แจกฟรี! ตารางออมเงินระยะสั้น-ระยะยาว พร้อมทริคการออมเงินที่มือใหม่หัดออมห้ามพลาดในยุคนี้การมีเงินออมไม่ใช่แค่เรื่องของความมั่นคงทางการเงินเท่านั้น เพราะการมีเงินออมยังเป็นหลักประกันในชีวิตที่ช่วยเพิ่มความมั่นคงในยามที่เราเจอกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันอีกด้วย แต่จะวางแผนการเก็บเงินยังไงนี่สิปัญหา
ตารางออมเงินตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้การออมเงินของคุณง่ายกว่าที่เคย!
บทความนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับตารางออมเงิน แนวทางการออมเงินแบบใหม่ที่จะทำให้การเก็บเงินเป็นเรื่องง่าย พร้อมอธิบายความหมาย ความสำคัญ ข้อดี ข้อเสีย และแนวทางการใช้งานตารางออมเงินทั้งในรูปแบบระยะสั้นอย่างตารางออมเงิน 30 วัน ไปจนถึงการออมเงินระยะยาวอย่างตารางออมเงิน 365 วัน ถ้าอยากรู้กันแล้วว่าปฏิทินออมเงินคืออะไร ดีอย่างไร แล้วมีแนวทางการใช้งานอย่างไร สามารถติดตามต่อได้ในเนื้อหาด้านล่าง
ตารางออมเงินคืออะไร ทำไมถึงสำคัญกับการออมตารางออมเงิน คือแนวทางการเก็บเงินรูปแบบหนึ่ง เป็นเครื่องมือที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้การออมเงินเป็นระบบระเบียบแบบแผนมากขึ้น ผ่านการกำหนดไทม์ไลน์ จำนวนเงิน และเป้าหมายที่ชัดเจนในการออมเงินครั้งนั้น ๆ โดยตารางออมเงินนั้นจะมีอยู่มากมายหลายแบบ และสามารถกำหนดแนวทางการออมได้ตามเป้าหมายและสไตล์ของตนเอง แต่โดยส่วนมากตารางการออมที่รับความนิยมจะเป็นตารางการออมที่มีเส้นเวลาหรือมีการกำหนดเป้าหมายชัดเจนอย่างตารางเก็บเงิน 1 เดือน, ตารางออมเงิน 100000, ตารางออมเงิน 50000 เป็นต้น
ส่วนในแง่ของความสำคัญตารางออมเงินเอง ก็ถือเป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยให้เรามีแนวทางการเก็บเงินได้อย่างชัดเจน และยังเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับคนที่เริ่มเก็บเงินว่าการออมเงินในครั้งนี้จะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอนถ้าทำตามแผนที่วางไว้
ข้อดีของตารางออมเงินที่คุณอาจยังไม่รู้หลังจากพูดถึงความหมายและความสำคัญของตารางออมเงินกันไปแล้ว ทุกท่านคงสงสัยกันแล้วว่าตารางเงินมีข้อดีอย่างไร เราจึงจะมาพูดถึงกันในหัวข้อนี้
- ช่วยให้ผู้ออมเห็นเป้าหมายชัดเจนผ่านการตั้งเป้าหมายเป็นเส้นเวลาและจำนวนเงินอย่างตารางออมเงิน 100000 ใน 1 ปี
- ทำให้ผู้ออมรู้สึกอยากออมเงินมากขึ้นผ่านการดึงดูดด้วยทริคการออมรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตารางออมเงิน 100000 บาทน่ารัก ๆ
- ลดความเครียดและแรงกดดันจากการออมที่เป็นแบบแผนและมีเป้าหมาย
- ตารางออมเงินช่วยเพิ่มวินัยและสร้างนิสัยในการออมให้กับผู้ออมได้เมื่อทำเป็นประจำสม่ำเสมอ
- ใช้ง่ายไม่ซับซ้อนและยังใช้ได้กับคนหลากหลายช่วงวัยตั้งแต่วัยเรียนไปจนถึงวัยทำงาน
การใช้ตารางออมเงินมีข้อเสียหรือข้อควรระวังอย่างไรบ้างถึงแม้ว่าตารางออมเงิน จะมีข้อดีอยู่หลากหลายข้อ แต่อย่างไรก็ตามตารางออมเงินก็ยังมีข้อควรระวังในการใช้งานอยู่ โดยข้อควรระวังในการใช้ตารางการออมจะมีดังนี้
- การตั้งเป้าที่สูงเกินไป นานเกินไป หรือไม่เหมาะกับผู้ออมอาจทำให้ผู้ออมรู้สึกท้อและเลิกทำได้ เช่น เริ่มออมด้วยตารางเก็บเงินแสนแต่อยู่ในวัยเรียนที่ยังไม่มีรายได้ เป็นต้น
- การใช้ตารางออมเงินอาจทำให้ผู้ออมรู้สึกกดดันและท้อแท้เมื่อทำตามตารางที่วางไว้ไม่ได้
- การเป้าหมายที่ไม่สอดคล้องกับรายได้อาจทำให้ผลลัพธ์ออกมาไม่ตรงตามต้องการ เช่นมีรายได้ 25,000 แต่ใช้ตารางออมเงิน 30000 ภายใน 1 เดือน
แจกฟรีตารางออมเงินระยะสั้น-ระยะยาว ใช้แล้วเก็บตามเป้าได้แน่นอนจะเป็นเป้าหมายระยะสั้น เงินก้อนเล็ก หรือเงินก้อนใหญ่ตารางออมเงินก็ช่วยให้ฝันของคุณเป็นจริงได้! มาตั้งเป้าหมายและไปลุยกัน
ตารางออมเงิน 1,000 บาทภายใน 30 วันสำหรับผู้ที่เริ่มต้นการออมเราขอแนะนำตารางออมเงิน 30 วัน ตารางการออมแบบง่าย ๆ ไม่กดดันเกินไป
- วันที่ 1-12 ออมเงินวันละ 10 บาท
- วันที่ 13-18 ออมเงินวันละ 20 บาท
- วันที่ 19-24 ออมเงินวันละ 30 บาท
- วันที่ 25-30 ออมเงินวันละ 100 บาท
ตารางออมเงิน 10,000 บาทใน 90 วันตารางออมเงินเป้าหมายกลาง ๆ เหมาะสำหรับคนอยากสร้างวินัย
- วันที่ 1-30 ออมเงินวันละ 200 บาท
- วันที่ 31-60 ออมเงินวันละ 100 บาท
- วันที่ 61-85 ออมเงินวันละ 200 บาท
- วันที่ 86-90 ออมเงินวันละ 280 บาท
ตารางออมเงิน 1 ปี ตารางออมเงินแบบเป้าหมายระยะยาว ใช้ได้จริงทั้งผู้เริ่มต้นและรุ่นเก๋า
- ออมเงินแบบจำนวนตามวัน เช่น วันที่ 1 ออมเงิน 1 บาท วันที่ 365 ออมเงิน 365 บาท ฝึกทั้งวินัยและการบริหารเงิน
- ออมเงินแบบตั้งเป้าหมายรายปี เช่น ปีนี้อยากเก็บเงิน 100,000 บาท และแบ่งจำนวนเงินออกมาตามเดือนและตามวัน
สรุปข้อดีของตารางออมเงินพร้อมทริคสำหรับมือใหม่หัดออมตารางการออมตารางสร้างนิสัยการออมอย่างยั่งยืนแบบได้ผลจริง สำหรับท่านที่อยากวางแผนการออมแต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงเราบอกเลยว่าตารางออมเงินสามารถช่วยคุณได้ และถ้าคุณเป็นผู้ออมมือใหม่เราขอแนะนำให้เลือกตารางการออมที่ง่ายและจับต้องได้ก่อนอย่างตารางเก็บเงิน 30 วัน หรือตารางออมเงิน 10000 และถ้าสามารถออมได้ตามนั้นแล้วก็อาจขยับเป้าหมายการออมให้สูงขึ้นอย่างตารางออมเงิน 1 แสน เพื่อให้การออมในระยะแรกไม่ยากหรือกดดันจนเกินไป