุนคงที่ต่อหน่วย / (ราคาขายสินค้าต่อหน่วย - ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย) ผลลัพธ์ที่ได้ จะเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขายที่ต้องการเปรียบเทียบ กับยอดขายรวม จุดคุ้มทุน = ต้นทุนคงที่รวม / (ราคาขายสินค้าต่อหน่วย - ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)
 
ผลลัพธ์ที่ได้ จะเป็นจำนวนหน่วยของสินค้าที่ต้องขายเพื่อให้ถึงจุด คุ้มทุน
 
เพื่อให้เห็นลักษณะของการประยุกต์ในการใช้ประโยชน์จากการคำนวณ หาจุดคุ้มทุน ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ จึงขอยกตัวอย่างพอสังเขปเพื่อให้เข้า ใจเกี่ยวกับการคำนวณหาจุดคุ้มทุนดังนี้ คือ
 
 
 
ตัวอย่างที่ 1 
 
มีธุรกิจประเภทเดียวกัน 2 ธุรกิจ โดยผู้ประกอบการทั้ง 2 รายคือ ธุรกิจ A และธุรกิจ B มีรายจ่ายต่อเดือนเท่ากันคือ 1,000,000 บาท และมีรายได้จากการขายสินค้าต่อเดือนเท่ากันคือ 1,200,000 บาท แต่ ธุรกิจ A มีต้นทุนคงที่เท่ากับ 400,000 บาท ต้นทุนผันแปร 600,000 บาท ในขณะที่ ธุรกิจ B มีต้นทุนคงที่เท่ากับ 600,000 บาท ต้นทุน ผันแปร 400,000 บาท เมื่อมาคำนวณหาจุดคุ้มทุนของธุรกิจทั้งสองจะได้ ผลลัพธ์ดังนี้ คือ
 
จุดคุ้มทุนธุรกิจ A เท่ากับ 400,000 / (1,200,000 - 600,000) = 66.67% จุดคุ้มทุนธุรกิจ B เท่ากับ 600,000 / (1,200,000 - 400,000) = 75.00% จะเห็นได้ว่าการดำเนินการของธุรกิจ A มีประสิทธิภาพดีกว่าธุรกิจ B กล่าวคือขายสินค้าเพียง 2 ใน 3 คือ 66.67% ก็ถึงจุดคุ้มทุนของธุรกิจ ในขณะที่ ธุรกิจ B ต้องขายสินค้าให้ได้ถึง 3 ใน 4 คือ 75.00% จึงจะถึง จุดคุ้มทุนของธุรกิจ

ทั้งที่ธุรกิจทั้งสองรายมีรายจ่ายที่เท่ากันในแต่ละเดือน ก็ตาม โดยถ้าพิจารณาจากธุรกิจ B ที่มีจุดคุ้มทุนเท่ากับ 75% คือมียอด รายได้ 900,000 บาท (1,200,000 x 75%) โดยจะเป็นรายได้ที่ชดเชย ส่วนของต้นทุนคงที่ของธุรกิจที่ต้องจ่าย 600,000 บาท และชดเชยส่วน ต้นทุนผันแปร 300,000 บาท (400,000 x 75%) ได้พอดี คือธุรกิจ เท่าทุนหรืออยู่ในจุดคุ้มทุน
 
ตัวอย่างที่ 2
 
มีผู้ประกอบการรายหนึ่งต้องการผลิตสินค้าออกขายในตลาด โดยถ้า เลือกสินค้าแบบ A มีต้นทุนผันแปรต่อหน่วยในการผลิต 50 บาทต่อชิ้น โดยประมาณการว่าสามารถขายสินค้า A ได้จำนวนประมาณ 10,000 ชิ้น ต่อเดือน ในราคาขาย 100 บาทต่อชิ้น โดยธุรกิจมีต้นทุนคงที่ใน

การดำเนินการของธุรกิจ แต่เลือกสินค้าแบบ B มีต้นทุนผันแปรต่อหน่วย ในการผลิต 70 บาทต่อชิ้น โดยประมาณการว่าสามารถขายสินค้า B ได้ จำนวนประมาณ 10,000 ชิ้นต่อเดือนเช่นกัน ในราคาขาย 120 บาท ต่อชิ้น ทั้งการเลือกผลิตสินค้า A และ B ธุรกิจมีค่าใช้จ่ายเป็นต้นทุนคงที่ เท่ากัน คือ 300,000 บาทต่อเดือน เมื่อมาคำนวณหาจุดคุ้มทุนของการ เลือกผลิตสินค้าทั้งสองแบบจะได้ผลลัพธ์ดังนี้ คือ 
 
จุดคุ้มทุนในการผลิตสินค้า A เท่ากับ 300,000 / (1,000,000 - 500,000) = 60.00% จุดคุ้มทุนในการผลิตสินค้า B เท่ากับ 300,000 / (1,200,000 - 700,000) = 60.00% จะเห็นได้ว่าการผลิตสินค้า A จะมีจุดคุ้มทุนที่เท่ากับการเลือกผลิตสินค้า B

