728
28 ธันวาคม 2564
โอกาส SME ไทย กับการเปิดตลาดในอาเซียน ปี 2565
 
 
วันนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่หรือรายเล็กก็สามารถโกอินเตอร์ได้ ขึ้นอยู่กับการตั้งเป้าหมายและเดินตามแผนการที่วางไว้ เพราะโลกการค้าแคบลงจากการติดต่อสื่อสารที่ย่อโลกให้เล็กลง ประกอบกับการขนส่งที่สะดวกมากขึ้น
 
การเริ่มต้นโกอินเตอร์ รายเล็กๆ อย่างเอสเอ็มอี ส่วนใหญ่เลือกที่จะเริ่มต้นขยายตลาดของตนเองไปยังประเทศเพื่อนบ้านก่อน เพราะด้วยความรู้สึกทางวัฒนธรรมและศาสนาใกล้เคียงกัน ทำให้เอสเอ็มอีค่อนข้างมั่นใจว่ารู้จักกลุ่มผู้บริโภคในภูมิภาคได้ดี และปัจจัยบวกด้านการคมนาคมทำให้การขนส่งสินค้ามีความสะดวกสบายและต้นทุนค่าขนส่งไม่สูงเหมือนในอดีต

ผู้ประกอบการจึงไม่ลังเลที่จะข้ามไปทำการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน กันเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังได้ “แรงส่ง” จากการมีประชาคมอาเซียนช่วยผลักดันการทำธุรกิจในประเทศต่างๆ ในอาเซียนด้วยกันสะดวกยิ่งขึ้น


นายพรสนอง ตู้จินดา ประธานกลุ่มธุรกิจลูกค้าธุรกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
 
ตลาดอาเซียน ในมุมมองของนักลงทุน
 
นายพรสนอง ตู้จินดา ประธานกลุ่มธุรกิจลูกค้าธุรกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ความจริงแล้วการทำตลาดอาเซียนไม่ใช่เรื่องยากเย็นนัก ถึงแม้ว่าจุดเริ่มต้นทำการค้าในต่างแดน จะต้องใช้สำนวน “รู้เขารู้เรา” นั่นคือ ต้องรู้ว่าสินค้าหรือบริการของเรานั้นมีจุดดีจุดด้อยอย่างไร ถ้าจะไปค้าขายกับประเทศใด ๆ ต้องศึกษาหาข้อมูลก่อนว่าที่นั่นมีสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกับเราหรือไม่ และมีจุดแข็งจุดอ่อนตรงไหน ยังมีช่องว่างทางการตลาดที่จะเข้าไปตรงไหนบ้าง ผู้คนมีรสนิยมเช่นไร มีกำลังการจับจ่ายใช้สอยมากน้อยแค่ไหน คู่แข่งในท้องตลาดเป็นใคร
 
“อย่างไรก็ดี การที่ประเทศเพื่อนบ้านหรือทั่วโลก โดยส่วนใหญ่จะยอมรับว่าสินค้าไทยมีมาตรฐาน อีกทั้งผู้คนในประเทศเพื่อนบ้านชอบดูทีวีไทยและนิยมสินค้าเมดอินไทยแลนด์ จึงค่อนข้างจะคุ้นชินกับสินค้าไทยอยู่แล้ว จึงเป็นหนึ่งในข้อได้เปรียบทางการค้าของผู้ประกอบการไทยไปโดยปริยาย” คุณพรสนองกล่าว
 
และอีกหนึ่งข้อดีของการทำการค้ากับประเทศอาเซียน ก็คือ ทุกคนมีโอกาสที่จะเติบโตต่างแดนได้ ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยเลยที่คิดว่าการไปทำธุรกิจในต่างแดนนั้นยาก แต่กลับพบว่าเอสเอ็มอีหลายรายสามารถไปเปิดธุรกิจในเมียนมา ลาว กัมพูชาหรือเวียดนามได้ เพียงเพราะพวกเขาเลือกที่จะจับมือกับพาร์ทเนอร์ที่ดี ที่รู้ว่าผู้ประกอบการท้องถิ่นในประเทศเหล่านี้ต้องการสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ มีความแปลกใหม่และเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างดี

