ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ผลสำรวจแฟรนไชส์ซี่ (ผู้ซื้อแฟรนไชส์) ล่าสุด ปี 2551

ออฟไลน์ ThaiFranchise

  • รวมธุรกิจไทย!
  • *****
  • 1237
  • จุดนัดพบของคนทำธุรกิจแฟรนไชส์
    • ดูรายละเอียด
    • ศูนย์รวมข้อมูลแฟรนไชส์ใหญ่สุดในไทย
NEWS  RELEASE
งานโอกาสธุรกิจ & แฟรนไชส์  ครั้งที่ 13
รองรับการเปลี่ยนแปลงยุควิกฤต


กว่า 12 ครั้ง แล้วที่งานโอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์  จัดขึ้น  ระหว่าง 10 กว่าปีที่ผ่านมานั้นตัวเลขการตอบรับของผู้เข้าชมงานเป็นตัวชี้วัด  ที่สะท้อนถึงสถานการณ์การลงทุนในธุรกิจขนาดกลาง-ขนาดย่อมในแต่ละยุค   

การจัดงานโอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์ ระหว่าง 10 ปีที่ผ่านมา  มีปริมาณของผู้เข้าชมงานในแต่ละยุคที่แตกต่างกัน  การจัดงานโอกาสธุรกิจแฟรนไชส์จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรง  แต่ผลของผู้เข้าชมงานกลับมีความคึกคัก  ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากการเป็นงานรูปแบบใหม่  ที่ตอบสนองต่อความต้องการสำหรับกลุ่มที่ต้องการมองหาธุรกิจ  และช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การเข้าชมงาน มีตัวเลขผู้เข้าชมงานในอัตราที่คงที่  แต่สำหรับต้นปีที่ผ่านมา ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งผ่านยุควิกฤตที่มีการปฏิวัติ   แต่ปริมาณของผู้เข้าชมงานกลับก็มีตัวเลขของผู้เข้าชมงานมากที่สุด เกินกว่าที่คาดไว้  คือ 89,820 คน  ซึ่งมากกว่า ครั้งก่อน 30%

โดยจำนวนนี้ ได้แบ่งตามกลุ่มต่างออกเป็น
กลุ่มอาชีพ   
1.เจ้าของกิจการ  46%
2.พนักงานบริษัท   28%
3.อาชีพอิสระ (เช่น สถาปนิก,แพทย์,ทนายความ เป็นต้น)   10%
4.อาชีพ อื่นๆ   10%
5.ข้าราชการ   6%

มูลค่าธุรกิจที่ต้องการลงทุน   
หลักหมื่น   34%
หลักแสน   45%
หลักล้าน   13%
หลัก 1-5 ล้าน   7%
หลัก 10 ล้านขึ้นไป   6%

ประเภทธุรกิจที่ต้องการลงทุน   
อันดับ 1 อาหาร   29%   อันดับ 6 บริการ   6%
อันดับ  2 กาแฟ,เบเกอรี่,ไอศครีม   19%   อันดับ 6 ไอที   6%
อันดับ 3 ค้าปลีก                 15%   อันดับ 7 อสังหา(โบรกเกอร์)   4%
อันดับ  4 ธุรกิจรถยนต์   11%   อันดับ 8 ที่ปรึกษาธุรกิจ   3%
อันดับ 5 ความงาม   7%   

จากตัวเลขที่แสดง สรุปได้ว่า ผู้ที่ให้ความสนใจในการลงทุนธุรกิจนั้น เป็นกลุ่มเจ้าของกิจการมากที่สุดคือ 46% ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความพร้อมในการทำธุรกิจมากกว่า และมักจะมองหาธุรกิจใหม่ๆเพิ่มเติม  เพื่อเพิ่มรายได้และสร้างความมั่นคงในการทำกิจการ รองลงมาเป็นกลุ่มของพนักงานบริษัท ที่มีอยู่ 28% ที่ต้องการผันตัวเองมาเป็นเจ้าของกิจการ

สำหรับความสามารถในการลงทุน  คนส่วนใหญ่ 45% ต้องการลงทุนกิจการอยู่ในช่วงตัวเลขหลักแสน รองลงมา 34%  สามารถลงทุนได้ในหลักหมื่น สำหรับการลงทุนในหลักล้านขึ้นไปรวม 21%
ถ้าเปรียบเทียบกับในยุคก่อน 5 ปีที่ผ่านมา มีกลุ่มที่เข้าชมงานจำนวนที่น้อยกว่า  แต่กำลังทรัพย์ที่พร้อมในการลงทุนจะมีสูงกว่า คือส่วนใหญ่จะอยู่ในหลัก 1-3 ล้านบาท
ส่วนประเภทธุรกิจที่คนต้องการลงทุนมากที่สุด คือ กลุ่มธุรกิจอาหาร ซึ่งตลอดการสำรวจ 10 กว่าครั้งของผู้ที่เข้าชมงาน จะได้ผลเช่นเดิมทุกครั้งไม่เคยเปลี่ยนแปลง คือคนส่วนใหญ่ต้องการลงทุนในกลุ่มธุรกิจอาหารมากที่สุด   
สำหรับการจัดงานครั้งที่ 13 นั้น กำลังจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์-1 มีนาคม 2552 ณ ฮอลล์ 2 ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี คาดว่าจะมีผู้เข้าชมงานเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมากกว่า 25% หรือประมาณ 100,000 คน และมีผู้เข้าร่วมแสดงงานทั้งสิ้นกว่า 300 คูหา
สำหรับในปีนี้ ได้มีกลุ่มธุรกิจต่างๆ เข้าร่วมจองพื้นที่บูทไปแล้ว กว่า 80%
ท่ามกลางภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้  มักจะมีคำถามว่า  
“จัดงานแบบนี้แล้วจะมีผู้กล้าลงทุนทำธุรกิจหรือไม่ ?” ทางคณะผู้จัดงานมีความมั่นใจว่า  จะมีผู้เข้าชมงานมากกว่าเดิมอันเนื่องจาก
-การจัดงานครั้งแรก เคยจัดขึ้นในปี 2540 ซึ่งเศรษฐกิจย่ำแย่ที่สุดมาแล้ว  แต่กลับได้รับการตอบรับที่ดี
-ด้วยสถานการณ์นี้ ทำให้หลายคนรู้สึกไม่มั่นคงในอาชีพเดิม ต่างก็มองหาสิ่งใหม่ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
-การนำเสนอธุรกิจแปลกใหม่ๆ ในงานมีเกิดขึ้นมาเสมอ  ที่ทำให้ผู้เป็นนักธุรกิจ และผู้ประกอบการต้องติดตาม
-การขยายความเจริญไปสู่ต่างจังหวัด เป็นส่วนที่ทำให้การซื้อ-ขาย ธุรกิจได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น ทำให้นักธุรกิจจากต่างจังหวัด เดินทางเข้ามาชมงานเพิ่มขึ้น
-การเกิดขึ้นของชุมนุมชนใหม่  เช่น หมู่บ้าน  หน้าโรงเรียน ตลาดใหม่ อพารท์เม้นท์ ห้างใหญ่ๆ ล้วนต้องการธุรกิจมารองรับชุมนุมชน ซึ่งธุรกิจแฟรนไชส์ก็ขยายตัวตามแหล่งธุรกิจใหม่เหล่านี้
-ความต้องการเป็นเจ้าของกิจการของผู้ที่เคยทำงานบริษัทเอกชน มีอยู่เสมอ ที่พวกเขาหาโอกาสที่เหมาะสม และลักษณะของกิจการที่ตรงใจ




ดังนั้น การจัดงาน ครั้งที่จะถึงนี้  ก็จะมีรูปแบบที่แตกต่างๆไปจากเดิม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในยุควิกฤตนี้ได้  คือ
-การนำเสนอ ธุรกิจใหม่ๆ  
งานโอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์  มีธุรกิจใหม่ในงานเกิดขึ้น หลายราย เช่น โอ๊ดแจ็ค แฟรนไชส์ บริการเช่ารถแท็กซี่, การสื่อสารสยาม(ตู้เติมเงินอัตโนมัติ),อินเด็กซ์ลิฟวิ่งมอลล์ (บริการออกแบบตกแต่งร้านค้า) ,อะโย่ชิพ มันฝรั่งทอดเสียบไม้, ซิ้มกับบัง หอยจ้อปูนิ่ม,ธัชพล ตู้เติมเงิน ,ไดมอนด์ ,เพียวสัมมากร,ตู้แช่ สื่อพัฒนา, ซาลอนโต้, ไอแอมเทียร์,ไทยมาร์ท, ,มิวสิคพาเลซ เป็นต้น  

-การจัดสัมมนาฟรี
เรื่อง “การได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และเอกชน ในธุรกิจแฟรนไชส์”  ซึ่งจะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ระหว่างเวลา 12.30-13.30 น. เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูล และบริการต่างๆที่จะมีขึ้นจากภาครัฐ  และเอกชน ที่สามารถจะขอรับประโยชน์ได้

-กิจกรรมประกาศรายชื่อ แฟรนไชส์ดีเด่น  
นิตยสารโอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์ มีการสำรวจผู้ที่ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ย จะทำการสำรวจทุกระยะ 4 ปี  ทำให้ทราบถึงธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีเกณฑ์ความพอใจสูงสุด  แต่ที่ผ่านมาไม่ได้มีการประกาศให้ทราบ แต่สำหรับปีนี้  ในวันพิธีเปิดงานจะมีการประกาศรายชื่อของกิจการที่ได้รับความพึงพอใจจากแฟรนไชซี่สูงสุด เพื่อที่จะเป็นแบบอย่าง และกระตุ้นการสร้างระบบแฟรนไชส์ที่ดีขึ้น

-แจกฟรี นิตยสารฯ
นิตยสารโอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์  จะมีนิตยสารแจกฟรี  สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนเข้าชมงานฟรี สำหรับทุกท่าน  เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมให้กับผู้ที่สนใจในการมองหาโอกาสใหม่ๆในการทำธุรกิจ

การจัดงานโอกาสธุรกิจแฟรนไชส์ครั้งที่ 13 นี้ มีความมั่นใจว่า  จะมีส่วนในการรองรับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น  ตอบสนองต่อผู้ที่ต้องการเปลี่ยนอาชีพ  โดยมีการนำเสนอธุรกิจใหม่ๆ  หลากหลาย อีกทั้งกลุ่มธุรกิจที่เข้าร่วมแสดงในงานต่างก็มีการปรับเงื่อนไขการลงทุนต่างๆให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น มีเงื่อนไขหลายระดับการลงทุนให้เลือก  บางกิจการก็มีรูปแบบของการเช่าสถานที่ และแบ่งผลประโยชน์กัน เช่น กลุ่มธุรกิจตู้หยอดเหรียญ เป็นต้น นอกจากนี้แล้วการจัดงานครั้งนี้ ยังจัดพร้อมกับ งาน Better Shop Retail Show ครั้งที่ 2 ซึ่งมีกิจกรรมที่ตอบสนองต่อการปรับปรุงธุรกิจและเพิ่มรายได้ร้านค้า

ผลของการจัดงานครั้งนี้ น่าจะทำให้เพิ่มธุรกิจใหม่  และผู้ประกอบการใหม่ไม่ต่ำกว่า 600 รายที่จะนำมาซึ่งการจ้างงานได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 คน




ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  PRFOCUS  บริษัท  แฟรนไชส์โฟกัส จำกัด
สุดารัตน์  รัคนสารี  โทร. 02-7204821-4 ต่อ 23  หรือ โทร.086-341-2973
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2008, 09:11:25 AM โดย ThaiFranchiseStudio »
ThaiFranchiseCenter.com | รวมธุรกิจไทย!

ออฟไลน์ ThaiFranchise

  • รวมธุรกิจไทย!
  • *****
  • 1237
  • จุดนัดพบของคนทำธุรกิจแฟรนไชส์
    • ดูรายละเอียด
    • ศูนย์รวมข้อมูลแฟรนไชส์ใหญ่สุดในไทย
News Release
ผลสำรวจแฟรนไชซี่


นิตยสารโอกาสธุรกิจ & แฟรนไชส์ ได้ทำการสำรวจผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ (Franchisee) ซึ่งในระยะหลังมานี้ ภาพพจน์ของธุรกิจแฟรนไชส์ค่อนข้างถูกมองในแง่ลบ        อย่างไรก็ตามผลสรุปว่า

แฟรนไชส์จะเป็นอย่างไรกันแน่ ต้องฟังจากผู้ทำจริงเท่านั้น
ดังนั้นนิตยสารจึงทำการสำรวจกลุ่มแฟรนไชซื่ ทั้งผู้ที่กำลังทำกิจการอยู่ และผู้ที่ไม่ได้ทำแล้ว รวมทั้งสิ้น 300 ราย โดยเปรียบเทียบวิเคราะห์กับผลที่ผ่านมาเมื่อปี 2548 มีผลดังนี้

ใครคือผู้ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์
ผู้ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ อายุ 30 ปีขึ้นไป ที่เป็นวัยสร้างเนื้อสร้างตัว โดยมีระดับการศึกษา ปริญญาตรีขึ้นไป ที่มีอาชีพเดิมเป็นพนักงานบริษัท ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปจากทุกครั้งที่สำรวจอาชีพเดิมส่วนใหญ่จะเป็นที่ที่มีกิจการอยู่ก่อนแล้ว
อายุ   
20-30              15%
30-40                50%
40-50                30%
50-60                  5%


อาชีพเดิม (ปี 51)   อาชีพเดิม (ปี 48)
พนักงานบริษัท    50%   34%
เจ้าของกิจการ      38%   40%
ข้าราชการ              3%   9%
ไม่มีอาชีพใดๆ      2%   1%
อื่นๆ อิสระ            7%   5%

กลุ่มที่ศึกษาคือใคร
ในจำนวน 300 ผู้ประกอบการแฟรนไชส์นั้น ที่สำรวจนี้ 61% เปิดกิจการในต่างจังหวัด 39% อยู่ในกรุงเทพ ที่ทำธุรกิจด้านต่างๆดังนี้
บริการ   29%
การศึกษา   26%
อาหาร-เครื่องดื่ม   22%
ค้าปลีก   21%
อื่นๆ     2%

กลุ่มที่ศึกษานี้
ยังทำแฟรนไชส์อยู่   85%
ไม่ได้ทำแล้ว   15%

กลุ่มที่ทำการสำรวจนี้ มีอายุในการเปิดธุรกิจที่คละเคล้ากัน คือมีทั้งที่เพิ่มเริ่มดำเนินการ 1-2 ปี และทำมาแล้วกว่า 3-4 ปี และอายุแก่กว่า 5 ปีขึ้นไปในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน

ฟันธง แฟรนไชส์เป็นระบบที่ดี
ความเห็นของแฟรนไชซี่ 75% ฟันธงว่าแฟรนไชส์เป็นระบบที่ดี และถ้าให้ทำธุรกิจใหม่ ส่วนใหญ่ 53% ยังคงจะเลือกทำแฟรนไชส์อีก    ซึ่งแสดงว่าผู้ทีมีประสบการณ์ในการเข้าสู่ระบบ
แฟรนไชส์มาแล้ว ยังมีความเชื่อถือในการทำระบบแฟรนไชส์ แม้จะมีความเห็นในส่วนอื่นๆที่ไม่พึงพอใจบ้าง
แฟรนไชส์เป็นระบบที่ดี   75%
ไม่ดี   7%
อื่นๆ   18%

ถ้าให้ลงทุนใหม่   
ทำอีก   53%
ไม่ทำ   10%
ไม่แน่ใจ   37%


ทำได้หลายธุรกิจ
ผู้ที่ทำธุรกิจแฟรนไชส์อยู่ส่วนใหญ่นั้นมีร้านกันอยู่ 1 แห่ง 74% แต่อีก 26% มีมากกว่า 1 แห่ง และสัดส่วนการทำธุรกิจไปพร้อมกับธุรกิจอื่นๆใกล้เคียงกันคือ มีธุรกิจอื่นทำอยู่แล้ว 43% ไม่มี 57% ซึ่งเป็นสัดส่วนมีต่างจาก 4 ปีก่อน  มีแนวโน้มว่าผู้ที่ทำธุรกิจแฟรนไชส์ นั้นมักจะมีกิจการอื่นๆทำอยู่ด้วย อันเนื่องจากระบบแฟรนไชส์ นั้นเสมือนมีผู้ช่วยในการร่วมทำธุรกิจ ทำให้การบริหารกิจการมีความง่ายขึ้น

มีกี่แห่ง ?
มีแฟรนไชส์ 1 แห่ง          74%
มากกว่า 1 แห่ง              26%   มีธุรกิจอยู่หรือไม่?
มีธุรกิจอื่น                      43%
ไม่มีธุรกิจอื่น                  57%





เงินลงทุนหลักแสน
การลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ จะอยู่ในระดับที่ 1-3 ล้านบาท ซึ่งต่างจากช่วง 10 ปีก่อนที่ระดับการลงทุนแฟรนไชส์ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 3 ล้านขึ้นไป ทั้งนี้เป็นเพราะผู้ขายแฟรนไชส์ได้ปรับทางเลือกในการลงทุนให้เหมาะกับกำลังของผู้ประกอบการ
    เงินลงทุน  ปี 2551
ต่ำกว่า 1 แสนบาท   19%
1 แสน – 5 แสนบาท   22%
5 แสน – 1 ล้านบาท   13%
1ล้าน-3ล้านบาท   33%
3ล้าน-6ล้านบาท   4%
6ล้าน-9ล้านบาท   3%
9ล้านบาทขึ้นไป   1%

คุ้มไม่คุ้มใกล้เคียงกัน
การลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ไปนั้น
ปี51   ปี 48
คุ้มทุนแล้ว   47%   31%
ยังไม่คุ้มทุน   53%   66%

เมื่อเปรียบเทียบความคุ้มทุน ยังคงไม่คุ้มทุนอยู่ แต่ก็จะมีสัดส่วนพอๆกัน แต่หากเปรียบเทียบกับปี 48 จะเห็นว่าจะมีการคุ้มทุนสูงขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอายุของธุรกิจส่วนใหญ่นานขึ้น จึงใกล้ถึงจุดที่คุ้มการลงทุนแล้ว

กำไรกันเท่าไหร่
การทำแฟรนไชส์ 87% จะมีกำไรต่อเดือน แต่ผลกำไร ในธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่จะจะอยู่ที่ 1หมื่น-3หมื่นบาทต่อเดือน แต่การได้กำไรไม่สัมพันธ์กับการลงทุน หากธุรกิจลงทุนเพียงหลักแสน ก็ทำกำไรต่อเดือนได้ในระดับ 2-3หมื่นบาท ในขณะที่หากธุรกิจลงทุนในหลักล้าน ก็ยังให้ผลกำไรในระดับเดียวกัน

มีกำไรต่อเดือนหรือไม่?
มีกำไรต่อเดือน   87%
ไม่มีกำไร   13%
กำไรต่อเดือน
ต่ำกว่า 1 หมื่น   17%
1หมื่น-3 หมื่นบาท   38%
3หมื่น-6หมื่นบาท   26%
6หมื่น-9หมื่นบาท   7%
9หมื่น-1.2แสนบาท   5%
1.2แสนบาทขึ้นไป   7%


การคุ้มทุน
ความคุ้มทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ ส่วนใหญ่จะยังระบุไม่ได้ แต่สำหรับผู้ที่ระบุได้นั้น ส่วนใหญ่จะตอบว่าคุ้มทุนในระยะ 2 ปี
ระยะเวลาคุ้มทุน
1 ปี   16%
2 ปี   27%
3 ปี   14%
4 ปีขึ้นไป   16%
อื่นๆ   27%


ค่าธรรมเนียม
ธุรกิจแฟรนไชส์ นั้นส่วนใหญ่จะต้องมีการเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ เพื่อเป็นการตอบแทนในการถ่ายทอดการทำธุรกิจและการให้ความดูแลช่วยเหลือ แต่ธุรกิจเล็กๆหลายราย เช่น ก๋วยเตี๋ยว เครื่องดื่ม หรือธุรกิจแฟรนไชส์เล็กๆ จะไม่เก็บค่าธรรมเนียมใดๆ  ซึ่งมีอยู่ 26% และราคาของค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ที่นิยมเก็บไปอยู่ในหลัก 5 หมื่น-1แสนบาท และ 1แสน-5แสนบาทตามลำดับ

การจ่ายค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์
จ่าย   74%
ไม่ได้จ่าย   26%

จำนวนค่าธรรมเนียม
ต่ำกว่า 5 หมื่นบาท   8%
5 หมื่น-1แสนบาท   39%
1แสน-5แสนบาท   33%
5แสน-1ล้านบาท   11%
มากกว่า 1 ล้าน   9%


ค่าธรรมเนียมคุ้มค่าหรือไม่
ความเห็นของแฟรนไชซี่ บอกว่าค่าธรรมเนียมที่จ่ายให้แฟรนไชซอร์นั้นมีความคุ้มค่า 66% ซึ่งนับว่าคนส่วนใหญ่ยอมรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ และยังพอใจในการสนับสนุนของบริษัทแม่

ความคุ้มค่าของค่าธรรมเนียม
คุ้มค่า   66%
ไม่คุ้มค่า   31%
อื่นๆ   3%

ความพอใจในการสนับสนุนของบริษัทแม่
พอใจ   64%
ไม่พอใจ   35%
เฉยๆ   1%



บทสรุป ภาพรวมแฟรนไชซี่ ยังอยู่ในเกณฑ์ดี
แม้จะมีการกล่าวถึงในด้านลบของการทำธุรกิจแฟรนไชส์กันมาก แต่จากผลสำรวจที่ออกมา จากคนที่ทำแฟรนไชส์อยู่ หรือแม้แต่คนที่เลิกทำไปแล้วก็ตาม ยังมีผลออกมาในเกณฑ์ดี ทั้งในเรื่องของความพึงพอใจในการทำแฟรนไชส์ และความเชื่อต่อระบบแฟรนไชส์ ว่าเป็นระบบที่ดี และพวกเขายังคิดจะทำแฟรนไชส์อีก ถ้าให้เริ่มต้นใหม่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ภาพรวมของผู้ประกอบการแฟรนไชส์นั้นยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และธุรกิจส่วนใหญ่ ยังมีผลกำไรต่อเดือนอยู่

แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ ทำธุรกิจยังไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน อันเนื่องจากผลกำไรในการลงทุนต่อเดือนส่วนใหญ่ ยังอยู่ในระดับที่ 1-3 หมื่นบาทต่อเดือน แต่ความคุ้มค่านี้ยังดีขึ้นกว่ายุคที่ผ่านมา เพราะกิจการหลายแห่งมีอายุมากขึ้น ซึ่งคาดว่าการสำรวจในครั้งต่อไป ตัวเลขในด้านนี้จะให้ผลกลับกัน คือมีความคุ้มค่ามากกว่า

จากผลสำรวจนี้ ผู้ประกอบการที่พึงพอใจ ในธุรกิจที่ทำอยู่นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นรายที่มีแบรนด์ดัง ที่แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจที่ขายแฟรนไชส์นั้น การให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วน ในการสร้างแบรนด์ เพื่อที่จะนำมาสู่ยอดขายของแฟรนไชซี่ และสร้างทีมงานสนับสนุนร้านแฟรนไชส์ ที่จะเพิ่มคะแนนความพึงพอใจให้สูงขึ้น

แต่ในทางตรงกันข้าม แฟรนไชซี่ที่ไม่ค่อยพอใจในธุรกิจที่ทำนัก มักจะเป็นรายที่ไม่ค่อยมีชื่อเสียง และมีผลประกอบการต่ำ ซึ่งเป็นผลโดยตรงมาจากความนิยมในคุณภาพ และแบรนด์ของธุรกิจนั้น

** หมายเหตุ :  การนำเสนอข้อมูล ผลสำรวจนี้ กรุณาอ้างถึงแหล่งที่มา สำรวจโดย นิตยสารโอกาสธุรกิจและแฟรนไชส์ ****




ฝ่ายประชาสัมพันธ์ข่าว บริษัท แฟรนไชส์โฟกัส จำกัด /นิตยสารโอกาสธุรกิจและแฟรนไชส์
สุดารัตน์  086 341 2973 หรือ 02 720 4821-5 : pr.fcfocus@gamail.com

ThaiFranchiseCenter.com | รวมธุรกิจไทย!