16K
15 กันยายน 2549
" 7-Eleven - King of Franchise "
 
 

ถ้าพูดถึงธุรกิจแฟรนไชส์แล้วดูเหมือนว่า 7-Eleven จะครองตลาดส่วนนี้อย่างไร้ข้อกังขาในฐานะเบอร์หนึ่ง ของร้านสะดวกซื้อที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเรามากที่สุด
 
แม้จะมี Player ในตลาดหลายรายที่กระโจนเข้ามา ขณะที่คอนวีเนียนสโตร์หลายแบรนด์ถอนตัวออกไปในเวลาต่อมา แต่แบรนด์ที่อยู่ยงคงกระพันก็คือ 7-Eleven ที่วันนี้กลายเป็น Network ในการต่อยอดธุรกิจใหม่ๆอยู่ตลอดเวลาจน ปัจจุบันมีทั้งหมด 3,500 สาขา และกำลังขยายเพิ่มเป็น 5,000 สาขา ภายในปี 2552
 
7-Eleven ไม่ได้เป็นเพียงผู้นำร้านค้าปลีกรายย่อยในรูปแบบแฟรนไชส์เท่านั้น ทว่ายังเป็นผู้เปิดตำนาน "โชวห่วยติดแอร์" ที่ใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการดำเนินธุรกิจจนสามารถสร้างยอดขายมูลค่า 45,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมาและคาดว่าจะเพิ่มเป็น 60,000 ล้านบาท ในปีนี้ได้ไม่ยาก
 
The Pioneer
 
7-Eleven เริ่มดำเนินธุรกิจครั้งแรกในปี 2531 เมื่อกลุ่มซี.พี ตัดสินใจซื้อลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ร้าน 7-Eleven จากบริษัท เซ้าธ์แลนด์คอร์ปอเรชั่น เข้ามาดำเนินงานในประเทศไทย หลังจากนั้นไม่นานได้เปิดทำการสาขาแรกที่พัฒน์พงษ์เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2532 สมัยนั้นถือได้ว่าซี.พี เป็นผู้เปิดตำนานคอนวีเนียนสโตร์ทั้งยังเป็นผู้สร้างค้าปลีกเซ็กเม้นต์นี้
 
ในเวลาไล่เลี่ยกัน "ร้านเอเอ็ม/พีเอ็ม" คอนวีเนียนสโตร์ยักษ์ใหญ่จากอเมริกาก็ทยอยเข้ามาเปิดภายใต้กลุ่มบ้านฉาง เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ภายหลังถูกเปลี่ยนมือมาเป็นของ กลุ่มยูคอมแต่ต้องถอนตัวจากตลาดเปลี่ยนร้านที่มีอยู่ทั้งหมดเป็นร้าน "รักบ้านเกิด" เช่นเดียวกับร้านเซ็นทรัล มินิมาร์ท ของกลุ่มเซ็นทรัลรีเทลที่ต้องปิดตัวลงไปหลังจาก ดำเนินธุรกิจคอนวีเนียนสโตร์ได้ไม่นาน
 
 
 
ขณะที่ 7-Eleven สามารถยืนหยัดอยู่ในตลาดทั้งเป็นผู้นำด้านโมเดล ทางธุรกิจใหม่ๆออกสู่ตลาดมาจากจุดเริ่มต้นตรงที่ ซี.พี. ตัดสินใจเลือกซื้อแบรนด์ 7-Eleven เข้ามาทำตลาดในเมืองไทยตั้งแต่แรก 
 
เพราะ ซี.พี. มีปรัชญาการขยายธุรกิจว่าไม่ทำธุรกิจที่มีเจ้าตลาดอยู่แล้ว และธุรกิจที่ ซี.พี เลือกทำนั้นจะต้องมีศักยภาพสามารถพัฒนา จนเป็นผู้นำตลาดได้และถ้าต้องอาศัยโนว์ฮาวจากต่างประเทศ ซี.พี จะต้องใช้เทคโนโลยีหรือโนว์ฮาวที่ดีที่สุด
 
ดังนั้น เหตุผลสำคัญที่ ซี.พี. ซื้อแฟรนไชส์ 7-Eleven เพราะ 7-Eleven มีสุดยอดโนว์ฮาวในการบริหารงานคอนวีเนียนสโตร์ นอกจากนี้แล้วยังอาศัยความได้เปรียบจากประสบการณ์ 7-Eleven ที่มีอยู่ทั่วโลกแล้วเพื่อ "เรียนทางลัด" กับองค์ความรู้ต่างๆ ซึ่งต่อมาภายหลัง ซี.พี สามารถต่อยอดทางธุรกิจจากร้าน 7-Eleven ได้มากมายไม่ว่าจะใช้เป็นเครือข่ายในการวางจำหน่ายสินค้าและบริการในเครือซี.พี หรือเป็น Marketing Arms ที่มีประสิทธิภาพต่อธุรกิจใหม่ๆอะไรก็ตามโดยใช้ 7-Eleven เป็นฐานสร้าง Value Added ให้กับธุรกิจนั้นๆอย่างไม่ต้องลงทุนอะไรมากนัก เหตุผลนี้ทำให้ ซี.พี หันมาทุ่มเททั้งเงินทุนและขุนพลเพื่อปั้นให้ 7-Eleven เป็นผู้นำร้านสะดวกซื้อ 
 
โดยคุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ เป็นขุนพลที่ ซี.พี วางตัวไว้ให้กุมบังเหียน และไม่เป็นที่ผิดหวัง เพราะหลังจากเปิดตัวสาขาแรกไปได้ไม่ถึง 10 ปี 7-Eleven ก็ก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ในตลาดอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด 
 
 
 
แต่กว่าจะขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ได้นั้น ซี.พี. ต้องฝ่าฟันปัญหามานานัปการ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นจุดพลิกผันให้ 7-Eleven กลายเป็นเจ้าตลาดมาจนกระทั่งทุกวันนี้ 
 
ในช่วง 2 ปีแรกนั้น 7-Eleven ไม่สามารถขยายสาขาได้ตามที่ตั้งเป้าไว้ประกอบ กับประสบภาวะขาดทุนสะสมเนื่องมาจาก การลงทุนซื้ออาคารแทนการเช่าซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่า จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ซี.พี กอบกู้สถานการณ์ด้วยการเปลี่ยนวิธีบริหารมาเป็นเช่าอาคาร ทำให้การขยายสาขาเป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้
 
เพื่อเปิดสาขาได้ทันตามเป้า ซี.พี ได้นำวิธีการขยายแบบแฟรนไชส์เข้ามาช่วยในการขยายสาขา นอกจากมีแฟรนไชส์รายย่อยแล้วยังเปิดให้มี Sub Area License ดูแลรับผิดชอบในเขตพื้นที่ตามภาคต่างๆ เพื่อเจาะกลุ่มลึกลงในระดับตำบลในต่างจังหวัด 
 
ต่อมาในปี 2538 เริ่มดำเนินกลยุทธ์สู่ร้านโชวห่วยติดแอร์ที่เป็นเครือข่ายบริการทีดี่ที่สุด ของเมืองไทยโดยให้บริการรับชำระค่าบริการสาธารณะต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ รวมถึงเป็นจุดรับจองบัตรคอนเสิร์ตและการแสดงผ่าน "เคาน์ เตอร์เซอร์วิส" นอกจาก 7-Eleven จะได้ค่าบริการบิลละ 10-15 บาท แล้วยังถือว่าดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการมากขึ้นด้วย 
 
ปี 2544 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญอีกช่วงหนึ่ง เพราะได้นำแนวคิดการบริหารงานใหม่เข้าสู่ยุค Digital Economy โดย Renovate รูปแบบร้านให้ดูทันสมัย สะอาด สะดวกในการหาสินค้า การบริการที่รวดเร็วรวมถึงเพิ่มสินค้าที่เป็นไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ เช่น มุมหนังสือ เทป ซีดี และเครื่องสำอางเข้าไปในร้านเพื่อมัดใจลูกค้า 
 
พร้อมกันนี้ได้ ปรับเปลี่ยนคอนเซ็ปต์ร้านให้เป็น คอนวีเนียน ฟู้ด เพื่อรองรับการแข่งขันที่ตลาดไฮเปอร์มาร์เก็ตอย่างเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส ที่เริ่มรุกล้ำเข้ามากินตลาดคอนวีเนียนสโตร์ ลบข้อจำกัดในเรื่องราคาสินค้าต่อหน่วยถ้าเทียบกับ ราคาต่อหน่วยของดิสเคาน์สโตร์ทำให้ 7-Eleven หันมาปรับเพิ่มไลน์ Food Product เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตประจำวันของคนเมืองทำให้สัดส่วนระหว่าง Food product และ Dry Grocery เพิ่มเป็น 70:30 จาก 80:20 และยังเพิ่มเมนูอาหารบรรจุกล่องเข้าไปด้วย
 
 
  
ที่มา : นิตยสาร BrandAge 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
963
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
662
“เติมพลังความรู้” กับ ..
595
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
567
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
558
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
521
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด