2.1K
17 มกราคม 2559
ITAP ส่งทีมวิจัยเป็นพี่เลี้ยงลุยช่วยSMEs ร่วมไขปัญหา-สร้างสินค้านวัตกรรมยุคใหม่


สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)ดำเนินโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (Innovation andTechnology Assistance Program: ITAP) จัดงาน “ITAP: ปลดล็อกข้อจำกัดทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม” 


เพื่อพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมมอบรางวัลให้กับ5 บริษัท “ผู้พิชิตยิดเขานวัตกรรม” ในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานการพัฒนาเทคโนโลยี  โดยมี ดร.วีระพงษ์แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงาน

โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล  กล่าวว่า เนื่องจากปี 2559 ถือเป็นปีแห่งสตาร์ทอัพและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs ทางสวทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีหน้าที่สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆนำถ่ายทอดไปยังผู้ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์จึงมีความพร้อมที่จะมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มและสร้างโอกาสใหม่ๆให้แก่ภาคเอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการSMEs

สำหรับโครงการ ITAP (Innovation and Technology AssistanceProgram) เป็นโครงการสนับสนุนภาคเอกชนที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 20ปี โดยการดำเนินงานที่ผ่านมา ทาง ITAP ได้ดำเนินการให้คำปรึกษาและวินิจฉัยปัญหาทางเทคนิคของ SMEs ได้ถึง 7,000ราย และให้คำปรึกษาในโครงการเชิงลึกมากกว่า 5,000 ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาผลการผลิตการสร้างมาตรฐานและการทดสอบ  รวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรม

โดยมีสัดส่วนความสำเร็จของโครงการถึงร้อยละ 80 และมีความเชื่อมโยงกับผู้เชี่ยวชาญจากภาคการศึกษา สภาบันวิจัยทั้งในและต่างประเทศกว่า 1,300 คน จากการประเมินผลเมื่อปี 2556-2558  ITAP สามารถสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจด้านการจ้างงานของโครงการได้ถึง 6,000 ล้านบาท

พร้อมยกระดับการแข่งขันของภาคเอกชนรายย่อยด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ITAP จึงได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นลำดับ  อีกทั้งในปี 2559 งบประมาณการพัฒนาโครงการ ITAP  ได้เพิ่มขึ้นอย่างสำคัญ  จึงเป็นกำลังหลักที่จะร่วมงานกับ SMEs ได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน




ด้าน ดร. ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติและผู้อำนวยการศูนย์บริการจัดการเทคโนโลยี(สวทช.) กล่าวปาฐกฎาในหัวข้อ“Business @ The Speed of Light, WhyINNOVATION Must be Addressed”เเละบรรยายรายงานพิเศษในหัวข้อ “ITAP : The Right Solutions For Thai SMEs” ว่า  ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการธุรกิจในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นSMEs ถึงร้อยละ 97 และมีส่วนในการจ้างงานสูงถึงถึงร้อยละ 80ของคนทั้งประเทศ แต่ทว่ากลับส่งผลต่อจีดีพีมวลรวมของประเทศเพียงร้อยละ 34ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 66 ยังคงเป็นของกลุ่มบรัษัททุนใหญ่ จึงเกิดการไม่สมดุล

ภาวะเศรษฐกิจจะขยับก็เมื่อบริาัททใหญ่เหล่านั้นขยับสิ่งที่เราจำเป็นต้องทำในตอนนี้คือการพัฒนา SMEs ให้เข้มแข็งเพื่อสร้างให้เกิดสมดุลเพื่อการพัฒนาเพิ่มความสามรถในการผลิต เพื่อถ่วงดุลบริษัทใหญ่ ซึ่งจะต้องสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อเป็นทางออกจะวนเวียนผลิตสินค้าเช่นเดิมอีกไม่ได้

ดร. ณรงค์  กล่าวต่อว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ “สังคมสูงวัย”  และอัตราการเกิดอยู่ในเกณฑ์ต่ำทำให้ประชากรรุ่นหลังมีจำนวนลดลง หนุ่มสาววัยแรงงานก็จะลดลง การจ้างงานต่ำ โดยที่บุคคลเหล่านั้นยังต้องรับภาระการดูแลทั้งคนที่เกิดใหม่และคนสูงวัยอีกด้วยเมื่อแรงงานลดลง เราจึงต้องพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมขึ้นมาแทนที่ ใช้แรงงานน้อย แต่มีประสิทธิภาพ

หลังจากที่ทำการวิจัยมาหลายปี พบปัญหาใหญ่ๆที่เกิดขึ้นกับ SMEs ในเมืองไทย คือ ด้านการขาดเงินทุน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการขาดสภาพคล่อง  เห็นกำไรในอนาคต แต่ขาดเงินหมุนเวียนในปัจจุบัน และพบปัญหาใหญ่อีกว่า SMEs ไทย ยังขาดการจัดทำบัญชีอย่างเป็นระบบ ไม่จัดทำงบดุลและไม่จดทะเบียนและเสียภาษี

และปัญหาด้านการตลาด  เราต้องถามตัวเองว่าอะไรคือสินค้าที่ลุกค้าต้องการสินค้านั้นมีปริมาณล้นตลาดอยู่หรือไม่ และถ้าจะขยายตลาดไปยังต่างประเทศนั้นสามารถตอบโจทย์วัฒนธรรมผู้บริโภคและสภาพอากาศที่แตกต่างกันได้หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์สมนไพรไทยของผู้ประกอบการ SMEs รายหนึ่งผ่านการทดสอบคุณภาพให้ไปขายที่ยุโรปได้แต่จุดเล็กๆที่เป็นปัญหาขึ้นมาคือ  “ความสามารถในการบรรจุหีบห่อ”  เนื่องจากเราใช้แรงงานทำมืออาจจะเบี้ยวหรือไม่สวยงาม เป็นเรื่องน่าเสียดายว่า ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพที่ดีมาก แต่ไม่สามารถแสดงสรรพคุณผ่านแพ็จเกตของมันได้  สินค้าไทยจึงมีปัญหาเยอะมากในเรื่องบรรุภัณฑ์  

รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกล่าวว่า ภาครัฐจะผลักพัฒนา SMEs ไปให้ได้ถึงจุดร้อยละ 50 ของจีดีพี โดยเริ่มจากการสร้างนวัตกรรมตั้งแต่การผลิตลดพลังงาน ลดการใช้แรงงาน เปลี่ยนไปเป็นใช้แรงงานคุณภาพ ใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักร 

รวมไปถึงการออกแบบศิลปะ โดยใช้วัฒนธรรมเข้าไปสร้างความแตกต่างในสินค้าและบริการของSMEsรายย่อยของไทย เร่งปรับปรุงกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์  เพื่อแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านหลังการเปิดประชาคมอาเซียนโดยเฉพาะต้องหลุดพ้นจากข้อจำกัดทางแรงงานที่เพื่อนบ้านของเรากำลังเผชิญอยู่

ดร. ณรงค์  เผยอีกว่า จากเดิมกระทรวงวิทย์ฯมีงานวิจัยมากมาย แต่ SMEsยังขาดความสามารถในการเข้าถึง ทางสวทช.จึงมีหน้าที่เข้ามาเป็นตัวกลาง เรียนเชิญมหาวิทยาลัยที่มีทรัพย์สินทางปัญญาแต่ไม่สามารถทำการตลาดได้เปิดตลาดให้ผู้ประกอบการเข้ามา รู้จักกันระหว่างนักการตลาดและนักวิจัย โดยมุ่งจะเพิ่มให้ความช่วยเหลือในปี 2559 ให้ถึง 1,000 โครงการต่อปี และในระยะ 3 ปี จะเพิ่มเป็น 3,000โครงการต่อปี


“ITAP จึงจะทำทำเสมือนเป็นผู้ช่วยฝ่ายวิจัยและพัฒนาธุรกิจของท่าน เพียงส่งอีเมลหรือโทรศัพท์เข้ามาติดต่อทางสถาบัน เราจะส่งทีมที่ปรึกษาอุตสาหกรรมไปพบท่านไปพูดคุยกับท่าน เพียงท่านบอกเราว่ามีปัญหาอะไร แล้วเขาจะไปคุยกับท่านบ่อยๆหาผู้เชี่ยวชาญให้ ไม่ว่าจะนักวิจัยจากสถาบันใด ภาควิชาใด ทั้งในและต่างประเทศ  พร้อมยังช่วยติดตามการดำเนินงานให้อีกด้วยเราเริ่มต้นจากจากโครงการขนาดเล็ก ดูพัฒนาก่อน โดยแต่ละบริษัทมีสิทธิ์อนุมัติโครงการเอง” ดร.ณรงค์กล่าวและว่า การทำงานร่วมกับ ITAPนั้นต้องอาศัยระยะเวลา เหล่าบริษัทที่ประสบผลสำเร็จได้ทำวิจัยต่อเนื่อง 3-4โครงการ และหากเปรียบเทียบการลงทุน 1 บาทจะได้ผลตอบแทนกลับคืนถึง 7.5 เท่า

สำหรับโครงการล่าสุด จะเปิดให้มี “ตลาดเทคโนโลยี”เปิดช่องทางให้ผู้ประกอบการพบปะกับมหาวิทยาลัยและเจ้าของเทคโนโลยีโดยตรงโดยคาดว่าจะเริ่มครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์นี้ซึ่งจัดงานทั่วประเทศทั้งภาคกลางเหนือใต้และภาคตะวันออกฉียงเหนือ

นอกจากนี้ ในงานยังมีพิธีมอบรางวัล “ผู้พิชิตยอดเขานวัตกรรม” ให้แก่บริษัทผู้มีการดำเนินธุรกิจจากการไต่ระดับเทคโนโลยีด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม 5 บริษัทดีเด่น ได้แก่

1)บริษัท แดรี่โฮม จำกัด : ผลิตภัณฑ์นมออแกนิค 2)บริษัท เอส พี เอ็มอาหารสัตว์ จำกัด : ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ 3)บริษัท เอส.บี.พี. ทิมเบอร์กรุ๊ป จำกัด: นวัตกรรมงานไม้  4)บริษัท มาสเตอร์คูลอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) : นวัตกรรมพัดลมไอน้ำ และ 5) บริษัท คอมแพ็คอินเตอร์เนชั่นแนล(1994) จำกัด : ผลิตภัณฑ์ผ้าเบรค ไร้ใย

พร้อมจัดแสดงนิทรรศการด้านการไต่ระดับเทคโนโลยีและจัดแสดงผลงานของบริษัทผู้รับรางวัล

อ้างอิงจาก  ปาระชาชาติธุรกิจ
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
มูฟ อีวี เอกซ์ แฟรนไชส..
1,499
ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ทรา..
995
สาขาใหม่มาแล้ว! #แฟรนไ..
617
แฟรนไชส์สะดวกล้างมาแรง..
596
“โมโม่เชค” แฟรนไชส์ชาน..
558
อยากรวยเชิญทางนี้! ธงไ..
529
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด