ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ประชุมเสวนาระบบเครือข่าย - โอกาสใหม่สู่ตลาดจีน

ออฟไลน์ ThaiFranchise

  • รวมธุรกิจไทย!
  • *****
  • 1237
  • จุดนัดพบของคนทำธุรกิจแฟรนไชส์
    • ดูรายละเอียด
    • ศูนย์รวมข้อมูลแฟรนไชส์ใหญ่สุดในไทย
โครงการประชุมเสวนาเชิงวิชาการด้านธุรกิจเกษตร

ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและส่งเสริมเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่





1. ชื่อโครงการ “ระบบเครือข่าย - โอกาสใหม่สู่ตลาดจีน

2. ผู้รับผิดชอบโครงการ    
ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและส่งเสริมเผยแพร่การเกษตร
คณะเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดยความร่วมมือของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาธุรกิจเกษตร (ภาคพิเศษ)

3. หลักการและเหตุผล

เมื่อสิ้นสุดปี พ.ศ. 2552  ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้กลายเป็นประเทศที่มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศมากเป็นอันดับที่สามของโลก  รองจากประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น  มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยในรอบสามสิบสูงที่สุดในโลก  เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดในโลก  และเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่เป็นอันดับสองของโลก  รองจากประเทศสหรัฐอเมริกา

ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมีจำนวนประชากร 1,300 ล้านคน  มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอยู่ที่ 4,910,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  หรือเทียบเป็นมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (purchasing power parity) ที่ 8,770,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  นับเป็นอันดับ 2 ของโลก  รองจากประเทศสหรัฐอเมริกา  ทั้งยังมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 8.7%  ดังนั้นกำลังซื้อของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนจึงมีมูลค่ามหาศาล  และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง  ดังเช่นเช่นที่ผ่านมา

ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมาอย่างยาวนาน  มีวัฒนธรรมประเพณีที่ใกล้เคียงกัน  มีพรมแดนทางบกห่างกันเพียงไม่กี่ร้อยกิโลเมตร  มีช่องทางติดต่อขนส่งสินค้าที่หลากหลาย  ทั้งทางบก  ทางลำน้ำ (แม่น้ำโขง)  ทางเรือเดินทะเล  และทางอากาศ  นอกจากนี้  ชาวจีนยังนิยมบริโภคข้าวหอมมะลิ  และผลไม้จากประเทศไทย  เช่น  ลำไย  ทุเรียน  มังคุด  ขนุน  มะม่วงน้ำดอกไม้  กล้วยไข่  เป็นต้น  ดังนั้นประเทศไทยจึงน่าจะมีโอกาสที่ดีในการเข้าไปมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่มีมูลค่ามหาศาลของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  อย่างไรก็ตาม  จากข้อมูลการค้าระหว่างประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  ปรากฏว่า  ประเทศจีนนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยเพียง  24,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.47  นับเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าอันดับที่ 9 ของจีน  และหากพิจารณาเฉพาะสินค้าเกษตร  ในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2552  ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทยเป็นมูลค่าเพียง 1,046.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น

การที่มูลค่าสินค้าเกษตรที่นำเข้าจากประเทศไทยไม่อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจนี้  เป็นสิ่งที่เกิดจากปัญหาทั้งจากฝ่ายไทยและฝ่ายจีน  ซึ่งท่านอาจารย์อักษรศรี  พานิชสาส์น  ได้ให้ความเห็นว่า

ปัญหาจากฝ่ายจีน  ได้แก่

1) ปัญหาจากการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี  (non-tariff barriers: NTBs) เช่น  ขั้นตอนและพิธีการด้านกงศุลกากรในการนำเข้า  การกำหนดปริมาณนำเข้า (quota)  รวมทั้งการกำหนดเงื่อนไขปลีกย่อยในการนำเข้า  ซึ่งสินค้าต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของจีน  ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่ม  นอกจากนี้ในแต่ละด่านแต่ละมณฑลก็ยังคงมีความเข้มข้นและเข้มงวดแตกต่างกันไป  เจ้าหน้าที่รัฐยังมีการใช้ดุลพินิจและการเลือกปฏิบัติในการนำกฎระเบียบและมาตรการต่างๆ มาใช้

2) ปัญหาข้อจำกัดในการกระจายสินค้าในตลาดจีน  และขั้นตอนกฎระเบียบต่างๆ ของจีนที่เกี่ยวกับการกระจายสินค้าไปสู่ตลาดระดับมณฑล

3) ระบบการค้าอยู่ในการกำกับโดยรัฐ  ระเบียบขั้นตอนการนำเข้าซับซ้อน  และการปฏิบัติงานของหน่วยงานประเทศจีนยังคงมีความไม่แน่นอน  เปลี่ยนแปลงได้  ตลอดจนในเรื่องของความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน

4) ปัญหาระบบการชำระเงินในประเทศจีน  ในบางพื้นที่  บางมณฑล  ยังไม่เป็นระบบสากลมากนัก  ระบบธนาคารของจีนยังมีปัญหาและยังไม่พัฒนาไปมากเท่าที่ควร  การทำการค้าในบางมณฑลยังคงอาศัยระบบความไว้วางใจกัน

5) การยึดในตัวบุคคลในการทำธุรกิจในจีน  ทำให้จำเป็นต้องใช้สายสัมพันธ์ (guanxi) ในการสร้างเครือข่ายในการทำตลาดในระดับท้องถิ่นของจีน  เป็นต้น

6) ในปัจจุบัน  ข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-จีน  ได้มีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์  ทำให้ไม่มีการเก็บภาษีการนำเข้าระหว่างกัน  อย่างไรก็ตาม  ประเทศจีนยังมีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในสินค้าเกษตร  ดังนั้นราคาสินค้าเกษตรที่ขายในประเทศจีนจึงมีราคาสูงขึ้น  ทำให้อุปสงค์ (demand) ในสินค้าไทยลดลง  ไม่เป็นไปตามเจตนารมย์ของการทำความตกลงดังกล่าว

ปัญหาจากฝ่ายไทย  ได้แก่

1) ข้อจำกัดของผู้ประกอบการไทยเอง  เช่น  นักธุรกิจไทยมักจะไม่ศึกษาข้อมูลด้านการตลาด  ทั้งระดับเมือง  และมณฑลของจีนให้ถ่องแท้  ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกและระบบการค้าภายในของตลาดจีนมากนัก  และไม่เข้าใจวัฒนธรรมทางธุรกิจของจีน  ที่ผ่านมา  นักธุรกิจไทยมักจะทำการค้าผ่านพ่อค้าคนกลาง (ส่วนใหญ่เป็นชาวฮ่องกง) และไม่เข้าใจวิธีการกระจายสินค้าในประเทศจีน  เป็นต้น

2) นักธุรกิจไทยไม่สนใจการทำตลาดในจีนอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง  ทำให้สินค้าไทยยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย  ในบางมณฑล/พื้นที่  โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับตลาดของจีนทั้งประเทศ  รวมทั้งการไม่รักษาคุณภาพของสินค้า  ส่งผลต่อภาพลักษณ์ไทยในสายตาคนจีน  เช่น  ปัญหาสินค้าปลอมปน  ปลอมแปลง  และสินค้าไม่ได้มาตรฐานเป็นต้น

3) ผู้ประกอบการไทยส่วนมากไม่รู้ภาษาจีนในระดับที่ใช้งานได้  จึงมีปัญหาการติดต่อสื่อสารกับฝ่ายจีน

จากปัญหาที่กล่าวมา  หนทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการส่งสินค้าไปสู่ตลาดจีนมีหลายด้านที่ต้องดำเนินการ  ทั้งในระดับรัฐบาลและในระดับเอกชน  ซึ่งสำหรับในด้านเอกชน  อันได้แก่  เกษตรกร  ผู้ส่งออกสินค้า  และผู้กระจายสินค้าฝ่ายไทยในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  ต้องร่วมมือกันเพื่อสร้างเครือข่ายการส่งออกสินค้าเข้าสู่ตลาดจีน  แทนที่จะพึ่งพาคนกลางหรือผู้กระจายสินค้าของฝ่ายจีน

สาขาวิชาธุรกิจเกษตร (ภาคพิเศษ)  ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร  คณะเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ได้เล็งเห็นถึงปัญหาและความสำคัญดังกล่าว  จึงประสงค์ที่จะจัดงานประชุมเสวนาทางวิชาการ  ในหัวข้อ “ระบบเครือข่าย - โอกาสใหม่สู่ตลาดจีน”  ซึ่งการจัดประชุมเสวนาทางวิชาการครั้งนี้  ได้ เชิญวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการทำการค้ากับ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมาบรรยายถึงการเข้าสู่ตลาดในประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีน  ระบบการการจัดการขนส่งสินค้า  โลจีสติกส์  พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  และการสร้างเครือข่ายการค้าในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  เพื่อส่งเสริมมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน



4. วัตถุประสงค์

1.  เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรหลักไปสู่ประเทศจีนโดยการสร้างระบบเครือข่าย

2.  เพื่อบริการวิชาการแก่สังคมเพิ่มความรู้ความเข้าใจในการส่งสินค้าเกษตรไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน



5. ประเด็น

1.  วิธีการเข้าสู่ตลาดในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนปัจจุบันและอนาคต

2.  การใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อช่วยในการขายและกระจายสินค้าในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

3.  ระบบการขนส่งสินค้า  โลจีสติกส์  ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

4.  วิธีการสร้างระบบเครือข่ายการค้าเพื่อการส่งออกของผู้ที่เกี่ยวข้องขนาดกลางและกลุ่มอาชีพ



6. วัน  เวลา  และสถานที่

วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553  เวลา 8.00 น. ถึง 17.00 น.  
ณ ห้องแสนตอง                                
โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว  จังหวัดเชียงใหม่



7. ผู้เข้าร่วมสัมมนา

ผู้เข้าร่วมการสัมมนา  ประกอบด้วย

1.  ผู้จัดกิจกรรม

                คือ  นักศึกษาสาขาธุรกิจเกษตร (ภาคพิเศษ) รุ่นที่ 3  จำนวน 30 คน

2.  ผู้เข้าร่วมการสัมมนา

                แบ่งเป็น

                1) กลุ่มเกษตร  ผู้ประกอบการ  และผู้สนใจทั่วไป  จำนวน100 คน

                2) อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและส่งเสริมเผยแพร่การเกษตร                     คณะเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  จำนวน 10  ท่าน

                3) วิทยากรรับเชิญ  จำนวน 3  ท่าน

                4.) ผู้ดำเนินรายการ   จำนวน  3 ท่าน

                4) นักศึกษาสาขาธุรกิจเกษตร (ภาคพิเศษ) รุ่นที่ 1 ,2 และ 4 จำนวน  70 คน

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  ผู้เข้าร่วมการสัมมนาสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตนเองได้

2.  ผู้ผลิต  ผู้ลงทุน  และผู้ส่งออก  มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  และปรับปรุงคุณภาพของสินค้า  ทำให้สินค้าตรงกับความต้องการของตลาดจีนมากขึ้น

3.  ผู้ผลิต  ผู้ลงทุน  และผู้ส่งออก  เห็นประโยชน์และช่องทางในการสร้างระบบเครือข่ายการค้าสินค้าไทยสำหรับตลาดในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

4.  ผู้เข้าร่วมสัมมนาเข้าใจในระบบขนส่งสินค้า  โลจิสติกส์  เพื่อนำไปปรับใช้ในธุรกิจของตน



9. วิธีการดำเนินงาน
1.             การรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นก่อนการสัมมนา ในการรวบรวมข้อมูลผู้ค้าที่มีการรวมกลุ่มในการจำหน่ายสินค้าเกษตร  และผู้ประกอบการที่ส่งสินค้าไปจำหน่ายประเทศจีน  พร้อมทั้งข้อมูลระบบการขนส่งสินค้า  โลจิสติกส์  ระบบการเก็บภาษีของแต่ละมณฑล  รวมถึงความต้องการข้อมูลทางสถิติในการนำสินค้าเกษตร

2.             ในวันงานสัมมนาจะแบ่งการสัมมนาเป็นสองรูปแบบคือ

2.1   การบรรยายพิเศษ เรื่อง  โครงข่ายสายใย-การค้าในประเทศจีน  โดย คุณณรงค์                           เจียวรนนท์

2.2                                                   การบรรยายเรื่อง  “ระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ (ecommerce/e-logistics)”  โดย  กระทรวง

              พาณิชย์

       2.3  การบรรยาย  “ทางเลือกด้านโลจิสติกส์”  โดย ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณะธรรม

       2.4  มีการร่วมระดม ระหว่างผู้ประกอบการและกลุ่มผู้เกษตรกร

10.  ราคาบัตรเข้าร่วมงานสัมมนาท่านละ 300 บาท (สามร้อยบาทถ้วน)    สนใจติดต่อ

          หวาน   E-mail:Ritayyx@hotmail.com

                       

11. กำหนดการประชุมเสวนา



        “การวางระบบเครือข่ายสู่ตลาดจีน”

   วันเสาร์ ที่ 29 พฤษภาคม 2553

   ณ ห้องแสนตอง โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว



เวลา                                                                       กิจกรรม

08:00 – 08:45 น.                                                -ลงทะเบียน

08:30 – 09:00 น.                                                -พิธีเปิดกล่าวรายงาน

โดย คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ รศ.ธีระ วิสิทธิ์พานิช

                                                                -กล่าวเปิดงาน

โดย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศ.ดร. พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์

09:00 – 10:30 น.                                                -บรรยายพิเศษ โครงข่ายสายใย-การค้าในประเทศจีน

                                                                โดย...ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทเจริญโภคภัณฑ์  จำกัด....(คุณ ณรงค์  

                                                                           เจียรวนนท์  .. หวังเพียงอย่างยิ่ง)

                                                                -พักทานของว่าง

10:30 – 12:30 น.                เสวนาในหัวข้อ “การวางระบบเครือข่ายของผู้ประกอบการ/กลุ่มเกษตรกร  - แนวทางที่เป็นไปได้

–สมาคมผู้ค้าลำไย ,ข้าว,มะม่วง,ส้ม

-กลุ่มเกษตรกรผู้ค้าลำไย,ข้าว,มะม่วง,ส้ม

                                                                ดำเนินการโดย  สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย

12:30 – 13:30 น.                                                พักรับประทานอาหารกลางวัน

13:30 – 14:30 น.                                การเสวนาในหัวข้อ “ระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ (ecommerce/e-logistics)”

ช่วยท่านได้อย่างไร โดย   กระทรวงพาณิชย์

14:30 – 15:30 น.                                -ทางเลือกด้านโลจิสติกส์

                                                                โดย   ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณะธรรม

15:30 – 17:00 น.                                ระดมความคิดเห็นเพื่อวางระบบเครือข่ายการค้าสู่จีน              

–สมาคมผู้ค้าลำไย ,ข้าว,มะม่วง,ส้ม

-กลุ่มเกษตรกรผู้ค้าลำไย,ข้าว,มะม่วง,ส้ม

                                                               และผู้ร่วมประชุมทุกส่วน

                                                                 ดำเนินการโดย ศ.ดร.อารีย์ วิบูลย์พงษ์ และ รศ.ดร. ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 19, 2010, 02:10:36 AM โดย ThaiFranchiseStudio »
ThaiFranchiseCenter.com | รวมธุรกิจไทย!