ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ภาษีโอนเงิน 400 ครั้ง ธุรกรรมแบบไหนที่ต้องเสียภาษี? เรามีคำตอบ!!

    ทุกวันนี้ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์ ที่เรียกว่า “Digital Economy” อย่างเต็มตัวแล้ว ซึ่งเห็นได้จากจำนวนคนไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นถึง 31 ล้านคน รวมถึงการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือสูงขึ้นถึง 77% หลาย ๆ ธุรกิจเริ่มปรับตัวมาเป็นออนไลน์กันมากขึ้น รวมไปถึงสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่ได้ออกแอปพลิเคชันที่ทำให้เราไม่ต้องออกไปโอนเงินตามตู้อีกต่อไป การขายของก็ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านด้วยซ้ำ ทำให้เกิดรายได้มหาศาลบนโลกออนไลน์ ด้วยสิ่งนี้จึงทำให้รัฐบาลต้องเข้ามาควบคุมดูแล และเกิดสิ่งที่เรียกว่า ภาษี “e-payment ”นั่นเอง แล้วภาษีตัวนี้มันเกี่ยวอะไรกับเรากันหล่ะ ภายในบทความนี้มีคำตอบอย่างแน่นอนค่ะ




    กฎหมาย e-payment คืออะไร
    กฎหมาย e-payment อาจเรียกได้ว่าเป็นชื่อเล่นของ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 เกิดขึ้นเพื่อรองรับระบบภาษี และเอกสารธุรกรรมทางการอิเล็กทรอนิกส์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการนำส่งเงินภาษี การยื่นรายการ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2562 โดยให้สถาบันการเงินส่งรายงานธุรกรรมครั้งแรกต่อกรมสรรพากร

    เงื่อนไขของการส่งข้อมูลบัญชีให้กรมสรรพากร
    กฎหมายได้บังคับว่า สถาบันการเงิน หรือ ผู้ให้บริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ต้องรายงานข้อมูลผู้มีบัญชีธุรกรรมเฉพาะ ให้กรมสรรพากรไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ไม่ว่าคนไทยหรือต่างชาติ โดยเงื่อนไขมีดังนี้
    • จำนวนครั้งการฝาก/รับโอนเงิน เกิน 3,000 ครั้งขึ้นไปต่อปี
    • จำนวนครั้งการฝาก/รับ โอน เงิน เกิน 400 ครั้ง ขึ้นไป และต้องมียอดรวมมากกว่า 2,000,000 บาท ต่อปี


    หน่วยงานที่ต้องรายงานกรมสรรพากร
    • สถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารภาครัฐ
    • รวมไปถึงผู้ให้บริการด้านการเงินอื่นๆ เช่น True money , Rabbit LINE Pay , e-Wallet เป็นต้น
    ข้อมูลที่กรมสรรพากร จะได้จากหน่วยงาน
    • เลขบัตรประจำตัวประชาชน (หรือเลขทะเบียนนิติบุคคล)
    • ชื่อ-สกุล (หรือชื่อบริษัท)
    • เลขบัญชีเงินฝาก
    • จำนวนครั้งของการฝาก/รับโอนเงิน
    • ยอดรวมของการฝาก/รับโอนเงิน

    กรมสรรพากรจะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้อย่างไร?
    กรมสรรพากรจะนำข้อมูลที่ได้จากสถาบันการเงินหรือผู้ให้ที่บริการด้านการเงิน ไปวิเคราะห์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์เพื่อจัดกลุ่มผู้เสียภาษี



    แนะนำวิธีการเตรียมตัว สำหรับคนที่เข้าเกณฑ์ ภาษี โอน เงิน 400 ครั้ง
    • ต้องทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายให้ชัดเจน เพื่อที่จะได้ทราบสถานะทางการเงินของเรา และ เพื่อเป็นหลักฐานไว้แสดงกับทางสรรพากรที่จะเข้ามาตรวจสอบ และทางที่ดีควรแยกบัญชีธนาคารเพื่อใช้ส่วนตัวและเพื่อทำธุรกิจออนไลน์ออกจากกัน
    • เก็บหลักฐานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เพื่อจัดการทำรายรับ รายขจ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงจัดการต้นทุนต่าง ๆ อย่างต้นทุนภาษีให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    • ต้องยืนแบบแสดงรายการภาษีให้ครบถ้วนและตรงเวลา
    • อัพเดทข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภาษีอยู่เสมอ หากมีการเปลี่ยนแปลงของภาษี เราจะได้ไม่เสียผลประโยชน์ของเราเอง


    ติดตาม นรินทร์ทอง เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารเกี่ยวกับบัญชี ภาษีที่ควรรู้
    เป็นยังไงกันบ้างคะ ถ้าทุกท่านอ่านมาถึงตรงนี้ดิฉันคิดว่า ทุก ๆ ท่านน่าจะพอรู้แล้วว่ากฎหมาย e-payment คืออะไร แล้วเราเข้าเกณฑ์ที่จะเสียภาษีตัวนี้หรือไม่ ครั้งหน้าจะมีบทความเกี่ยวกับบัญชี ภาษี หรือ กฎหมายอะไรอีกอย่าลืมกดไลค์และกดติดตามเฟสบุ๊คแฟนเพจ นรินทร์ การบัญชีและภาษี  จะได้ไม่พลาดข้อมูลข่าวสารอื่น ๆ และที่สำคัญหากคอนเทนต์นี้มีประโยชน์ อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนๆของคุณทราบด้วยนะคะ

    ใครมีข้อสงสัย ต้องการคำปรึกษา นรินทร์ทอง สามารถติดต่อสอบถามได้ที่…

    Facebook : NarinthongOfficial
    E-mail : narinthong.ac@gmail.com
    Line : @Narinthong
    Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339