MRI คืออะไร หาคำตอบในการวินิจฉัยเพื่อการรักษาให้หายขาด MRI คือ วิธีการตรวจเพื่อหาต้นตอของโรค รู้สาเหตุเร็วก็สามารถรักษาได้ทัน มาดูกันว่า MRI scan สามารถตรวจหาอะไรได้ และมีขั้นตอนในการตรวจอย่างไรบ้าง
การตรวจร่างกายด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์มีหลายวิธีที่ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ซึ่ง
MRI คือ วิธีการที่แพทย์เลือกใช้ตรวจร่างกายเพื่อที่จะหาความผิดปกติในแต่ละส่วน ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค ผลลัพธ์ที่ได้จากการตรวจ MRI จะแม่นยำ ตรงจุด และไม่สร้างความเจ็บปวดใด ๆ ให้แก่ร่างกาย
โดยหลักการของการทำ MRI คือการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะในร่างกาย ทำให้ได้ภาพที่มีความละเอียด คมชัดสูง มากกว่าภาพเอกซเรย์ ไม่มีอันตรายจากรังสีตกภาง และความเจ็บปวดเมื่อเข้ารับบริการสแกน MRI ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำ MRI ให้มากยิ่งขึ้น ว่ามีขั้นตอน และข้อดีอะไรบ้าง
MRI กับการตรวจรักษาโรคร้ายในปัจจุบันหัวข้อต่อไปที่เราจะกล่าวถึงก็คือ MRI ตรวจอะไรได้บ้าง คนส่วนใหญ่จะมีความเข้าใจว่าการตรวจ MRI (Magnetic Resonance Imaging) เป็นการตรวจหาโรคมะเร็ง แต่ความเป็นจริงยังสามารถตรวจหาโรคอื่นที่เกิดขึ้นกับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้อีกด้วย
MRI Scan คือ การตรวจร่างกายที่ใช้เครื่อง MRI ที่มีลักษณะคล้ายอุโมงค์ทำงานสร้างภาพเหมือนจริงด้วยคลื่นความถี่วิทยุและสนามแม่เหล็กไฟฟ้า โดยการส่งคลื่นความถี่วิทยุที่มีความเข้มสูงเข้าสู่ร่างกาย และรับคลื่นสะท้อนกลับ แล้วนำมาประมวลผลและสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์ จะได้ภาพอวัยวะภายในที่คมชัดพร้อมแยกแยะระหว่างเนื้อเยื่อที่ปกติและผิดปกติออกจากกันได้ชัดเจน
ทุกส่วนของร่างกายที่สามารถใช้ MRI คือ ส่วนที่มีค่าไฮโดรเจนไม่ว่าจะมีมากหรือน้อยก็ตาม เช่น
- สมอง เช่น เส้นเลือดในสมองตีบ สมองเสื่อม โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ปวดศีรษะเรื้อรัง
- เส้นเลือด เช่น การโป่งพอง หรือ การอุดตันของระบบเส้นเลือด
- กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ เช่น ข้อเข่าเสื่อม มีอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
- ช่องท้อง เช่น มดลูกผิดปกติ เนื้องอกช่องท้อง นิ่วและต่อมลูกหมาก โรคมะเร็งตับ
- กระดูกสันหลัง เช่น กระดูกทับเส้น ปวดหลังเรื้อรัง หมอนรองกระดูกแขนขาอ่อนแรง กระดูกสันหลังเสื่อม เป็นต้น
MRI ต่างจาก CT Scan อย่างไรทั้ง CT Scan และ MRI คือ วิธีทางการแพทย์ที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคที่เกิดขึ้นกับร่างกายเหมือน ๆ กัน แต่จะมีความแตกต่างที่ลึกลงไปในรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจของ CT Scan จะสั้นกว่าแค่ 10-15 นาทีแต่ MRI ต้องใช้เวลาในการตรวจแต่ละครั้งประมาณ 30-90 นาที
- วิธีการตรวจ MRI แตกต่างจากการตรวจ CT Scan ดังนี้
- MRI เป็นการสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้ารอบตัวคนไข้เพื่อคอยตรวจจับความเปลี่ยนแปลงของพลังงาน แล้วนำมาแปลงเป็นภาพรายละเอียดสูงแบบ 3 มิติเสมือนจริงด้วยคอมพิวเตอร์
- ส่วน CT Scan คือการปล่อยลำแสง X-Ray ผ่านตัวคนไข้เพื่อให้เกิดเป็นเงาภาพบนฉากที่อยู่อีกด้านของลำตัว แล้วใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพอวัยวะในร่างกายแบบ 3 มิติ
- กระบวนการตรวจของ CT Scan จำเป็นต้องฉีดสารทึบรังสีเพื่อความชัดเจนของภาพที่สแกนออกมา แต่ MRI เป็นการตรวจโดยเครื่องตรวจที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่ต้องใช้รังสี
- คนไข้บางรายมีโอกาสเกิดพิษกับไตเพราะแพ้สารทึบรังสีที่ฉีดเข้าไปเพื่อทำ CT Scan แต่การตรวจ MRI ที่ไม่ใช้สารใด ๆ ฉีดเข้าร่างกายก็จะไม่มีอันตราย
- การตรวจ MRI ช่วยให้เห็นรายละเอียดการทำงานในระดับเนื้อเยื่ออ่อนได้มากกว่า พร้อมบอกรายละเอียดของความผิดปกติได้ดีกว่า CT Scan ที่เหมาะแก่การตรวจกระดูกมากกว่า
- CT Scan ไม่สามารถตรวจเส้นประสาท เอ็นข้อต่าง ๆ แต่ MRI brain คือ การเอกซเรย์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่มีรังสีเอกซ์ที่ร่างกายจะดูดซับได้ สามารถตรวจหาโรคในสมองโดยไม่ต้องรอให้มีอาการ เช่น โรคปลอกประสาทอักเสบ โรคสมองขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นต้น
- สำหรับคนไข้ที่เคยผ่าตัดติดตั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือ โลหะไว้ภายในร่างกายบางชนิดนั้นไม่สมควรสแกน MRI เพราะ MRI คือเครื่องตรวจทางการแพทย์ที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์จนเกิดอันตรายได้
ขั้นตอนการตรวจ MRI ที่เรียบง่าย ไม่เจ็บปวดการตรวจ MRI คือ กระบวนการตรวจที่ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดต่อร่างกาย ส่วนระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจ MRI Scan ก็ขึ้นกับตำแหน่งอวัยวะและจำนวนภาพที่ต้องถ่าย โดยขั้นตอนในการตรวจ MRI มีดังนี้
- ผู้รับการตรวจ MRI ต้องถอดอุปกรณ์ทุกชิ้นที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบออกให้หมด เช่น สร้อย นาฬิกา ฯลฯ
- เปลี่ยนไปสวมเสื้อผ้าที่ถูกจัดเตรียมไว้ให้
- ผู้รับการตรวจบางรายอาจต้องใช้ที่อุดหู เพื่อลดเสียงดังจากเครื่องตรวจ MRI
- เวลาอยู่ในห้องตรวจ ให้นอนลงบนเครื่องที่มีลักษณะเป็นถาดขนาดยาวตรงกลางของเครื่อง MRI โดยมีเจ้าหน้าที่คอยช่วยจัดท่าทางให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง แล้วนำเครื่องจับสัญญาณคลื่นแม่เหล็กมาวางบนส่วนของร่างกายที่จะตรวจก่อนที่ถาดจะเลื่อนเข้าไปในอุโมงค์
- ผู้รับการตรวจควรนอนนิ่ง ๆ ไม่ขยับส่วนที่ตรวจไปมา ภายในอุโมงค์ตลอดช่วงเวลาตรวจเป็นเวลาประมาณหนึ่งเฉลี่ย 30-40 นาทีทั้งนี้ขึ้นกับแต่ละบุคคล จำนวนภาพที่ต้องการ และตำแหน่งอวัยวะที่ทำการตรวจ MRI หลังจากนั้นก็เป็นอันเสร็จสิ้น คอยรับฟังผลจากแพทย์ตามนัดหมาย
ข้อดีอันหลากหลายของการสแกน MRIผู้ช่วยมือหนึ่งที่แพทย์นิยมเลือกใช้ในการตรวจหาโรคก็คือการตรวจ MRI ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยในการวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ มีกระบวนการตรวจที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดกับร่างกาย นอกจากนี้ยังมีข้อดีอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น
- เป็นเครื่องมือตรวจโรคที่ไม่มีอันตรายเพราะไม่ได้ใช้รังสีในการสร้างภาพ
- ยาหรือสีที่ใช้ในการสแกน MRI มีเปอร์เซ็นต์โอกาสที่จะเกิดอาการแพ้น้อยกว่าการทำ CT Scan
- ระบบการสร้างภาพของ MRI scan จะมีรายละเอียดที่ชัดเจนดี โดยเฉพาะส่วนสมอง คอ กระดูกสันหลัง และดีกว่าการตรวจรังสีอื่น ๆ
- วิธี MRI ช่วยวินิจฉัยรอยโรคในตับได้ดีกว่าการใช้เครื่องมืออื่น ๆ
- MRI scan ช่วยในการสร้างภาพเส้นเลือดได้โดยไม่ต้องฉีดสี
- MRI คือ เครื่องมือตรวจวินิจฉัยรอยโรค หรือ ความผิดปกติของร่างกายที่ดีกว่าการตรวจแบบอื่นเพื่อหาโรคเกี่ยวกับมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเส้นเลือด โรคกระดูก/ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ
- ใช้การสแกน MRI เพื่อช่วยทำเทคนิคพิเศษในการตรวจข้อมูลของสารเคมีบางชนิด
- เพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้หากตรวจพบปัญหาในระยะเริ่มต้น
MRI ก่อให้เกิดอันตราย และผลข้างเคียงหรือไม่MRI คือ การตรวจด้วยการสแกนอวัยวะต่าง ๆ ที่มีปัญหาภายในร่างกาย เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่วงการแพทย์นิยมใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษาโรคร้ายให้หายขาดได้ แน่นอนว่าไม่ทำอันตรายต่อร่างกายคนไข้เพราะไม่มีการฉายแสง X-Ray และฉีดสารทึบรังสีเข้าสู่ร่างกายจนอาจก่อให้เกิดการแพ้จนทำลายอวัยวะตับได้
การตรวจ MRI จะใช้คลื่นวิทยุสร้างภาพภายในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อให้แพทย์ใช้ในการวินิจฉัยรอยโรคได้ตรงจุดที่สุด ภาพที่ได้จะชัดเจน มีความละเอียดสูง ทั้งไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพคนไข้ในระยะยาว แต่การสแกน MRI จะส่งผลต่อคนไข้ที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือ โลหะภายในร่างกายบางชนิด เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ แขนเทียม ขาเทียม เป็นต้น เพราะอาจเกิดอันตรายเมื่อต้องเข้าไปในเครื่องตรวจ MRI ที่เป็นอุโมงค์สนามแม่เหล็กแรงสูง
ผลข้างเคียงสำหรับบางเคสที่อาจจำเป็นต้องฉีดสีก่อนตรวจ MRI จึงทำให้เกิดความรู้สึกร้อน/เย็นได้, เสียวฟันในคนที่อุดฟัน หรือ ระคายเคืองผิวในคนที่สักร่างกายที่ใช้ผงสีเหล็กออกไซด์ เป็นต้น ในกรณีที่มีอาการหลังการทำ MRI คือ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หายใจติดขัด หรือ ผลข้างเคียงอื่น ๆ เช่น อาการคันตามร่างกาย ก็ให้แจ้งแพทย์ที่รับผิดชอบเพื่อรับความช่วยเหลือ
MRI เทคโนโลยีใหม่แห่งวงการแพทย์ที่ต้องมีในโรงพยาบาลชั้นนำจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นทำให้เข้าใจได้ว่าทุกคนคงจะพอเข้าใจบ้างแล้วว่า MRI คืออะไร, MRI ข้อดี ข้อเสียมีอะไรบ้าง และรู้ว่า MRI กับ ct scan ต่างกันอย่างไร ข้อมูลเหล่านี้เป็นความรู้เบื้องต้นที่เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพร่างกายทั้งของตนเอง คนในครอบครัว เพื่อนฝูง คนข้างเคียง และเมื่อแพทย์เสนอการตรวจที่ต้องใช้ MRI เราก็จะรู้ว่า MRI คือการตรวจที่ไม่น่ากลัว ไม่อันตรายอีกต่อไป