ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


"โคลิค" อาการที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

"โคลิค" อาการที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม
« เมื่อ: มีนาคม 04, 2020, 10:28:20 AM »


การที่ ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ หรือ  ลูกร้องไม่หยุด ไม่ว่าจะปลอบโยนด้วยวิธีใด ๆ ก็ ไม่สามารถทำให้สงบลงได้ ทั้งที่ลูกน้อยไม่มีอาการง่วง หิวหรือไม่สบายตัว เป็นอีกหนึ่งความกังวลที่พ่อแม่หลายๆ คน มักจะพาลูกไปพบแพทย์เพื่อดูว่าลูกไม่สบาย หรือเป็นอะไรหรือเปล่า
   แน่นอนว่าลูกน้อยที่อยู่ในวัย 2-3 สัปดาห์ ไปจนถึง 5 เดือน จะมีโอกาสเกิด อาการโคลิค หรืออาการที่ลูกร้องไห้ไม่หยุด ร้องไห้เสียงเล็กแหลม เป็นเวลานาน และยังร้องติดต่อกันหลายสัปดาห์ ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าการร้องไห้งอแงของลูกทุกครั้งจะต้องเป็น "โคลิค" ทั้งหมด เพราะอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติในร่างกายหรือเจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่นิ่งเฉยหรือคิดว่า "เดี๋ยวคงดีขึ้นเอง" ก็อาจทำให้เกิดผลเสียต่อลูกน้อยได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงต้องหมั่นสังเกตอาการ และหากว่าไม่แน่ใจ ก็ควรพาลูกน้อยไปให้แพทย์ตรวจร่างกายอย่างละเอียด จะเป็นการดีที่สุด
วิธีสังเกตการร้องไห้ของลูก แบบไหนไม่ควรนิ่งนอนใจ
   โดยปกติ เมื่อ ทารกร้องไห้ คุณพ่อคุณแม่หรือคนใกล้ชิดมักจะนึกถึงความต้องการพื้นฐานของเด็กคือ "หิวนม" "เฉอะแฉะ" หรือ "ง่วงนอน" ไว้ก่อน แต่หาก เด็กร้องไห้ ไม่หยุด ร้องนานเป็นชั่วโมง ร้องอย่างรุนแรงด้วยเสียงแหลม และร้องในเวลาเดิม ๆ แทบทุกวัน ก็เป็นไปได้ที่ลูกน้อยจะมีอาการร้องร้อยวันหรือโคลิค คุณพ่อคุณแม่ควรลองวิธีต่าง ๆ ที่จะทำให้ลูกน้อยสบายตัวขึ้น เช่น อุ้มลูกให้แนบชิดกับอก และโยกตัวเบาๆ หรือพาเดินไปที่สถานที่ตรงอื่น เปลี่ยนบรรยากาศให้สงบมากยิ่งขึ้นก็สามารถช่วยได้ อาการโคลิคนี้จะอยู่กับลูกไปอีกระยะจนกว่าจะเข้าสู่ช่วงวัย 5-6 เดือน อาการจึงจะหายสนิท โดยไม่มีอันตรายและไม่มีผลกับพัฒนาการของลูกน้อย แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องไม่ลืมเตรียมแผนช่วยลดความกดดันและความเครียดจากการที่ต้องรับมือกับการร้องไห้โยเยเป็นเวลานาน ๆ ติดต่อกันไว้ด้วย เช่น หาผู้ช่วยมาเปลี่ยนมือคอยดูแลลูกน้อยบ้างเป็นบางวัน
   แต่หากการร้องไห้อย่างรุนแรงของลูกน้อยเริ่มส่งผลให้พฤติกรรมต่าง ๆ ผิดไปจากปกติ เช่น ลูกกินนมได้น้อยลง หรือไม่ยอมกินนม กระหม่อมบุ๋มลง ตัวซีดหรือเริ่มเขียว มีอาการชักหรือหายใจผิดปกติ ตัวอ่อนปวกเปียกหรือมีไข้สูง ต้องพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาในทันที เพราะฉะนั้นหากเห็นว่าลูกน้อยเริ่มมีอาการร้องไห้อย่างไม่มีสาเหตุ แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ หมั่นสังเกตอาการ และหากไม่แน่ใจการพบแพทย์จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด