หน้าธุรกิจเหลือเชื่อ!    ในประเทศ    ชำแหละ! ส่วนแบ่งยอดขาย Food Delivery 2021
3.0K
10 พฤษภาคม 2564
ชำแหละ! ส่วนแบ่งยอดขาย Food Delivery 2021

ค่าบริการ-GP คืออะไร
 
ค่า GP หรือ Gross Profit

ค่าใช้จ่ายที่ทางร้านต้องเสียให้กับ "Appบริการส่งอาหาร"
 
ทำไมต้องจ่ายค่า GP?
 
เรียกเก็บเพื่อเอาไว้ โปรโมท
 
สร้างโอกาสที่ร้านของเราถูกพบเห็นรู้จัก และถูกเลือกใช้บริการมากขึ้น
  • แต่ละแอปจะเรียกเก็บค่า GP ต่างกันออกไป
  • หากเป็นร้านอาหาร /เครื่องดื่มที่มีชื่อเสียง
  • ค่า GP สามารถต่อรองได้ และจะมีอัตราไม่สูงมากนัก
  • หากเป็นร้านทั่วไป
  • ต้นทุนโดยเฉลี่ยของค่า GP จะอยู่ที่ 30-35%
วิธีคำนวณ ค่า GP

ตัวอย่างการคำนวณ

ตัวอย่างการคำนวณ ค่า GP ของ Grab food การคำนวณ VAT หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
  • ค่าอาหาร 100 บาท หักค่า GP 30% = แอปมีรายได้ 30 บาท
  • รายได้ 30 บาท หัก VAT 7% = 2.1 บาท
  • ทางร้านจะมีต้นทุนใช้บริการ = 32.1 บาท
ทางร้านสามารถใช้การคำนวณตามสูตร คือ [ ราคาขายของอาหาร - 32.1% = รายได้จริง ]
 
เช่น 250 - 32.1% = 169.75 บาท สมมุติต้นทุนคือ 150 บาท ก็จะเหลือกำไร 19.75 บาท

ค่า GP แต่ละแอป
  • Robinhood ไม่เรียกเก็บ ร้านค้ารับเงินเร็วภายใน 1 ชั่วโมง
  • foodpanda 35% โอนเงิน 9-10 วัน ในแต่ละรอบกำหนดชำระ
  • Grab Food 30% โอนเงินหลังหักค่า GP ในวันถัดไป
  • gojek 30% โอนเงินหลังหักค่า GP  ถ้าเกิน 100 บาท ในวันถัดไป
  • LINEMAN 30% โอนเงินหลังหักค่า GP และส่วนต่าง E-Payment ถ้าเกิน 500 บาท ในวันถัดไป 
มาตรการช่วยเหลือร้านค้าช่วงโควิด-19
  • Robinhood ไม่เรียกเก็บ ประกาศช่วยร้านอาหาร โดยเฉพาะร้านขนาดเล็กไม่เก็บค่า GP และให้ร้านได้เงินเร็วภายใน 1 ชั่วโมง
  • foodpanda 35% ออกนโยบายรอบการจ่ายเงินให้พาร์ทเนอร์ร้านเป็นรายสัปดาห์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ
  • Grab Food 30% กำลังหารือช่วยเหลือร้านค้า
  • gojek 30% ตั้งกองทุน ดูแลร้านที่ยอดขายลด
  • LINEMAN 30% ค่าส่งเริ่ม 0 บาท (กทม.ฟรี 3 กม.แรก / ต่างจังหวัดฟรี 5-6 กม.แรก)
ธุรกิจเหลือเชื่อที่น่าสนใจ