กล่าวคือ ไม่มีความแตกต่างกันในแง่ของจุดคุ้มทุนระหว่าง การผลิตสินค้า A หรือการเลือกผลิตสินค้า B แต่อย่างไรก็ตามในประเด็นของจุดคุ้มทุน ที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับรายได้ ซึ่งสัมพันธ์กับความสามารถทางการ ขายสินค้าและบริการ
 
นอกเหนือจากต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรดังกล่าว ดังนั้นในกรณี ที่ผู้ประกอบการเลือกที่จะลงทุนเพิ่มโดยการจ้างพนักงานขายในลักษณะ พนักงานประจำซึ่งเป็นต้นทุนคงที่ โดยมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวอีก เดือนละ 50,000 บาท

แต่จะทำให้ยอดขายสินค้าตามประมาณการเปลี่ยน ไป คือ สินค้า A จะขายได้ 14,000 ชิ้นต่อเดือน ในขณะที่สินค้า B จะสามารถ ขายได้ 12,000 ชิ้นต่อเดือน จุดคุ้มทุนที่เปลี่ยนไปคือ จุดคุ้มทุนในการ ผลิตสินค้า A เท่ากับ 350,000 / (1,400,000 - 700,000) = 50.00% และจุดคุ้มทุนในการผลิตสินค้า B เท่ากับ 350,000 / (1,440,000 - 840,000) = 58.33% ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการเลือกผลิตสินค้าแบบ A เพราะมีจุดคุ้มทุนที่ต่ำกว่า เป็นต้น
 
ตัวอย่างที่ 3
 
มีผู้ประกอบการรายหนึ่งต้องการตัดสินใจในการเลือกที่ตั้งร้านค้าใน 2 ทำเล โดยมีขนาดของพื้นที่ร้านค้าและการตกแต่งภายในที่เหมือนกัน โดยแต่ละทำเลที่ตั้งเสนอเงื่อนไขการเช่าที่แตกต่างกันในเรื่องของค่าเช่า แต่เนื่องจากลักษณะของทำเลที่ตั้งที่ต่างกันนี้ ทำให้ผู้ประกอบการประมาณ การเกี่ยวกับยอดขายสินค้าที่แตกต่างกัน โดยเงื่อนไขที่เสนอของทำเลทั้ง สองแห่ง มีรายละเอียดดังนี้
 
ทำเล A มีการคิดค่าเช่ารายเดือนเดือนละ 30,000 บาท แต่เนื่อง จากอยู่ในทำเลร้านค้าที่ห่างจากถนนใหญ่ ผู้ประกอบการคาดว่าจะสามารถ ขายสินค้าได้ประมาณ 7,000 ชิ้นต่อเดือน ทำเล B มีการคิดค่าเช่ารายเดือนเดือนละ 100,000 บาท แต่ทำเล ร้านค้าอยู่ติดกับถนนใหญ่ ผู้ประกอบการคาดว่าจะสามารถขายสินค้าได้ ประมาณ 10,000 ชิ้นต่อเดือน
 
โดยผู้ประกอบการมีต้นทุนผันแปรในการผลิตสินค้า เท่ากับ 50 บาท ต่อชิ้น และต้นทุนคงที่ในส่วนของพนักงานและค่าใช้จ่ายอื่นๆเท่ากับ 200,000 บาทต่อเดือน
 
โดยตั้งราคาขายสินค้าเท่ากับ 100 บาทต่อชิ้น ซึ่งเมื่อคำนวณต้นทุน คงที่จากการเลือกทำเลร้านค้า A เท่ากับ 230,000 บาท (200,000+30,000) ต้นทุนผันแปรในการผลิตสินค้า เท่ากับ 350,000 บาท (7,000 x 50) และรายได้เท่ากับ 700,000 บาท (7,000 x 100)

และในลักษณะเดียว กันสำหรับทำเลร้านค้า B คือ ต้นทุนคงที่จากการเลือกทำเล B เท่ากับ 300,000 บาท (200,000+100,000) ต้นทุนผันแปรในการผลิตสินค้า เท่ากับ 500,000 บาท (10,000 x 50) และรายได้เท่ากับ 1,000,000 บาท (10,000 x 100) ซึ่งเมื่อคำนวณเพื่อเปรียบเทียบหาจุดคุ้มทุนใน ทั้งสองทำเลร้านค้าจะได้ผลลัพธ์ดังนี้คือ
 
จุดคุ้มทุนของทำเลร้านค้า A เท่ากับ 230,000 / (700,000 - 350,000) = 65.71% จุดคุ้มทุนของทำเลร้านค้า B เท่ากับ 300,000 / (1,000,000 - 500,000) = 60.00%
 
