ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


คุณแม่ตั้งครรภ์กับการรับประทานอาหาร

อาการภูมิแพ้ในเด็กเป็นอาการที่พบมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการแพ้อาหาร อย่างเช่น แพ้นมวัว ที่ทำให้ทารกท้องอืดเนื่องจากไม่สามารถย่อยโปรตีนในนมวัวได้ ทำให้หลังๆ มานี้ มีนมสำหรับเด็กแพ้นมวัวออกมาจำหน่ายอยู่หลายยี่ห้อหลายสูตร คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรใส่ใจในการเลือกรับประทานอาหารสำหรับคนท้องที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ในเด็กที่คลอดออกมา เนื่องจากอาหารคนท้องก็มีส่วนที่ทำให้เด็กเกิดอาการภูมิแพ้ได้ ส่วนจะมีข้อปฏิบัติอะไรที่คุณหมอแนะนำนั้น ลองมาอ่านต่อกันเลยค่ะ
   1. อาหารสำหรับคนท้องควรมีสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งคุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะมีความต้องการโปรตีนเพิ่มขึ้นจากเดิมวันละประมาณ 25 กรัมและต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นวันละประมาณ 300 กิโลแคลอรี ยกตัวอย่างเช่น การรับประทานข้าวและเนื้อสัตว์ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรกินข้าวเพิ่มขึ้นวันละ 1 ทัพพี และกินเนื้อสัตว์ไขมันต่ำเพิ่มขึ้นวันละ 2-3 ช้อนโต๊ะ
   2. ดังที่ได้ยินมาว่าควรงดอาหารกลุ่มเสี่ยงที่มีรายงานว่าก่อให้เกิดอาการแพ้ในเด็กได้บ่อย เช่น นมวัว ไข่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง แป้งสาลี และอาหารทะเล อาจไม่จำเป็นนัก ซึ่งจริงๆ แล้วอาจส่งผลเสียทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนได้ จึงไม่จำเป็นต้องงดเพียงแต่ควรรับประทานที่หลากหลายในปริมาณที่สมดุล ไม่มากและไม่น้อยเกินไปเพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนนั่นเอง
   3. ไม่ควรกินอาหารกลุ่มเสี่ยงต่อการแพ้ในปริมาณที่มากเกินกว่าปกติ เช่น ปกติก่อนตั้งครรภ์ดื่มนมวันละ 1-2 แก้ว ทานไข่วันละไม่เกิน 1 ฟอง เมื่อตั้งครรภ์จึงเพิ่มปริมาณเป็นนม 1-2 ลิตร ไข่วันละ 2-3 ฟอง เช่นนี้ถือว่ามากเกินพอดี นอกจากจะทำให้คุณแม่น้ำหนักเพิ่มเยอะเกินไปแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงของการแพ้อาหารชนิดนั้นๆ ในลูกอีกด้วย
   4. ในคุณแม่ตั้งครรภ์บางรายกลัวว่าลูกจะอาการแพ้นมวัว จึงดื่มนมถั่วเหลืองแทนในปริมาณที่มากกว่าปกติเพื่อทดแทนการดื่มนมวัว ในลักษณะนี้จะทำให้ลูกมีโอกาสแพ้ถั่วเหลืองได้ ซึ่งก็มีการพบในเด็กจำนวนหนึ่งเช่นกันที่แพ้อาหารที่ทำจากถั่ว ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำๆ มากจนเกินไป
   5. มีการศึกษาพบว่าหากคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมลูก รับประทานจุลินทรีย์สุขภาพ เช่น บิฟิโดแบคทีเรียม แลคโตบาซิลลัส จะช่วยลดโอกาสในการเกิดผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบในลูกได้ ทั้งนี้ผลในการป้องกันภูมิแพ้ อาจแตกต่างกัน ขึ้นกับชนิดของจุลินทรีย์ ปริมาณ และระยะเวลาที่รับประทาน
    จะเห็นได้ว่า หลักการทั้ง 5 ข้อที่กล่าวมานี้ เป็นหลักปฏิบัติทั่วไปที่สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่บางครั้งคุณแม่อาจมองข้ามไป หลังจากนี้แล้วเพื่อให้สุขภาพของลูกน้อยแข็งแรงสมบูรณ์ คุณแม่จึงควรใส่ใจในเรื่องอาหารการกิน การพักผ่อน และการปฏิบัติตัวต่างๆ และนอกเหนือจากนั้นอาหารที่ควรระวังก็คืออาหารที่ผ่านการปรุงแต่งด้วยวัตถุปรุงรสอาหารต่างๆ อาหารแปรรูปที่ผ่านขั้นตอนต่างๆ ที่นอกจากมีคุณค่าทางอาหารไม่มากแล้ว ยังอาจได้รับสารเจือปนในระหว่างขั้นตอนการผลิตได้ อีกทั้งสารอาหารจะอยู่ในรูปที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมซึ่งโดยมากแล้วจะให้โทษต่อร่างกายในระยะยาว