 
การลงทุนในเมียนมา ต้องพึ่งตัวช่วยลดความเสี่ยง
 
สำหรับประเทศที่น่าสนใจลงทุน ในปี 2565 ประเทศเมียนมา แม้ยังคงเป็นประเทศที่ถูกจับตามองมากที่สุด เพราะในรอบหลายปีมานี้ เมียนมา เป็นประเทศที่เนื้อหอมที่สุดในภูมิภาคอาเซียน แม้ว่าในช่วงนี้จะมีสถานการณ์ที่ไม่เอื้อต่อการลงทุนในเมียนมา จากการสู้รบกันเองภายในประเทศ แต่ถ้ามองในมุมของเอสเอ็มอีไทย เมียนมา ก็ยังคงเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติ ที่ทำให้ประชากรในประเทศมีฐานะที่ดีขึ้น ทำให้มีกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้นแบบก้าวกระโดด ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการเปิดประเทศ ต้อนรับชาวต่างชาติด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องยอมรับว่า การเจาะตลาดเมียนมา ไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างที่คิด แม้ว่าการลงทุนในเมียนมาจะน่าสนใจดึงดูดเหล่านักลงทุนมากเพียงใด แต่ทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง นักลงทุน หรือ เอสเอ็มอีจะต้องเตรียมความพร้อมศึกษาตลาดให้รอบด้าน ซึ่งปัจจุบัน การลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน หรือ ในต่างประเทศ มีตัวช่วยอย่าง ธนาคารหลายแห่งได้มีการเปิดรับบริการ การลงทุนในอาเซียน

โดยแต่ละธนาคารมีจุดแข็งจุดอ่อนต่างกันไป ทำให้ธุรกิจต้องมองให้ตรงกับความต้องการของตน ซึ่งในส่วนของธนาคารกรุงศรีฯ เราก็ได้เข้ามาเป็นหนึ่งในตัวเลือกของเอสเอ็มอีในการบุกตลาดอาเซียนด้วย โดยมีผลิตภัณฑ์ ชื่อว่า “Go ASEAN” หรือ “กรุงศรีช่วย” โดยเรามุ่งขยายธุรกิจสู่ระดับภูมิภาค ภายใต้แนวคิด GO ASEAN with krungsri โดยมี มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) เป็น Strategic Partner
 
“การเป็นส่วนหนึ่งของ MUFG เป็นข้อได้เปรียบและโอกาสของลูกค้าเนื่องจากที่ MUFG ดำเนินธุรกิจมากว่า 360 ปี มีเครือข่ายสำนักงานกว่า 2,500 แห่ง ในกว่า 50 ประเทศทั่วโลก และที่สำคัญยังเป็น “ตัวจริง” ในตลาดอาเซียนด้วยออฟฟิศกว่า 20 แห่ง ครอบคลุม 7 ประเทศในอาเซียน และMUFG ยังเป็นพาร์ทเนอร์กับ Bank Danamon ในอินโดนีเซีย VietinBank ในเวียดนาม และ Security Bank ในฟิลิปปินส์อีกด้วย สำหรับการร่วมมือกันในครั้งนี้ ทำให้แนวคิด GO ASEAN with krungsri ส่งให้นักธุรกิจไทยสร้างโอกาสธุรกิจในอาเซียนอย่างต่อเนื่อง และจากฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์นี้นำพาโอกาสใหม่ๆ ในการขยายตลาดและสร้างการเติบโตให้กับลูกค้าของกรุงศรีในภูมิภาคอาเซียนด้วยเช่นกัน” คุณพรสนอง กล่าว
 
ทั้งนี้ ที่ผ่านมากรุงศรีจัดกิจกรรม Krungsri Business Matching อย่างต่อเนื่อง เพื่อเปิดโอกาสธุรกิจพบปะคู่ค้าต่างประเทศผ่านเครือข่าย MUFG และในปีนี้มีกิจกรรมจับคู่ธุรกิจเจาะกลุ่มเป้าหมายอาเซียน 2 ครั้ง นั่นคือ Krungsri Virtual Business Matching โดยมีไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม เข้าร่วมงาน และ Krungsri-Thaitown Matching Fair 2021 เปิดตลาดเมียนมา ซึ่งทั้ง 2 กิจกรรมจัดในรูปแบบออนไลน์ที่มีข้อดี เพราะทำให้ผู้ประกอบการทั้ง 2 ฝ่ายไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง จึงตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมง่ายขึ้น

โดยมีนักธุรกิจไทย-นักธุรกิจอาเซียนที่สนใจนำเข้าสินค้าไทยไปขายในประเทศตนเองโดยรวมกว่า 270 บริษัท และหนึ่งในนั้น บริษัท R.C.MARINE THAI ที่สามารถทำออเดอร์จากการร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ได้กว่า 1.1 ล้านบาท ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก และยังมีหลายบริษัทที่ได้รับออเดอร์จากการร่วมงานในครั้งนี้