จะเห็นได้ว่าการเลือกลงทุนในทำเล B ผู้ประกอบการจะมีจุดคุ้มทุน ที่ต่ำกว่าทำเล A กล่าวคือ ใช้ความสามารถในการขายที่ต่ำกว่า ซึ่งหมาย ถึงความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจที่น้อยกว่า แม้ว่าจะมีต้องลงทุนในค่าเช่า รายเดือนแพงกว่าทำเลที่ A ถึงกว่า 3 เท่าก็ตาม

ซึ่งเป็นทางเลือกใน การตัดสินใจหนึ่งของผู้ประกอบการในการเลือกลงทุน โดยยอมเลือกทำเล ร้านค้า B ซึ่งแพงกว่าจากจุดคุ้มทุนที่ต่ำกว่า เพราะสามารถขายสินค้า หรือมีรายได้ มาชดเชยค่าเช่าซึ่งเป็นต้นทุนคงที่ซึ่งมากกว่าทำเลร้านค้า A เป็นต้น
 
จากตัวอย่างข้างต้นทั้งหมดทั้ง 3 ตัวอย่าง เป็นเรื่องของการประยุกต์ ใช้และประโยชน์บางประการ จากวิธีการคำนวณจุดคุ้มทุนในการดำเนิน ธุรกิจ โดยข้อเท็จจริงแล้วยังมีวิธีการคำนวณหาจุดคุ้มทุนแบบอื่นๆ อีก เช่น จากกำไรส่วนเกิน (Marginal Profit)

แต่จะไม่กล่าวถึงไว้ในที่นี้ เนื่องจาก วิธีการดังกล่าวก็เป็นหลักการพื้นฐานเดียวกันกับวิธีการเบื้องต้น เพียงแต่ ที่มาของตัวเลขอาจมีความซับซ้อนในการเข้าใจต่อผู้ประกอบการ อีกทั้ง คำตอบจากการคำนวณหาจุดคุ้มทุนก็เป็นคำตอบเดียวกัน โดยสิ่งที่เป็น ปัญหาสำหรับธุรกิจที่ต้องระวัง คือเรื่องของต้นทุนคงที่ของธุรกิจ ซึ่งยิ่งต้น ทุนคงที่มีค่ามากเท่าใดย่อมส่งผลให้ธุรกิจมีจุดคุ้มทุนที่สูงมากขึ้นไป เท่านั้น รวมถึงความสามารถในการขายสินค้าที่เป็นเกณฑ์ตัวหนึ่งในการ พิจารณาถึงจุดคุ้มทุนในการตัดสินใจ

เนื่องจากความสามารถในการขาย สินค้าก็ถือเป็นประเด็นสำคัญ เพราะถ้าธุรกิจสามารถขายสินค้าได้สูงหรือ มีรายได้ที่มากขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนคงที่ที่สูงมากตามไปด้วย ธุรกิจอาจยอมเลือกที่จะเลือกธุรกิจที่มีจุดคุ้มทุนสูงกว่าก็เป็นได้ ถ้า ความสามารถในการขายมากกว่าจุดคุ้มทุนที่คำนวณได้ เพราะด้วยการ เลือกดังกล่าวธุรกิจสามารถสร้างผลกำไร (รายได้ หักต้นทุนคงที่ หัก ต้นทุนผันแปร) ที่สูงกว่าหรือมากกว่า
 
ตัวอย่างเช่น มีผู้ประกอบการรายหนึ่งต้องการเลือกจะทำธุรกิจ โดยจากการคำนวณ ธุรกิจ A มีจุดคุ้มทุนที่ 60% มีผลกำไรเท่ากับ 1 ล้านบาท ธุรกิจ B มีจุดคุ้มทุนที่ 67% มีผลกำไรที่ 1.5 ล้านบาท ผู้ประกอบ การอาจเลือกทำธุรกิจ B แม้ว่าจะมีจุดคุ้มทุนสูงกว่าธุรกิจ A ถ้าผู้ประกอบ

การรายดังกล่าวมีความสามารถในการขายสินค้าโดยปกติเฉลี่ยมากกว่า 70% เป็นต้น ซึ่งจากที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเรื่องของจุดคุ้มทุนที่ผู้ประกอบ การควรรู้และควรทำความเข้าใจ รวมถึงสามารถที่จะคำนวณจุดคุ้มทุนของ ธุรกิจตนเอง เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนในการบริหารจัดการธุรกิจ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
 
 
 
ที่มา : โดย ศศิ คล่องพยาบาล ที่ปรึกษา ส่วนบริการปรึกษาการเงินและการร่วมลงทุน ฝ่ายประสานและบริการ SMEs สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
มูฟ อีวี เอกซ์ แฟรนไชส..
1,271
ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ทรา..
992
สาขาใหม่มาแล้ว! #แฟรนไ..
606
แฟรนไชส์สะดวกล้างมาแรง..
588
“โมโม่เชค” แฟรนไชส์ชาน..
544
อยากรวยเชิญทางนี้! ธงไ..
516
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด