ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


สมองส่วนอารมณ์กับ 6 อารมณ์พื้นฐานของมนุษย์

รู้จักอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ ที่เชื่อมโยงกับสมองส่วนอารมณ์
เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าอารมณ์ของเราที่เกิดขึ้นนั้นถูกแบ่งออกเป็นกี่ประเภท และใครเป็นคนนิยามถึงอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากสมองส่วนอารมณ์ ในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักว่าสมองส่วนอารมณ์คืออะไร อารมณ์พื้นฐานของมนุษย์มีอะไรบ้าง และใครคือคนนิยามอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์เหล่านั้น เรียกได้ว่าบทความนี้จะต้องทำให้ทุกคนได้เข้าใจในอารมณ์ของตัวเองกันได้มากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน

ถ้าทุกคนพร้อมกันแล้ว มาเตรียมรับอารมณ์แห่งความสุขและความตื่นเต้น ด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจของอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ที่เชื่อมโยงกับสมองส่วนควบคุมอารมณ์ได้เลย!

สมองส่วนอารมณ์คืออะไร เชื่อมโยงกับอารมณ์ของเราได้อย่างไร
สมองส่วนอารมณ์ คือส่วนหนึ่งของสมอง ที่มีการเชื่อมโยงกับการแสดงออกทางอารมณ์ของเรา โดยเป็นสมองที่อยู่ในส่วนของ Middle Brain หรือสมองส่วนกลาง ที่มีความสำคัญไม่แพ้สมองในส่วนอื่น ๆ เลยทีเดียว

เนื่องจากภายในสมองส่วนนี้จะมีการเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่าระบบลิมบิก หรือ limbic system ทำให้เมื่อเราพบกับเหตุการณ์ เรื่องราว หรือสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตที่ส่งผลต่อสภาวะทางอารมณ์ของเรา สมองในส่วนนี้จะส่งผลเชื่อมโยงถึงการแสดงออกทางกายต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไป หรือที่เรียกกันว่าการแสดงอารมณ์นั่นเอง

ซึ่งตัวอย่างของการแสดงออกทางอารมณ์ที่เชื่อมโยงมาจากการสั่งการของสมองส่วนอารมณ์ก็เช่น

  • ร้องไห้เมื่อมีความเศร้า เสียใจ หรือมีเรื่องราวกระทบกระเทือนจิตใจ
  • มือสั่นเมื่อมีความตื่นเต้น
  • ตัวสั่นเมื่อกำลังหวาดกลัว หรือโกรธจัด
  • เหงื่อออกเมื่อกำลังเป็นกังวล
  • หน้าแดงและควบคุมตัวเองไม่ได้เมื่อมีความโกรธ
  • น้ำตาไหลเมื่อดีใจมาก ๆ เป็นต้น

ทำไมเราจึงต้องรู้จักกับอารมณ์ของตัวเอง
การที่เราได้เข้าใจในกระบวนการของสมองส่วนควบคุมอารมณ์ และได้รู้จักกับอารมณ์ของตัวเอง จะทำให้เราได้รับประโยชน์มากมาย ดังนี้

  • ทำให้ได้รู้จักความรู้สึกและเข้าใจในตนเองมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยเสริมบุคลิกภาคให้กับเราได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยให้เรามีความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น
  • ช่วยให้เราได้ตระหนักถึงปัญหาทางอารมณ์ของเรา
  • ทำให้เราสามารถรับมือและจัดการกับการแสดงออกทางอารมณ์ของตัวเองได้อย่างทันท่วงที
  • ช่วยให้เราสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข พร้อมรับมือกับปัญหาในชีวิตได้อย่างเหมาะสม

6 อารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ ความสัมพันธ์ของสมองส่วนควบคุมอารมณ์
นักจิตวิทยาพอล เอคแมนคือผู้ที่ได้ทำการนิยามถึง 6 อารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันกับความรู้สึกและการแสดงออกทางพฤติกรรมของเรา ซึ่งอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ที่เขาได้นิยามไว้นั้น ได้แก่

  • ความสุข
  • ความเศร้า
  • รังเกียจ
  • ความกลัว
  • ความแปลกใจ
  • ความโกรธ

และนอกจาก 6 อารมณ์พื้นฐานของมนุษย์เหล่านี้ ในช่วงต่อมาก็ได้มีนักจิตวิทยาเข้ามาทำการเพิ่มอารมณ์ต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับความรู้สึกของมนุษย์เข้าไปอยู่ในอารมณ์พื้นฐานอีกด้วย ซึ่งอารมณ์ที่ถูกเพิ่มเข้ามานั้น ได้แก่

  • ความภูมิใจ
  • ความอับอาย
  • ความอึดอัด
  • ความตื่นเต้น

ซึ่งแน่นอนว่าอารมณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ที่เกิดขึ้นนั้นในบางครั้งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากสมองส่วนอารมณ์ได้มีการเชื่อมโยงสมองในส่วนอื่น ๆ กับเหตุการณ์และสถานการณ์ที่เราพบเจอ แต่ถึงแม้เราจะห้ามไม่ให้มีอารมณ์ต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นได้ แต่เราก็สามารถรับมือและจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง เพื่อการแสดงออกที่เหมาะสม และเพื่อให้เรามีสภาวะทางจิตใจที่ดี ไม่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของอารมณ์ในด้านลบต่าง ๆ นั่นเอง

รวมวิธีการจัดการและรับมือกับอารมณ์ด้านลบของตัวเอง
จากอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ เราก็คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่านอกจากอารมณ์ในทางบวกแล้วอย่างการมีความสุขหรือการมีความภาคภูมิใจแล้ว ก็ยังมีอารมณ์ทางลบอีกมากมายที่สมองส่วนอารมณ์คือสิ่งที่จะเชื่อมโยงให้เราอาจแสดงพฤติกรรมหรือมีความรู้สึกที่ไม่ดีจากอารมณ์ด้านลบต่าง ๆ เหล่านั้น ก่อนที่จะจากกันไป เราจึงขอแนะนำถึงวิธีการจัดการและรับมือกับอารมณ์ด้านลบของตัวเองให้ทุกคนได้รู้ ถ้าพร้อมที่จะเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อเป็นคนที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ที่ดีและมีความสุขในการดำเนินชีวิตกันมากยิ่งขึ้นแล้ว ไปดูกันต่อได้เลย!

วิธีการจัดการและรับมือกับอารมณ์ด้านลบของตัวเองนั้น ได้แก่

  • ฝึกสมองส่วนควบคุมอารมณ์ให้มองโลกในแง่ดี
  • ไม่คิด และไม่พูดในสิ่งที่อยู่ในแง่ลบ
  • หมั่นชื่นชมตนเองและผู้อื่นให้มากขึ้น
  • เปิดใจลองปรึกษาและพูดคุยกับคนที่ไว้ใจ อาทิ เพื่อนสนิท คนรัก หรือคนในครอบครัว
  • ไม่ยึดติดกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ให้เปลี่ยนแนวคิดสู่การพัฒนาตัวเองให้ดียิ่งขึ้น
  • หยุดพักสมองของตัวเองด้วยการทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ
  • ออกไปท่องเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ ที่ไม่เคยไป หรือลองทำอะไรใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำ
  • อยู่กับธรรมชาติให้มากยิ่งขึ้น เพื่อหลีกหนีจากความวุ่นวาย และเพื่อให้เราได้อยู่กับตัวเอง
  • ออกจากสังคมที่มีแต่ผู้ที่มีความคิดในแง่ลบ ทั้งผู้ที่มีทัศนคติในเชิงลบ และผู้ที่ชอบพูดหรือวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น ให้เลือกอยู่ในสังคมของคนคิดบวกแทน
  • มองหาแรงบันดาลใจใหม่ ๆ อยู่เสมอ
  • ลองเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการชื่นชม ให้กำลังใจตัวเอง และอย่าลืมยิ้มให้ตัวเองในกระจก
  • ลดการใช้โซเชียลมีเดีย ออกห่างจากสื่อต่าง ๆ ที่เครียด หรือเป็นสื่อในด้านลบ
  • ทำทุกอย่างให้เต็มที่ที่สุด และหากล้มเหลวหรือผิดพลาด ให้เรายินดีกับตัวเองว่าเราทำดีที่สุดและไม่มีอะไรต้องเสียดาย
  • ลองทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายสมอง เช่น กิจกรรมทางศิลปะ กิจกรรมทางดนตรี หรือการปลูกต้นไม้ ทำสวน เป็นต้น

เพียงเท่านี้ทุกคนก็สามารถรับมือกับการแสดงออกทางอารมณ์ที่เป็นผลมาจากการเชื่อมโยงของสมองส่วนอารมณ์กันได้แล้ว ในครั้งหน้านอกจากคำถามที่ว่าสมองส่วนอารมณ์คืออะไร เราจะมีเรื่องราวอะไรที่น่าสนใจอะไรมาเล่าให้ทุกคนฟัง รอติดตามกันได้เลย!