เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการป่วยร้ายแรง ต้องรีบรักษาโดยด่วนเคยสงสัยไหมว่าอะไรคือเกราะป้องกันสมองของเรา คำตอบคือ "
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ " แต่ถ้าเกราะป้องกันนี้เกิดการอักเสบขึ้นล่ะ? นั่นคือจุดเริ่มต้นของ "เยื่อหุ้มสมองอักเสบ" โรคร้ายแรงอาจคร่าชีวิตหรือทิ้งความพิการไว้ได้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบไม่ใช่โรคพบได้บ่อยนัก แต่เมื่อเกิดขึ้นต้องรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะการอักเสบที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการรุนแรง ในบางกรณีอาจถึงขั้นชักหรือหมดสติได้
บทความนี้จะมาเจาะลึกถึงเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ตั้งแต่ Meningitis คืออะไร โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบมีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง ไข้สมองอักเสบพร้อมอาการ การวินิจฉัยของแพทย์ วิธีรักษาและป้องกัน รวมถึงคำถามที่ว่าเยื่อหุ้มสมองอักเสบอันตรายไหม เพื่อจะได้มีความรู้ความเข้าใจสามารถรับมือกับภัยเงียบนี้ได้อย่างทันท่วงที
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ คืออะไร?เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) คือ ภาวะมีการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ซึ่งเยื่อหุ้มสมองมีหน้าที่ปกป้องสมองและไขสันหลังจากการบาดเจ็บหรือติดเชื้อเยื่อหุ้มสมอง การอักเสบเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อรา โดยในบางกรณีอาจเกิดจากติดเชื้อปรสิตหรืออักเสบไม่ติดเชื้อก็เป็นได้
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง?ติดเชื้อในสมองเกิดจากอะไร? เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) เป็นภาวะร้ายแรงที่เกิดจากอักเสบของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่ห่อหุ้ม ปกป้องระบบประสาทส่วนกลางของเรา ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยส่วนใหญ่เกิดจากติดเชื้อ แต่โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้เช่นกัน ดังนี้
- ติดเชื้อไวรัส: เป็นสาเหตุพบบ่อยที่สุดของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยทั่วไปไม่รุนแรงเท่าการติดเชื้อแบคทีเรีย หายได้เอง
- ติดเชื้อแบคทีเรีย: เป็นสาเหตุรุนแรงกว่า อาจทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เช่น เชื้ออีโคไล หรือเชื้อไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส เป็นต้น
- ติดเชื้อรา: เชื้อราในสมอง พบได้น้อย มักเกิดในผู้มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
- สาเหตุอื่น ๆ: เช่น ปฏิกิริยาต่อยาบางชนิด โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองหรือบาดเจ็บที่ศีรษะ
ทำไมเยื่อหุ้มสมองอักเสบถึงอันตราย?
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบจะบวม กดทับสมองและไขสันหลัง
- การอักเสบอาจขัดขวางการไหลเวียนของน้ำไขสันหลัง ซึ่งเป็นของเหลวที่หล่อเลี้ยง ปกป้องระบบประสาทส่วนกลาง
- ติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายถึงชีวิต เช่น สมองบวม เลือดเป็นพิษ หรือความเสียหายต่อระบบประสาท
อาการเด่นชัดของเยื่อหุ้มสมองอักเสบมีอะไรบ้าง?เยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นภาวะร้ายแรงต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน อาการติดเชื้อในสมองอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุหรือความรุนแรง แต่โดยทั่วไปโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบมีอาการ ดังนี้
- ไข้สูง: เป็นอาการเริ่มต้นหรือไข้อาจสูงถึง 39-40 องศาเซลเซียส
- ปวดศีรษะรุนแรง: เป็นอาการปวดศีรษะแตกต่างจากอาการปวดศีรษะทั่วไป อาจรุนแรงมากขึ้นเมื่อขยับศีรษะ
- คอแข็ง: เป็นอาการเด่นชัด ผู้ป่วยจะไม่สามารถก้มศีรษะให้คางชิดอกได้
- คลื่นไส้ อาเจียน: มักเกิดขึ้นร่วมกับอาการปวดศีรษะ
- แพ้แสงหรือไวต่อแสง: ผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่สบายตา เมื่ออยู่ในที่มีแสงสว่างจ้า
- สับสนและมึนงง: ผู้ป่วยอาจสับสน มึนงง ไม่สามารถจดจำสถานที่หรือบุคคลได้
- ชัก: ในกรณีรุนแรง ผู้ป่วยอาจมีอาการชักได้
- ผื่น: ผื่นอาจปรากฏขึ้นในบางกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียบางชนิดหรือจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น
- อาการในทารก: อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบในทารก อาการอาจไม่ชัดเจนเท่าในผู้ใหญ่ แต่อาจมีกระหม่อมโป่งตึง ร้องกวน งอแง ไม่ดูดนม หรือซึมลง
แพทย์วินิจฉัยอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบอย่างไร?การวินิจฉัยเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นกระบวนการสำคัญและเร่งด่วน เนื่องจากเป็นภาวะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การวินิจฉัยที่ถูกต้อง รวดเร็วจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาเหมาะสมและทันท่วงที โดยขั้นตอนการวินิจฉัยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ยกตัวอย่างเช่น
- ซักประวัติและตรวจร่างกาย: แพทย์จะสอบถามประวัติอาการของผู้ป่วย ตรวจร่างกายจะเน้นตรวจระบบประสาท โดยเฉพาะตรวจคอแข็ง (nuchal rigidity) หรือตรวจสัญญาณ Kernig's และ Brudzinski's signs ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- ตรวจน้ำไขสันหลัง (Lumbar puncture): เป็นการตรวจสำคัญที่สุดในการวินิจฉัยเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แพทย์ใช้เข็มเจาะเข้าไปในช่องไขสันหลังบริเวณเอว เพื่อเก็บตัวอย่างน้ำไขสันหลังมาตรวจวิเคราะห์ น้ำไขสันหลังจะช่วยระบุชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุของการอักเสบ รวมถึงประเมินความรุนแรงของการอักเสบ
- ตรวจเลือด: ตรวจเลือดจะช่วยประเมินการติดเชื้อในร่างกาย เช่น ตรวจนับเม็ดเลือดขาว และตรวจหาเชื้อในกระแสเลือด
- ตรวจทางรังสีวิทยา: การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ของสมอง อาจทำในกรณีสงสัยว่ามีภาวะแทรกซ้อน เช่น สมองบวม หรือมีฝีในสมอง
- ตรวจอื่น ๆ: ตรวจหาเชื้อไวรัสด้วยเทคนิค PCR (Polymerase Chain Reaction) หรือตรวจเพาะเชื้อจากตัวอย่างเลือดหรือน้ำไขสันหลัง
ความสำคัญของการวินิจฉัยที่รวดเร็ว
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นภาวะฉุกเฉินต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
- การวินิจฉัยและรักษารวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ความพิการทางระบบประสาท หรือเสียชีวิต
วิธีการรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบติดเชื้อในสมองรักษาหายไหม? เป็นคำถามหลายคนสงสัย การรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นการรักษาต้องทำอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การรักษาจะมุ่งเน้นกำจัดเชื้อที่เป็นสาเหตุและบรรเทาอาการของผู้ป่วย วิธีรักษาติดเชื้อในสมอง มีดังนี้
1. รักษาจำแนกตามสาเหตุ
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย: เป็นวิธีรักษาเร่งด่วนที่สุด โดยแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำทันที เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุ ในบางกรณี อาจต้องให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ร่วมด้วย เพื่อลดการอักเสบในสมอง โดยผู้ป่วยจะต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส: โดยทั่วไปแล้ว เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสจะหายได้เอง โดยวิธีรักษาจะเป็นแบบประคับประคองตามอาการ แพทย์อาจให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด และยาแก้อาเจียน เพื่อบรรเทาอาการ และพักผ่อนอย่างเพียงพอหรือดื่มน้ำมากๆ เป็นสิ่งสำคัญในการฟื้นตัว
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา: วิธีรักษาจะใช้ยาต้านเชื้อราทางหลอดเลือดดำเป็นระยะเวลานาน มักพบในผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
2. รักษาแบบประคับประคอง
- ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
- ให้ออกซิเจน ในกรณีผู้ป่วยมีปัญหาในการหายใจ
- ควบคุมอาการชัก ด้วยยากันชัก
- ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการป่วยที่ต้องรีบรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบคือการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา อาการหลักคือไข้สูง ปวดหัวรุนแรง คอแข็ง คลื่นไส้ หรืออาจมีอาการทางประสาท การวินิจฉัยทำโดยเจาะน้ำไขสันหลัง วิธีรักษาขึ้นกับสาเหตุ หากติดเชื้อแบคทีเรียใช้ยาปฏิชีวนะ ส่วนเชื้อไวรัสรักษาตามอาการ วิธีป้องกันที่ดีคือฉีดวัคซีนและรักษาสุขอนามัย หากมีอาการน่าสงสัยรีบพบแพทย์ด่วน เพราะหากปล่อยไว้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้