 
สินค้าSMEไทย 300 รายการ
เปิดขาย Thaitown supermarket เมียนมา
 
สำหรับกิจกรรรมล่าสุด Krungsri-Thaitown Matching Fair 2021 รูปแบบ Matching Fair ที่ประเทศเมียนมา ที่ผ่านมามีสินค้าในกลุ่ม เครื่องดื่ม อาหารสด อาหารแช่แข็ง อาหารกึ่งสำเร็จรูป ผลไม้สด ผลไม้แปรรูป เครื่องปรุงรส ขนม เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว อาหารเสริม ของใช้ในบ้าน ของตกแต่งบ้าน เป็นต้น ได้มีโอกาสพบปะและเจรจาธุรกิจกับ Thaitown supermarket ผู้นำเข้าและจำหน่ายสินค้าไทยชั้นนำในเมียนมา โดยผู้ประกอบการไทยเริ่มส่งสินค้ากว่า 300 รายการ ไปที่ Thaitown supermarket เพื่อทดลองขายสินค้าฟรี

โดย Thaitown จะมีการรวบรวมผลตอบรับจากลูกค้าที่ได้ทดลองใช้จริง เพื่อส่งข้อมูลให้ผู้ประกอบการไทยนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์และต่อยอดธุรกิจของตนเองต่อไป และหากสินค้าใดได้รับผลตอบรับดีอย่างต่อเนื่องก็จะมีโอกาสในการเพิ่มช่องทางขายสินค้ากระจายสู่ Modern Trade และ Traditional Trade ทั่วเมียนมาอีกด้วย”
 
“การเจรจาธุรกิจที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย สามารถที่ไปบุกตลาดประเทศเพื่อนบ้านได้ไม่ยาก เพียงแต่ต้องมีความพร้อมทั้งด้านผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เพราะด้วยแบรนด์จากประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้านมีความเชื่อถือในคุณภาพของสินค้าอยู่แล้ว ถ้าเรามีการวางแผนการตลาดที่ดีจะมีโอกาสอีกมากสำหรับเอสเอ็มอีไทยในการเปิดตลาดในต่างประเทศโดยเฉพาะในอาเซียน”

 
เปิดประตู 5 บานพิชิต ตลาดอาเซียน
 
ท้ายสุด การทำตลาดในอาเซียน ยังคงเป็นเป้าหมายของเอสเอ็มอี เพราะด้วยวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน และมีชายแดนเชื่อมต่อไปมาหาสู่กันได้ ซึ่งเอสเอ็มอีที่สนใจลงทุนในอาเซียน จะต้องใช้ประตู 5 บาน พิชิต ตลาดการค้าอาเซียน ได้แก่ พึ่งพาภาครัฐ ได้แก่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แหล่งรวมข้อมูลสำหรับนักธุรกิจทั้งมือเก่าและมือใหม่ที่ต้องการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ และอีกหลายหน่วยงาน ฯลฯ ประตูบานที่สอง รู้จักตลาดบ้านเขา การเริ่มต้นที่ดีคือการทำความรู้จักกับที่ที่เราจะไป อย่าเพิ่งคิดว่าจะขายอะไร ตราบใดที่ยังไม่รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร และมีแนวโน้มพฤติกรรมแบบไหน
 
ประตูบานที่สาม คือ เลือกปรับแผนการตลาดให้เหมาะสม ต้องศึกษาคู่แข่งในตลาดระดับภูมิภาค รวมถึงการพัฒนาสินค้าและบริการให้ตรงใจ และต้องสำรวจเทรนด์ความนิยม โดยการเพิ่มองค์ความรู้ใหม่ๆ โดยต้องไม่พลาดการศึกษาเรื่องกฎระเบียบ และวิธีการขนส่งที่อาจจะเป็นต้นทุนสำคัญ ประตูบานที่สี่ คือ ไม่ลืมเรื่องเอกสาร ผู้ประกอบการหลายคนอาจส่ายหน้ากับการจัดการเอกสารแสนยุ่งยาก

แต่นี่คือสิ่งจำเป็นอันดับต้น ๆ ที่เลี่ยงไม่ได้ พยายามทำความเข้าใจและเรียนรู้ คนที่เตรียมตัวพร้อมกว่า ย่อมเข้าใกล้เส้นชัยมากกว่า ประตูบานที่ ห้า พึ่งระวังเรื่องเงินทองเสมอ สังคมโลกกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมไร้เงินสด ทั้งระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ การสำรองเงินทุนในยามฉุกเฉิน จึงต้องศึกษาให้รอบคอบเพื่อไม่ให้ขาดสภาพคล่องทางการเงิน
 
อ้างอิงจาก : MGROnline.com
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,267
PLAY Q by CST bright u..
1,334
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
951
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
950
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
798
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
770
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด