ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ร่างกฎหมายการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์

ออฟไลน์ ThaiFranchise

  • รวมธุรกิจไทย!
  • *****
  • 1237
  • จุดนัดพบของคนทำธุรกิจแฟรนไชส์
    • ดูรายละเอียด
    • ศูนย์รวมข้อมูลแฟรนไชส์ใหญ่สุดในไทย
ร่างกฎหมายการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์
« เมื่อ: มกราคม 11, 2010, 06:08:59 AM »
ขอเชิญท่านร่วมแสดงความคิดเห็นร่างกฎหมาย  
ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ พ.ศ. ....
 
 

กฎหมาย

   กฎหมายและระเบียบ  
 แสดงความคิดเห็นร่างกฎหมาย  
   ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ พ.ศ. ....  
 คำวินิจฉัย  

 

- ร่าง-
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์
พ.ศ. ....


...............................



...............................

...............................

...............................



               ... .........................................................................

               โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์

               พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ มาตรา ๓๓ ประกอบกับมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

               ...

               มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์  พ.ศ. ....”



               มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา



               มาตรา ๓ พระราชบัญญัตินี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่              

               (๑) การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ซึ่งแฟรนไชส์ซอร์มีภูมิลำเนาและทำสัญญานอกราชอาณาจักรเพื่อให้สิทธิแฟรนไชส์ซีเข้ามาประกอบธุรกิจที่ได้รับสิทธินั้นในราชอาณาจักรด้วยตนเอง

               (๒) การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด



               มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

               “แฟรนไชส์” หมายความว่า

               (๑) การประกอบธุรกิจที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า “แฟรนไชส์ซอร์” ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “แฟรนไชส์ซี” ประกอบธุรกิจโดยใช้รูปแบบ ระบบ ขั้นตอนและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของตน หรือที่ตนมีสิทธิที่จะให้ผู้อื่นใช้เพื่อประกอบธุรกิจภายในระยะเวลาหรือเขตพื้นที่ที่กำหนด และการประกอบธุรกิจนั้นอยู่ภายใต้การส่งเสริม และควบคุมตามแผนการดำเนินธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซีมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนแก่แฟรนไชส์ซอร์

               (๒) การประกอบธุรกิจอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

               “แฟรนไชส์ซอร์” หมายความว่า ผู้ให้สิทธิในการประกอบธุรกิจ

               “แฟรนไชส์ซี” หมายความว่า ผู้รับสิทธิในการประกอบธุรกิจ

               “ทรัพย์สินทางปัญญา” หมายความว่า ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรอง สิทธิบัตร และความลับทางการค้าตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และให้หมายความรวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

               “การประกอบธุรกิจ” หมายความว่า การประกอบการค้า การบริการ หรือกิจการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

               “ค่าตอบแทน” หมายความรวมถึงประโยชน์อย่างอื่นที่ไม่ใช่ตัวเงินด้วย

               “การเปิดเผยข้อมูล” หมายความว่า การใดๆ ซึ่งแฟรนไชส์ซอร์มีหน้าที่เปิดเผยให้แฟรนไชส์ซีทราบเพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจของแฟรนไชส์ซี และให้หมายความรวมถึงการฝึกอบรม การทดลองปฏิบัติงาน และการอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องและจำเป็นด้วย

               “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์

               “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์

               “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์

               “นายทะเบียน” หมายความว่า อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและผู้ซึ่งอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามอบหมาย

               “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้

               “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้



               มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

               กฎกระทรวงนั้นเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้



               มาตรา ๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้

               (๑) มีหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ แจ้งข้อเท็จจริง หรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือให้ส่งบัญชี ทะเบียน เอกสารหรือหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบหรือประกอบการพิจารณา

               (๒) เข้าไปในสถานที่ทำการของผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ หรือผู้ประกอบธุรกิจอื่นในเวลาทำการของสถานที่นั้นเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร หรือหลักฐานเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

               ในการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร



               มาตรา ๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วแต่กรณี

               บัตรประจำตัวของนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด



               มาตรา ๘ ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ให้กรรมการ อนุกรรมการ นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา



                                                                                                                 หมวด ๑

                                                                                               คณะกรรมการการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์



               มาตรา ๙ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์”ประกอบด้วย

               (๑) ปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานกรรมการ

               (๒) กรรมการโดยตำแหน่งได้แก่ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา อธิบดีกรมการค้าภายใน ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  

               (๓) กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากสมาคมที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์จำนวนสองคน

               (๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสองคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์

               ให้ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เป็นกรรมการและเลขานุการ

               ในการแต่งตั้งกรรมการตามวรรคหนึ่ง (๓) ให้บรรดาสมาคมที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์เสนอชื่อผู้ที่สมควรต่อรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแต่งตั้งตามหลักเกณฑ์วิธีการเสนอชื่อบุคคลตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด



               มาตรา ๑๐ ให้กรรมการตามมาตรา ๙ (๓) และ (๔) มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน

               เมื่อครบกำหนดวาระตามวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินการต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่



               มาตรา ๑๑  นอกจากการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการตามมาตรา ๑๐ กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

               (๑) ตาย

               (๒) ลาออก

               (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย

               (๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

               (๕) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ

               (๖) รัฐมนตรีให้ออกเพราะไม่เข้าร่วมประชุมห้าครั้งติดต่อกัน บกพร่อง ไม่สุจริตต่อหน้าที่มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ

               ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทนได้และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน



               มาตรา ๑๒ ในการประชุมคณะกรรมการถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อยู่ในที่ประชุมให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม

               การประชุมคณะกรรมการทุกคราวต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

               การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด



               มาตรา ๑๓ คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้

               (๑) เสนอความเห็นเกี่ยวกับนโยบายและแผนการส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ต่อรัฐมนตรี

               (๒) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง ประกาศ หรือระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งเสนอความเห็นเกี่ยวกับมาตรการในการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจ แฟรนไชส์

               (๓) กำกับดูแลและติดตามสอดส่องพฤติการณ์ในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์

               (๔) เสนอรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ต่อรัฐมนตรี และจัดให้มีการเผยแพร่รายงานดังกล่าวต่อสาธารณชนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

               (๕) พิจารณาเรื่องร้องเรียนจากแฟรนไชส์ซี ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ของแฟรนไชส์ซอร์ที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม รวมทั้งการพิจารณาอนุมัติให้สำนักงานดำเนินคดีแฟรนไชส์ซอร์ที่ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรมแทน แฟรนไชส์ซี  

               (๖) แจ้ง โฆษณาหรือเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ของแฟรนไชส์ซอร์ที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่มีคุณสมบัติหรือมีพฤติการณ์ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายในวงการธุรกิจแฟรนไชส์

               (๗) เรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย



               มาตรา  ๑๔ ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๑๓ คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการคณะหนึ่งหรือหลายคณะเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดแทนคณะกรรมการก็ได้

               มาตรา ๑๕ การประชุมของคณะอนุกรรมการให้นำมาตรา ๑๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

               มาตรา  ๑๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการมีอำนาจสั่งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาให้ข้อเท็จจริง คำอธิบาย คำแนะนำหรือความเห็นหรือส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องหรือสิ่งอื่นใดมาเพื่อประกอบการพิจารณาได้

                                                                                                                   หมวด ๒
                                                                                           สำนักงานคณะกรรมการการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์



               มาตรา ๑๗ ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ขึ้นในกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยให้มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้

               (๑) ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์

               (๒)  เสริมสร้างความร่วมมือและประสานงานระหว่างส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การเอกชนทั้งในและต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ ในการส่งเสริมการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในและต่างประเทศ

               (๓) ปฏิบัติงานธุรการของคณะกรรมการ

               (๔)  ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์และงานอื่นตามพระราชบัญญัตินี้

               (๕) ติดตามสอดส่องพฤติการณ์ในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เพื่อให้มีการปฏิบัติการเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

               (๖) รับเรื่องร้องเรียนจากแฟรนไชส์ซีที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ของแฟรนไชส์ซอร์ที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม ทำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่าง  แฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี และเสนอเรื่องที่สมควรดำเนินคดีแทนแฟรนไชส์ซีให้คณะกรรมการพิจารณา

               (๗) ดำเนินคดีแทนแฟรนไชส์ซีตามที่คณะกรรมการได้พิจารณาอนุมัติให้ดำเนินคดีตามมาตรา ๑๓ (๕)

               (๘) ปฏิบัติงานอื่นตามที่รัฐมนตรี คณะกรรมการ หรืออธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามอบหมาย

               ในการดำเนินคดีแทนแฟรนไชส์ซีในศาลตาม (๗) ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง



                                                                                                                   หมวด ๓
                                                                                                     การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์



               มาตรา ๑๘ ห้ามมิให้บุคคลใดที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์กระทำการดังต่อไปนี้

               (๑) ใช้ชื่อหรือคำที่เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศซึ่งมีความหมายหรือทำให้เข้าใจได้ว่าผู้นั้นประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ในการประกอบธุรกิจ หรือในดวงตรา ป้ายชื่อ หนังสือบอกกล่าวป่าวร้อง จดหมายใบแจ้งความหรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจ เว้นแต่เป็นการใช้เพื่อขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ตามพระราชบัญญัตินี้

               (๒) โฆษณาหรือชักชวนผู้อื่นให้เข้าร่วมในการทำธุรกิจโดยแอบอ้างว่าเป็นแฟรนไชส์



               มาตรา ๑๙ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้



               มาตรา ๒๐ ห้ามมิให้แฟรนไชส์ซอร์หรือตัวแทนทำการชักชวนหรือโฆษณาด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือเกินความจริงเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์

               ในการชักชวนหรือโฆษณาให้ผู้อื่นเข้าร่วมทำธุรกิจแฟรนไชส์ซอร์หรือตัวแทนมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลและรายละเอียดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด



               มาตรา  ๒๑ ห้ามมิให้แฟรนไชส์ซอร์หรือตัวแทน เรียกเงินมัดจำ ค่าตอบแทนหรือเงินใดๆ จากแฟรนไชส์ซี หรือบุคคลใดๆ ก่อนที่จะมีการทำสัญญาตามมาตรา ๒๓ เว้นแต่จะเป็นการเรียกค่าใช้จ่ายที่จำเป็นตามที่ได้จดทะเบียนไว้



               มาตรา ๒๒ ก่อนที่จะมีการทำสัญญาการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีไม่น้อยกว่าสิบสี่วันแฟรนไชส์ซอร์หรือตัวแทนมีหน้าที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลและรายละเอียดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เว้นแต่จะได้มีการเปิดเผยข้อมูลตามที่กำหนดในขณะชักชวนหรือโฆษณาตามมาตรา ๒๐ วรรคสองแล้ว



               มาตรา ๒๓ สัญญาการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซีจะต้องทำเป็นหนังสือและมีการระบุในเรื่องและรายละเอียดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ซึ่งอย่างน้อยต้องมีเรื่อง ดังต่อไปนี้

               (๑) วันที่ทำสัญญาและวันที่สัญญามีผลใช้บังคับ

               (๒) สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของแฟรนไชส์ซอร์ที่มีต่อแฟรนไชส์ซี

               (๓) สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชองของแฟรนไชส์ซีที่มีต่อแฟรนไชส์ซอร์

               (๔) ระยะเวลาและเขตพื้นที่พร้อมกับแผนที่โดยสังเขป (ในกรณีการให้สิทธิประกอบธุรกิจแฟรนไชส์มีการกำหนดระยะเวลาหรือเขตพื้นที่)

               (๕) เงินมัดจำ ค่าตอบแทนหรือเงินใดๆที่แฟรนไชส์ซีต้องจ่ายให้แก่แฟรนไชส์ซอร์

               (๖) การต่อสัญญา การเลิกสัญญา การโอนสิทธิ และการจ่ายคืนค่าธรรมเนียมเมื่อเลิกสัญญากรณี แฟรนไชส์ซอร์เป็นฝ่ายผิดสัญญา



               มาตรา ๒๔ สัญญาการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่ได้ทำเป็นหนังสือหรือไม่ได้ระบุเรื่องและรายละเอียดตามที่กำหนดในมาตรา ๒๓ หรือมีข้อสัญญาที่มิให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ไปใช้บังคับไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้สัญญานั้นเป็นโมฆะ



               มาตรา ๒๕ ในกรณีที่มีบทบัญญัติของกฎหมายอื่นกำหนดเรื่องการให้ผู้อื่นใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาต้องมีการจดทะเบียนไว้ ให้แฟรนไชส์ซอร์มีหน้าที่ที่จะต้องจดทะเบียนการให้สิทธิดังกล่าวให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎหมายนั้นด้วย



               มาตรา ๒๖ เมื่อแฟรนไชส์ซีตกลงทำสัญญาการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์กับแฟรนไชส์ซอร์แล้ว แฟรนไชส์ซอร์หรือตัวแทนมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดแก่แฟรนไชส์ซีภายในหกสิบวัน หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแฟรนไชส์ซอร์ไม่ดำเนินการ แฟรนไชส์ซีมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและแฟรนไชส์ซอร์จะต้องคืนเงินค่าใช้จ่าย เงินมัดจำค่าตอบแทนและเงินใดๆที่รับไว้ทั้งหมดแก่แฟรนไชส์ซี ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิแฟรนไชส์ซีที่จะเรียกร้องค่าเสียหายกับแฟรนไชส์ซอร์



               มาตรา ๒๗ ห้ามมิให้แฟรนไชส์ซอร์บังคับให้แฟรนไชส์ซีต้องซื้อ เช่าหรือเช่าซื้ออุปกรณ์ สินค้าหรือบริการใดๆ จากแฟรนไชส์ซอร์หรือที่แฟรนไชส์ซอร์กำหนด เว้นแต่เป็นอุปกรณ์ สินค้า หรือบริการที่จำเป็นเพื่อให้การประกอบธุรกิจของแฟรนไชส์ซีเป็นไปตามลักษณะ รูปแบบ มาตรฐานและคุณภาพตามที่แฟรนไชส์ซอร์กำหนด



               มาตรา ๒๘ ในระหว่างอายุสัญญาการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ หากแฟรนไชส์ซอร์โอนกิจการหรือโอนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาให้บุคคลอื่น ผู้รับโอนกิจการหรือสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาต้องผูกพันตามสัญญาที่ผู้โอนได้ทำไว้กับแฟรนไชส์ซีด้วย



               มาตรา ๒๙ แฟรนไชส์ซอร์ต้องจัดให้มีคู่มือการปฏิบัติงานที่มีความชัดเจน ถูกต้องและครบถ้วนเพื่อให้แฟรนไชส์ซีสามารถปฏิบัติตามที่แฟรนไชส์ซอร์กำหนดได้

               คู่มือการปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่งต้องระบุเรื่องและรายละเอียดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

               คู่มือการปฏิบัติงานต้องจัดทำเป็นภาษาไทย และอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอาจประกาศกำหนดให้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานในรูปแบบอื่นนอกจากจัดทำเป็นหนังสือก็ได้



               มาตรา ๓๐ ในการชักชวน โฆษณาหรือเปิดเผยข้อมูล หากแฟรนไชส์ซอร์รับรองหรือยืนยันว่า แฟรนไชส์ซีจะได้รับผลตอบแทนจากการประกอบธุรกิจที่ได้รับสิทธิไว้เป็นจำนวนที่แน่นอน เมื่อแฟรนไชส์ซีได้ประกอบธุรกิจแล้วปรากฏว่าไม่ได้รับผลตอบแทนตามจำนวนที่แฟรนไชส์ซอร์รับรองหรือยืนยันโดยไม่ใช่ความผิดของแฟรนไชส์ซี ให้แฟรนไชส์ซีมีสิทธิเรียกให้แฟรนไชส์ซอร์ชดใช้เงินส่วนที่ขาดหรือบอกเลิกสัญญา ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิแฟรนไชส์ซีที่จะเรียกค่าเสียหายจากแฟรนไชส์ซอร์



               มาตรา ๓๑ ในกรณีสัญญาให้สิทธิประกอบธุรกิจแฟรนไชส์มีการกำหนดเขตพื้นที่ แฟรนไชส์ซอร์ต้องไม่ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์หรือธุรกิจที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเขตพื้นที่ที่กำหนดในสัญญานั้น หรือกระทำการใดๆ ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหรือมีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ของแฟรนไชส์ซีตลอดอายุสัญญาการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์



               มาตรา ๓๒ ห้ามมิให้แฟรนไชส์ซีและตัวแทนเปิดเผยข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ที่ แฟรนไชส์ซอร์ได้ระบุห้ามเปิดเผยไว้ใoสัญญา                                                                                                                    



                                                                                                                   หมวด ๔
                                                                                            การจดทะเบียนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์



               มาตรา ๓๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๔ บุคคลใดประสงค์จะประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน

               ในกรณีที่มีการแก้ไขรายการที่จดทะเบียนไว้ตามวรรคหนึ่งหรือเลิกประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ให้แฟรนไชส์ซอร์จดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงหรือเลิกต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวัน

               การจดทะเบียนตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าประกาศกำหนด



               มาตรา ๓๔ ผู้ซึ่งจะยื่นจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

               (๑) มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์กรณีเป็นบุคคลธรรมดา และกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย

               (๒) มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

               (๓) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ

               (๔) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

               (๕) ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาหรือถูกเปรียบเทียบปรับในความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีก่อนวันยื่นขอจดทะเบียน

               (๖) ไม่เคยต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน เว้นแต่พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีก่อนวันยื่นขอจดทะเบียน

               (๗) ไม่เคยถูกเพิกถอนการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ตามพระราชบัญญัตินี้ในระยะเวลาสามปีก่อนวันยื่นขอจดทะเบียนประกอบธุรกิจแฟรนไชส์

               (๘) ประกอบธุรกิจที่จะนำมาเป็นแฟรนไชส์ด้วยตนเองโดยมีสาขาอย่างน้อยสองสาขาไม่น้อยกว่าสองปี และสาขามีกำไรติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองรอบปีบัญชีก่อนวันที่ยื่นขอจดทะเบียนประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งนี้การแสดงหลักฐานผลกำไรของสาขาให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าประกาศกำหนด

               (๙) ผู้ยื่นขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องเป็นเจ้าของหรือมีสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่สามารถนำไปให้ผู้อื่นใช้ในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ได้

               (๑๐) มีคู่มือการปฏิบัติงานตามมาตรา ๒๙

               (๑๑) มีคุณสมบัติหรือไม่มีลักษณะต้องห้ามอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

               ในกรณีนิติบุคคลเป็นผู้ขอจดทะเบียน กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคลนั้นต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวในวรรคหนึ่ง และไม่เคยเป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคลซึ่งเคยต้องโทษตามคำพิพากษาหรือถูกเปรียบเทียบปรับ หรือถูกเพิกถอนการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่พ้นมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีก่อนยื่นขอจดทะเบียน



               มาตรา ๓๕ เมื่อได้รับคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ให้นายทะเบียนพิจารณาและตรวจสอบในเรื่องดังต่อไปนี้

               (๑) ความถูกต้องครบถ้วนของคำขอจดทะเบียน รายการจดทะเบียนและเอกสารประกอบ

               (๒) คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๔

               (๓) สัญญาการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เป็นไปตามมาตรา ๒๓

               (๔) การมีอยู่ของคู่มือการปฎิบัติงานตามมาตรา ๒๙

               (๕) การมีอยู่ของแผนการดำเนินธุรกิจที่แฟรนไชส์ซอร์จะใช้ในการส่งเสริมและควบคุมการประกอบธุรกิจของแฟรนไชส์ซี

               (๖) การประกอบธุรกิจที่จะนำมาเป็นแฟรนไชส์ของผู้ยื่นคำขอ

               ในกรณีที่นายทะเบียนได้ตรวจสอบตามวรรคหนึ่งแล้วเห็นว่าถูกต้อง ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์และแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์

               ในกรณีที่นายทะเบียนได้ตรวจสอบตามวรรคหนึ่งแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้อง ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ผู้ยื่นคำขอแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ไม่ถูกต้องนั้นให้ถูกต้องภายในเวลาอันสมควร ทั้งนี้ไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่ง เมื่อผู้ยื่นคำขอได้แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงแล้ว ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์และแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ดังกล่าว

               ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ให้แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงภายในเวลาที่กำหนดให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์และให้นายทะเบียนแจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้งเหตุผลให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นกำหนดเวลาให้ปฏิบัติตามคำสั่ง

               ในการรับจดทะเบียนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์นายทะเบียนอาจกำหนดเงื่อนไขเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างก็ได้



               มาตรา ๓๖ ในการจดทะเบียนให้เสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง



               มาตรา ๓๗ ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้จดทะเบียนแล้วมีหน้าที่ต้องส่งรายงานผลการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ประจำปีตามแบบและรายละเอียดพร้อมด้วยหลักฐานที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าประกาศกำหนดต่อนายทะเบียนภายในห้าเดือนนับแต่วันสิ้นปี

               ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้คำนวณตามปีปฏิทิน



               มาตรา ๓๘ กรณีปรากฏแก่นายทะเบียนในภายหลังว่า ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์รายใดซึ่งได้จดทะเบียนแล้วประกอบธุรกิจแฟรนไชส์โดยไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ หรือขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาที่ทำไว้กับแฟรนไชส์ซี หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดโดยไม่มีเหตุผลสมควร หรือมีการดำเนินการในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่แฟรนไชส์ซีหรือประชาชน เมื่อคณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครองได้พิจารณาและมีคำสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์นั้นต้องรับโทษทางปกครองตามมาตรา ๔๓(๔)  แล้ว ให้คณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครองแจ้งคำสั่งเป็นหนังสือพร้อมทั้งเหตุผลที่เพิกถอนให้ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ที่ถูกเพิกถอนทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำสั่ง

               เมื่อคณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครองเพิกถอนการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ของแฟรนไชส์ซอร์รายใด ให้แฟรนไชส์ซีซึ่งได้ทำสัญญากับแฟรนไชส์ซอร์รายนั้นมีสิทธิที่จะให้แฟรนไชส์ซอร์ผูกพันตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับแฟรนไชส์ซีต่อไปหรือบอกเลิกสัญญาก็ได้



               มาตรา ๓๙ ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ซึ่งถูกเพิกถอนการจดทะเบียนทำการชักชวน โฆษณา หรือประกอบธุรกิจแฟรนไชส์กับรายใหม่ต่อไปอีกนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียน



               มาตรา ๔๐ เพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของประชาชน หรือเพื่อคุ้มครองผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ให้นายทะเบียนหรือบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายทะเบียนมีอำนาจเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับชื่อของผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ที่ถูกเพิกถอนจากการจดทะเบียน และข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำความผิดและการลงโทษบุคคลใดๆ ที่กระทำความผิดและถูกลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้



                                                                                                                   หมวด ๕
                                                                                                                 การอุทธรณ์



               มาตรา ๔๑ ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์หรือคณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครองมีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์  ให้ผู้ยื่นคำขอหรือผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ที่ถูกเพิกถอนการจดทะเบียน แล้วแต่กรณี มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งไม่รับจดทะเบียนหรือหนังสือแจ้งคำสั่งเพิกถอนของนายทะเบียน

               คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด



               มาตรา ๔๒ หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นอุทธรณ์ และวิธีพิจารณาอุทธรณ์ ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด



                                                                                                                   หมวด ๖
                                                                                                            บทกำหนดโทษ
                                                                                                    ส่วนที่ ๑ โทษทางปกครอง



               มาตรา ๔๓ โทษทางปกครอง มีดังต่อไปนี้

               (๑) ภาคทัณฑ์

               (๒) ตำหนิโดยเปิดเผยต่อสาธารณชน

               (๓) ปรับทางปกครอง

               (๔) เพิกถอนการจดทะเบียน



               มาตรา ๔๔ ให้มีคณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครอง ซึ่งอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแต่งตั้ง มีอำนาจลงโทษทางปกครอง ตามมาตรา ๔๓

               ในการสั่งลงโทษทางปกครองตามวรรคหนึ่ง ผู้มีอำนาจลงโทษจะลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้ และมีอำนาจสั่งให้ผู้ถูกลงโทษกระทำการหรืองดเว้นกระทำการ เพื่อแก้ไขหรือป้องกันมิให้เกิดการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ หลักเกณฑ์ คำสั่ง หรือเงื่อนไขที่กำหนดตามพระราชบัญญัตินี้



               มาตรา ๔๕ ในการลงโทษปรับทางปกครอง จำนวนค่าปรับทางปกครองต้องไม่เกินหนึ่งล้านบาทในแต่ละกรรม

               กรณีผู้ถูกลงโทษปรับทางปกครองตามวรรคหนึ่งไม่ยอมชำระค่าปรับทางปกครอง ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการบังคับทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม



               มาตรา ๔๖ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๘(๑) ต้องรับโทษทางปกครองตามมาตรา ๔๓



               มาตรา  ๔๗  ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา ๓๕ วรรคท้าย หรือมาตรา ๓๗ ต้องรับโทษทางปกครองตามมาตรา ๔๓



               มาตรา ๔๘ ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ หรือขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๔ หรือมีการดำเนินการในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่แฟรนไชส์ซีหรือประชาชนตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องรับโทษทางปกครองตามมาตรา ๔๓



                                                                                                                   ส่วนที่ ๒
                                                                                                                 โทษอาญา



               มาตรา ๔๙ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือไม่ยอมให้ข้อเท็จจริง หรือ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2010, 06:10:57 AM โดย ThaiFranchiseStudio »
ThaiFranchiseCenter.com | รวมธุรกิจไทย!