ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ใบ กํา กับ ภาษี คือ เจ้าของกิจการต้องรู้กับเรา Narinthong!



ใบ กํา กับ ภาษี คือ เจ้าของกิจการต้องรู้กับเรา Narinthong!

คุณเคยสังเกตไหม? เมื่อเราไปจ่ายค่าบริการต่างๆ เช่น ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าโทรศัพท์ หรือค่าบริการอื่นๆ มักจะได้เอกสารใบเล็กๆ กลับมาด้วยเสมอ จริงๆ แล้วเอกสารที่มาพร้อมกับการจ่ายค่าบริการต่างๆ คือ "ใบกำกับภาษี" (Tax Invoice)
สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจมือใหม่ รวมถึงผู้เข้ารับบริการ หากคุณกำลังเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับใบกำกับภาษี วันนี้ทาง นรินทร์ทอง ได้รวบรวมข้อมูลของใบกำกับภาษีมาไว้ในบทความนี้แล้ว ซึ่งรายละเอียดจะมีอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลย!!


ใบ กํา กับ ภาษี คือ อะไร?


ใบ กำ กับ ภาษี คือ เอกสารสำคัญที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ได้จัดทำ และออกเอกสารให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เพื่อเป็นการยืนยันว่าเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้ามาแล้ว

มีความสำคัญอย่างไร
การออกใบกำกับภาษี คือ เอกสารที่ผู้ประกอบการ จะต้องออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำหรับการแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการ และจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยผู้ประกอบการจะต้องออกใบกำกับภาษีออกเป็น 2 ฉบับ ได้แก่

  • ต้นฉบับ ผู้ประกอบการจะต้องออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ

  • สำเนา ผู้ประกอบการจะต้องเก็บไว้ใช้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มรายเดือน ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องเก็บเอกสารเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี

ผู้ออกใบกำกับภาษี คือใคร?
ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี คือ ผู้ประกอบการกิจการที่จดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และจะต้องมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจากการประกอบกิจการ โดยผู้ประกอบกิจการมีหน้าที่ยื่นคำขอ และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่กิจการมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท

เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีอย่างไร
ปกติแล้วธุรกิจที่เริ่มมีการจัดตั้งอยู่ในรูปแบบบริษัท สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้ คือ การจัดเตรียมเอกสารและข้อมูลทางบัญชีต่างๆ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงต่อกรมสรรพากรในการหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง มีทั้งรูปแบบบุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล

ใช้ได้ภายในกี่เดือน
อายุของใบกำกับภาษีสามารถนำมาใช้หักกับภาษีขาย (Output VAT) ได้ไม่เกิน 6 เดือน โดยเริ่มนับตั้งแต่เดือนถัดจากเดือนที่ออกใบกำกับภาษี แต่ถ้าหากคุณมีภาษีซื้อ (Input VAT) แล้วไม่ได้นำมาหักภาษีจะต้องมีสาเหตุ ดังนี้

  • เหตุจำเป็น ซึ่งเกิดขึ้นตามประเพณีทางการค้า

  • เหตุสุดวิสัย

  • ได้รับใบกำกับภาษีในเดือนภาษีอื่น ที่ไม่ใช่เดือนตามที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษี

ใบ กำ กับ ภาษี คือ มีกี่รูปแบบ?
หลังจากที่ได้รู้จักความสำคัญของใบกำกับภาษีกันไปแล้ว ในหัวข้อนี้ก่อนที่จะไปพูดถึงรายละเอียดต่างๆ เราจะมาอธิบายความหมายของคำว่า "e-Tax Invoice" คืออะไร? แล้วแตกต่างจาก ใบกำกับภาษีเขียนด้วยมือ อย่างไร?


Tax Invoice กับ e-Tax Invoice ต่างกันอย่างไร?
e-Tax Invoice หรือ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นรูปแบบที่กรมสรรพากรได้พัฒนาขึ้นมาแทนการออกใบรับ/ใบกำกับภาษีแบบกระดาษ เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก หรือผู้ที่เริ่มต้นทำธุรกิจ อย่างเช่น ร้านค้าออนไลน์ และมีการใช้งานที่สะดวกรวดเร็วกว่า

ใบกำกับภาษี มีกี่ประเภท
สำหรับการออกใบกำกับภาษีนั้นจะมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ คือ ใบกำกับภาษีอย่างย่อ และ ใบกำกับภาษีรูปแบบเต็ม โดยทั้ง 2 ประเภทจะมีข้อแตกต่างกันในด้านการใช้งาน ดังนี้

1. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ คือ เอกสารหลักฐานสำคัญในอีกรูปแบบหนึ่ง สำหรับ "กิจการค้าปลีก" ที่มีการจด VAT เพื่อเอาไว้เป็นหลักฐานแสดงมูลค้าสินค้า และบริการนั้นๆ อย่างเช่น กิจการแผงลอย, กิจการขายของชำ, กิจการขายยา, ห้างสรรพสินค้า, โรงแรม ฯลฯ


2. ใบกำกับภาษีรูปแบบเต็ม
ใบกำกับภาษีรูปแบบเต็ม คือ เอกสารที่ผู้ประกอบการสามารถออกเอกสารได้ก็ต่อเมื่อมีการร้องขอ ซึ่งใบกำกับภาษีรูปแบบเต็มผู้ซื้อสามารถนำไปใช้เป็นภาษีซื้อได้ ที่สำคัญต้องมีรายละเอียดครบถ้วน ตรงตามที่ใบกำกับภาษี (ม.86/4) กำหนด ซึ่งประกอบไปด้วย 7 ส่วน ดังนี้



1. ในเอกสารจะต้องมีคำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
2. ต้องมีการระบุ ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวภาษีอากร ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
3. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของผู้ซื้อสินค้า หรือ ผู้รับบริการ
4. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขของเล่ม (ถ้ามี)
5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า หรือ ของบริการ
6. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้า หรือ ของบริการที่แสดงอย่างชัดเจน
7. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

การขอคืนภาษี จะต้องมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง?
สิ่งสำคัญต่อมาที่ผู้ประกอบการต้องรู้ก็คือ "การขอคืนภาษี" ในหัวข้อนี้จะเป็นการบอกรายละเอียดคร่าวๆ เกี่ยวกับเงื่อนไขของการขอคืนภาษี โดยจะมีอะไรบ้างไปดูกัน!

  • การขอคืนภาษีเป็นสิทธิ์ที่ผู้เสียภาษีสามารถทำได้

  • ช่วงเวลาการขอคืนภาษี

  • ขั้นตอนการตรวจสอบการขอคืนภาษี

  • กรมสรรพากรคืนเงินภาษีล่าช้า คิดดอกเบี้ยได้

  • เลือกช่องทางการรับเงินคืนภาษีได้

  • สามารถตรวจสอบสถานะการคืนเงินภาษี ผ่านทางกรมสรรพากรได้

สรุปเรื่องใบกำกับภาษี ที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้!


สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับ "ใบกำกับภาษี" ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือผู้ใช้บริการ ก็จำเป็นต้องรู้ข้อมูลเหล่านี้ เพื่อไม่ให้เสียผลประโยชน์ และสามารถมั่นใจได้ว่าทำถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร เพียงเท่านี้การออกใบกำกับภาษีก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ถ้าหากคุณคือผู้ประกอบการที่ต้องการคำปรึกษา เราขอแนะนำ นรินทร์ทอง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการบัญชี และภาษี ที่พร้อมให้คำปรึกษา และวางระบบการจัดทำใบกำกับภาษี รับรองว่าเอกสารทางการบัญชีของคุณจะไม่ยุ่งยากอีกต่อไป!
 
 
อยากทำใบกำกับภาษี นรินทร์ทองการบัญชี พร้อมให้คำปรึกษา
สำหรับใครที่สนใจจดทะเบียนบริษัท ยื่นภาษีอากร หรือทำบัญชีบริษัท ต้องเลือกทำกับ บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เพราะเราเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี และภาษี รวมไปถึงการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี ทำให้มั่นใจได้เลยว่าหากเลือกใช้บริการกับเรา จะทำให้ธุรกิจของคุณพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดดแน่นอน อยากเติบโตในธุรกิจเลือก Narinthong !!

  • บริการส่งภาษีอากร

  • บริการจดทะเบียบบริษัท

  • บริการทำเงินเดือนพนักงาน

  • บริการรับทำบัญชี

นรินทร์ทองอยากให้ธุรกิจของคุณพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด

 
 
ใครมีข้อสงสัย ต้องการคำปรึกษา นรินทร์ทอง สามารถติดต่อสอบถามได้ที่
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Tel : 081-626-6872, 02-404-2339