2.9K
20 มีนาคม 2550
ยัน พ.ร.บ.แฟรนไชส์ คลอดยุคขิงแก่ เอกชนกังวลกฎเหล็กขวางเติบโต
 


รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ยัน พ.ร.บ.แฟรนไชส์คลอดภายในรัฐบาลนี้ ชี้สาระสำคัญป้องแฟรนไชซี ด้านเอกชนกังวลหากกฎเข้มเกินควร เป็นกำแพงขวางการเติบโตธุรกิจแฟรนไชส์ ผปก.ไม่สนเข้าระบบ ด้าน “แบลคแคนยอน” ชี้มีช่องว่างใช้แก้แค้นทางธุรกิจ 
 
นายดุสิต อุชุพงศ์อมร รองอธิบดี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า เมื่อไม่นานนี้ ได้จัดให้มีการระดมความคิด หัวข้อ “ร่าง พ.ร.บ.แฟรนไชส์ ส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์จริงหรือ?” เพื่อรวมกันหาข้อสรุปในการผลักดันกฎหมายแฟรนไชส์ออกกำกับดูแลธุรกิจนี้ โดยความคืบหน้า คาดว่า ภายใน 1-2 เดือนจากนี้ จะได้ร่าง พ.ร.บ. ฉบับสมบรูณ์พร้อมเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี และมั่นใจว่า จะสามารถผ่านการพิจารณาได้ภายในการทำงานของรัฐบาลชุดนี้ 
 
ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ จะมุ่งให้ความคุ้มครองแฟรนไชซีเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเห็นว่า เป็นผู้ที่มีอำนาจในการต่อรองน้อยกว่าแฟรนไชซอร์ เช่น ห้ามแฟรนไชซอร์ โฆษณาเป็นเท็จหรือเกินจริง ห้ามแฟรนไชซอร์เรียกเงินหรือผลตอบแทนก่อนทำสัญญา เป็นต้น 
 
อย่างไรก็ตาม จากการระดมความคิดเห็นดังกล่าว มีหลายประเด็นที่ผู้ประกอบการแฟรนไชซอร์ขอให้ปรับปรุงแก้ไข เพราะกังวลว่า ถ้ากฎหมายเข้มงวดจนเกินไป จะกลายเป็นข้อกีดกัน ความเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ ทำให้ผู้ประกอบการขาดแรงจูงใจจะเข้ามาทำธุรกิจแฟรนไชส์

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่เอกชนเสนอให้ปรับปรุงต่างๆ ล้วนแต่เป็นประเด็นปลีกย่อย ที่คิดว่า หาข้อสรุปรวมกันได้ เพราะโดยรวมทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า ควรผลักดันให้มีกฎหมายนี้ออกมาใช้ 
 
ส่วนการแก้ปัญหา หากกฎหมายแฟรนไชส์มีผลบังคับใช้ อาจทำให้ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์รายย่อยลงทุนต่ำ จำนวนมาก ไม่เข้าเกณฑ์ธุรกิจแฟรนไชส์ นายดุสิต เผยว่า ทางกระทรวงพาณิชย์ได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นมา ทำหน้าที่ส่งเสริมให้ธุรกิจเหล่านั้น พัฒนาคุณสมบัติ และผลักดันให้เข้าสู่ระบบต่อไป 
 
 
ด้านนายประวิทย์ จิตนราพงศ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท แบลคแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในฐานะตัวแทนภาคเอกชนว่า กม.ฉบับนี้ ให้สิทธิ์ และอำนาจแก่นายทะเบียนสูงมาก สามารถตัดสินเพิกถอนการจดทะเบียนของแฟรนไชซอร์ได้ แต่หากนายทะเบียนคนนั้นๆ ไม่ปฏิบัติหน้าที่อย่างโปร่งใส หรือนายทะเบียนเอาข้อมูลไปเปิดเผย หรือมอบให้คู่แข่งธุรกิจ จะกลายเป็นช่องว่างให้เกิดการกลั่นแกลังทางธุรกิจ 
 
นายประวิทย์ เผยอีกว่า ร่างกฎหมายยังมีช่องว่างอีกหลายประการให้เกิดเอาเปรียบทางธุรกิจได้ เช่น บังคับให้แฟรนไชซอร์ต้องเปิดเผยข้อมูลทางธุรกิจ อาจถูกคู่แข่งทางธุรกิจแอบอ้างมาสมัครเป็นแฟรนไชซีเพื่อขโมยข้อมูล เป็นต้น นอกจากนี้ เสนอให้ใช้ระบบขึ้นบัญชีดำ ควบคู่กับการเพิกถอนการจดทะเบียน สำหรับผู้ประกอบการที่กระทำผิด รวมถึง กำหนดคุณสมบัติของแฟรนไชซอร์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 
 
นายธนภูมิ เนตรอาภา ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายกฎหมายแฟรนไชส์ บริษัท ซีพี เซเว่น อีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) อีกหนึ่งตัวแทนภาคเอกชน ระบุว่า ไม่ควรจะเร่งรัดให้กฎหมายฉบับนี้ ออกมาเร็วจนเกินไป ควรทบทวนให้รอบคอบที่สุด เพราะจะมีผลกระทบต่อทุกฝ่าย ไม่จำเป็นต้องออกภายในรัฐบาลชุดนี้ก็ได้ และเสนอว่า ควรนำ พ.ร.บ.วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมาเป็นต้นแบบในการร่างด้วย 
 
นอกจากนี้ ขอให้ภาครัฐบาลตั้งธงให้ชัดเจนว่า กฎหมายฉบับต้องการส่งเสริมการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ หรือควบคุ้มธุรกิจแฟรนไชส์ เพราะหากไม่ตั้งธงให้ชัดเจนว่า ต้องการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ กฎที่ออกมาเข้มงวดจนเกินไป จะกลายเป็นการข้อกีดกันให้ผู้ประกอบการไม่อยากจะเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ 
 
 
 
 
ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,194
PLAY Q by CST bright u..
1,324
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
947
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
945
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
794
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
769
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด